บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
352
3 นาที
30 สิงหาคม 2567
อยากขายดี อย่าใช้ชื่อไทย โคตรเศร้าแต่จริง!


มีสินค้าของคนไทยหลายแบรนด์ที่ผลิตในเมืองไทย แต่ใช้ชื่อเป็นภาษาต่างชาติ จนคนไทยหลายคนคิดว่าเป็นสินค้าจากต่างประเทศ แทนที่จะใช้ชื่อเป็นภาษาไทย อะไรทำให้บริษัทไทยจำนวนไม่น้อย เลือกตั้งชื่อแบรนด์เป็นภาษาต่างประเทศ พบว่ามีอยู่ 2 เหตุผล คือ เสริมภาพลักษณ์สินค้าให้ดูดีมีระดับ และทำให้สามารถตั้งราคาขายได้สูงขึ้น 
 
มาดูกันว่า มีแบรนด์สินค้าอะไรบ้าง ที่หลายคนคิดว่าเป็นสินค้าต่างประเทศ 
 
1.ฮาตาริ (HATARI)
 
ภาพจาก www.facebook.com/HatariOfficial

พัดลมแบรนด์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2533 ภายใต้บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด โดย "คุณจุน วนวิทย์" เจ้าของได้ไปเรียนการพันมอเตอร์จากประเทศไต้หวัน ก่อนกลับมาผลิตพัดลมชิ้นส่วนพลาสติกขายเอง และก่อตั้งบริษัทของตัวเอง เพื่อรับจ้างผลิตพัดลมให้กับแบรนด์ญี่ปุ่น ต่อมาตัดสินใจทำแบรนด์เองใช้ชื่อ "ฮาตาริ"
 
2. โมชิ โมชิ (Moshi Moshi) 
 

ร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 ภายใต้บริษัท โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทสัญชาติไทย โดยสมัยก่อนกลุ่มครอบครัวฯ ก่อตั้งบริษัทฯ (เดิมชื่อบริษัท บีกิฟท์ จำกัด) ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ในตลาดสำเพ็ง ก่อนจะมาเป็นร้าน Moshi Moshi ในปัจจุบัน มีสาขากว่า 150 แห่งทั่วประเทศ 
 
3. สมูทอี (SMOOTH E)
 
ภาพจาก www.facebook.com/SmoothEThailand

แบรนด์สัญชาติไทย ก่อตั้งโดยคุณแสงสุข พิทยานุกูล ในปี 2538 โดยเขาเรียนจบเภสัชมา เป็นพนักงานออฟฟิศได้สักพัก แล้วมาเปิดร้านขายยาเล็กๆ ที่ศูนย์การค้าสยาม ก่อ่นที่ศูนย์การค้าจะขอพื้นที่คืน ต่อจากนั้นตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ ทำสินค้าเวชภัณฑ์ขายเอง หนึ่งในนั้นก็คือ SMOOTH E จนได้รับความนิยมมาจนถึงวันนี้
 
4. เดนทิสเต้ (DENTISTE) 
 
ภาพจาก www.facebook.com/DentisteTH

อีกแบรนด์ยาสีฟันก่อนนอนสำหรับคู่รัก ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 โดยคุณแสงสุข พิทยานุกุล เจ้าของเดียวกับสมูทอี ก่อนที่เดนทิสเต้จะประสบความสำเร็จเขาเคยทำธุรกิจยาสีฟัน ในชื่อ Plus White ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่ามาก่อน ที่เรียกได้ว่าแจกฟรีก็ไม่มีคนเอา ความล้มเหลวเป็นบทเรียน เขาได้ลองใหม่ ด้วยการนำยาสีฟันมาให้ทันตแพทย์เป็นผู้ทดลองใช้ และเมื่อทันตแพทย์ได้ทดลองใช้แล้วมีคำถามกลับมาว่า ยาสีฟันที่ให้มามีสารอะไรอยู่ในนั้น เพราะใช้แล้วตื่นมารู้สึกแตกต่างจากยาสีฟันแบรนด์อื่นๆ คำว่าแตกต่างตอนตื่นนอน ถือเป็นเมนไอเดียที่เป็นจุดเกิดของ เดนทิสเต้ เพราะในเวลานั้นในตลาดยาสีฟันแทบจะไม่มียาสีฟันสำหรับตอนกลางคืน หรือ Nighttime
 
5. ดัชมิลล์ (Dutch Mill)
 
ภาพจาก www.facebook.com/dutchmillgroup.thailand

อีกหนึ่งแบรนด์สัญชาติไทย แต่ชื่อเป็นต่างชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 โดยชื่อเดิมคือ บริษัท โปร ฟู้ด จำกัด มาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ในปี 2534 ดัชมิลล์ เกิดจากการรวมกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงแรกธุรกิจของดัชมิลล์ยังมีขนาดเล็ก ทำให้สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ที่หมู่บ้านสหกรณ์คลองกุ่ม กรุงเทพฯ สินค้าตัวแรก คือ โยเกิร์ต มี 4 รสชาติ ได้แก่ ส้ม สตรอว์เบอร์รี สับปะรด และรสธรรมชาติ ต่อจากนั้นย้ายโรงงานมาตั้งที่นครปฐม และนครสวรรค์ตามลำดับ
 
6. ไซโจเดนกิ (saijo denki) 
 
ภาพจาก www.facebook.com/Saijodenkiaircon

แบรนด์เครื่องปรับอากาศ ก่อตั้งในปี 2530 ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยคุณสมศักดิ์ จิตติพลังศรี และคุณ Harada Senior ต่อมาคนญี่ปุ่นไปทำธุรกิจอื่น จึงโอนหุ้นให้คนไทยถือทั้งหมด จึงเป็นแอร์ของคนไทย 100% และถือเป็นแอร์แบรนด์แรกๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือได้ Saijo Denki ยังถือเป็นบริษัทไทยเจ้าแรกที่สามารถส่งออกสินค้าไปขายในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดด้านคุณภาพสูง ปัจจุบัน Saijo Denki ได้ส่งออกสินค้าไปอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
 
7. แบล็คแคนยอน (Black Canyon)
 
ภาพจาก www.facebook.com/BlackCanyonThailand

แบรนด์กาแฟของคนไทย ก่อตั้งในปี 2536 ภายใต้บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด หลายอาจคิดว่าเป็นแบรนด์ตะวันตกที่ถูกนำแฟรนไชส์เข้ามา จริงๆ แล้วเจ้าของและผู้ปลุกปั้น Black Canyon ก็คือ คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์ โดยเริ่มแรกเป็นการซื้อแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่นในประเทศไทย ปัจจุบัน Black Canyon มีสาขาทั้งในและต่างประเทศ นอกจากมีกาแฟยังมีอาหารขายอีกด้วย 
 
8. สก็อต (SCOTCH) 
 
ภาพจาก www.scotchthailand.co.th

แบรนด์รังนกสัญชาติไทย เจ้าของเป็นคนไทย บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ สก๊อต ซุปไก่สกัด สูตรต้นตำรับ ออกสู่ตลาดในปี 2527 หลังจากก่อตั้งบริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ 1 ปี และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวที่สอง สก๊อต ซุปไก่สกัด ผสมถั่งเฉ้า ในปี 2529

9. เฮลซ์บลูบอย (Hale's Blue Boy) 
 
ภาพจาก https://bit.ly/3T7ehfy

แบรนด์น้ำหวานของคนไทย เริ่มต้นเมื่อปี 2502 จากการมองเห็นโอกาสและการคิดค้น โดยพี่น้อง 4 คนแห่งตระกูลพัฒนะเอนก ขณะนั้นเป็นร้านโชห่วย มองเห็นตลาดน้ำหวานในเมืองไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากนั้นได้เริ่มพัฒนาสูตรน้ำหวาน และวางขายที่ร้านตัวเอง ปรากฏว่าขายดีมาก ต่อจากนั้นได้สร้างแบรนด์กลายเป็นน้ำหวาน "เฮลซ์บลูบอย" ที่ได้รับความนิยมจนถึงตอนนี้
 
10. คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon)
 

แบรนด์แฟรนไชส์กาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ก่อตั้งในปี 2545 โดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ปัจจุบันมี 4,196 สาขาในไทย แบ่งเป็นสาขาในสถานีบริการ 2,248 สาขา และนอกสถานีบริการ 1,948 สาขา คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 53.6% และ 46.4% ตามลำดับ โดยยอดขายกาแฟในไตรมาส 1/2567 มีปริมาณขายของร้าน Cafe Amazon ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย, ญี่ปุ่น, โอมาน, เมียนมา, มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งสิ้น 99 ล้านแก้ว ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4 ล้านแก้ว
 
11. เดอะพิซซ่าคอมปะนี (The Pizza Company)
 
ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

แบรนด์พิซซ่าของคนไทย ก่อตั้งในปี 2523 โดยคุณ William E. Heinecke นักธุรกิจสัญชาติไทยเชื้อสายอเมริกันเจ้าของบริษัทไมเนอร์ฯ โดยก่อนหน้าคุณ William E. Heinecke ได้รับสิทธิแฟรนไชส์พิซซ่าฮัทจากบริษัท Tricon Global Restaurants หรือ Yum! Brands Inc. ตอนนั้นตลาดพิซซ่าได้รับความนิยมในไทย และสามารถขยายกว่าร้อยกว่าสาขาทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2542 Tricon ตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับไมเนอร์ เพราะต้องการลงเล่นในตลาดพิซซ่าด้วยตัวเอง หลังจากนั้น 2 ปี ไมเนอร์ฯ กลับมาผงาดในตลาดพิซซ่าอีกครั้ง ภายใต้แบรนด์ The Pizza Company
 
12. เจนเทิลวูแมน (GENTLEWOMAN) 
 
ภาพจาก www.gentlewomanonline.com

แบรนด์ของคนไทย ก่อตั้งโดย “คุณแพง – รยา วรรณภิญโญ” เริ่มต้นธุรกิจจากปัญหาส่วนตัวของตนเอง คือ เรื่องเสื้อผ้าที่หาดีไซน์ที่ชอบได้ยากมาก เพราะเป็นคนตัวเล็ก หลังจากนั้นคุณแพงจึงเริ่มต้นแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการสั่งตัดชุดเอง จากนั้นก็เริ่มมีเสียงเอ่ยชมจากคนรอบตัว "ชุดสวยจัง ซื้อมาจากที่ไหน" หลังจากนั้นคุณแพงเริ่มต้นธุรกิจร้านเสื้อผ้าออนไลน์
 
คุณแพงทำธุรกิจร้านเสื้อผ้าออนไลน์ควบคู่ไปกับการทำงานประจำกว่า 1 ปี จากนั้นออกมาทำเต็มตัว และเรียนต่อบริหารธุรกิจ จากนั้นก็ได้ร่วมกับหุ้นส่วนก่อตั้งร้าน CAMP BKK (Multi-brand Store) ขึ้นมา ก่อนที่จะต่อยอดธุรกิจออกมาเป็นแบรนด์ Gentlewoman ที่โด่งดังในวันนี้

13.แฟลซ เอ็กเพรส (Flash Express)
 
ภาพจาก www.facebook.com/FlashExpressThailand

ก่อตั้งในปี 2560 โดยนายคมสันต์ แซ่ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วยทีมผู้บริหาร และบุคลากรไทย ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานกว่า 10,000 คน พร้อมบริการที่ครอบคลุมครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเริ่มแรก “แฟลช เอ็กซ์เพรส” เป็นเจ้าแรกๆ ระดมอัดโปรโมชันค่าจัดส่งสินค้าเริ่มต้นที่ 19 บาท พร้อมรับพัสดุถึงหน้าบ้าน
 
14 เชสเตอร์ (CHESTER’S) 


แบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอันดับ1 ของคนไทย ก่อตั้งในปี 2531 ภายใต้บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้เชี่ยวในธุรกิจผลิตอาหารมาตรฐานระดับโลก สินค้าหลักๆ คือ เมนูไก่ย่าง ไก่ทอด ไก่จ้อ กลุ่มลูกค้าลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน และกลุ่มครอบครัว เปิดขายแฟรนไชส์ งบลงทุน 6 ล้านบาท
 
15. โออิชิ (Oishi)
 

ภาพจาก www.facebook.com/oishifoodstation

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นเครือธุรกิจอาหารในประเทศไทย ผู้ก่อตั้งคือ ตัน ภาสกรนที โดยเริ่มต้นจากร้านอาหารญี่ปุ่นซึ่งเปิดตัวใน พ.ศ. 2542 แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนใน พ.ศ. 2547 ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

16. เอส แอนด์ พี (S&P)


ภาพจาก www.snpfood.com

ร้าน เอส แอนด์ พี ร้านอาหารของคนไทย เริ่มต้นเมื่อปี 2516 จากร้านขายอาหาร ไอศกรีมและของว่าง ในซอยประสานมิตร สุขุมวิท 23 จากนั้นได้ขยายมาสู่ธุรกิจร้านเบเกอรี่ เป็นผู้นำในการผลิตเค้กแต่งหน้าตามสั่ง และเค้กลายการ์ตูนรายแรกในประเทศไทย 

17. อาฟเตอร์ ยู (After You)
 

ร้านขนมของคนไทย ก่อตั้งโดย "คุณกุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ" และ คุณแม่ทัพ ต.สุวรรณ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันได้เปิดร้านเล็กๆ ในย่านทองหล่อเมื่อหลาย 10 ปีก่อน ร้านขนมหวาน After You ปี 2565 มีรายได้ 787 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% จากการเพิ่มจำนวนสาขา 11 สาขา และการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 75.2% ปี 2566 ขยายสาขาเพิ่มอีก 8 สาขา ในกรุงเทพฯ 7 สาขา และต่างจังหวัด 1 สาขา แบ่งเป็นร้านขนมหวาน 3 สาขา และ After You Marketplace 5 สาขา
 
นั่นคือ ธุรกิจหรือสินค้าที่เป็นแบรนด์ไทยแต่ใช้ชื่อเป็นภาษาต่างประเทศ ทำให้คนไทยรับรู้ว่าเป็นแบรนด์จากต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่สินค้าจะมีคุณภาพมาตรฐานมากกว่าสินค้าไทย แบรนด์ไทยเหล่านี้จึงต้องใช้ชื่อต่างชาติ เพื่อยกระดับสินค้าและสามารถขายราคาสูงได้อีกด้วย ส่วนแบรนด์ต่างชาติที่หลายคนคิดว่าเป็นของไทยก็มี เช่น รสดี คนอร์ บาจา ลิโพ เบอร์ดี้ 

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มาไทยแน่! ร้านค้าปลีกทั่วโลกหลบไป KK Group จากจี..
3,464
ของดี ราคาไม่แพง “ข้าวแกงนางงาม 10 บาท” คนกินอิ่..
844
จีนไม่หยุด บุกขยายสาขา หรือ ล่าอาณานิคม!
787
Data-driven Marketing อาวุธ Burger King ปั้นเมนู..
731
เรียบร้อยโรงเรียนจีน แบรนด์ญี่ปุ่นถูกแซงไม่เหลือ!
721
ข้อเสียที่เจ้าของร้าน Food Truck ไม่(เคย) บอก!
700
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด