บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
4.1K
4 นาที
3 กรกฎาคม 2560
ถาม-ตอบ เรื่องการทำธุรกิจในอินโดนีเซีย

 
ภาพจาก goo.gl/TDwMoL

อินโดนีเซีย เป็นอีกหนึ่งตลาดเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการไทย เนื่องด้วยประเทศอินโดนีเซียมีประชากรจำนวนกว่า 250 ล้านคน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 6 สินค้าส่งออกที่สำคัญจากไทย ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้าอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง และแฟชั่นไลฟ์สไตล์
 
คนอินโดนีเซีย ไว้ใจสินค้าไทยอย่างมาก เพราะสินค้าไทยเวลานำตัวอย่างมาโชว์ เขาจะมั่นใจได้ว่า สั่งกี่ครั้ง ๆ ก็จะได้สินค้าแบบที่โชว์ ไม่เหมือนกับสินค้าจีน ตอนนำมาโชว์แบบหนึ่ง ตอนสั่งจะได้สินค้าอีกแบบหนึ่ง 
 
คนอินโดนีเซียเลยเข็ด ไม่อยากสั่งอีก อีกประเด็นคือ ต้องศึกษาวัฒนธรรมของชาวอินโดนีเซียให้ดี เพราะต้องมีการทาละหมาดวันละ 5 ครั้ง ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทคนไทยเข้าไปลงทุน ตอนแรกๆ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ สุดท้ายเลยจ้างคนที่อินโดนีเซียเป็นผู้บริหาร เพื่อมาดูแลพนักงาน เพราะจะรู้วัฒนธรรมทำให้ไม่ยุ่งยากในการบริหารงาน
 
สำหรับธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม (SMEs) แม้โอกาสจะมีมาก แต่การเข้าถึงตลาดก็ไม่ง่าย ซึ่งวิธีการที่SMEs จะเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียนั้น อย่างแรกควรหาผู้ดำเนินธุรกิจร่วมกัน (พาร์ทเนอร์) ที่ดี เพราะหากเข้าไปลงทุนโดยไม่มีพาร์ทเนอร์ที่รู้จักประเทศนั้นดี จะเข้าไปลงทุนลำบาก เพราะเราจะไม่รู้กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติในประเทศเหล่านั้นดีพอ
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีเกร็ดความรู้เรื่องการเข้าไปลงทุน และทำการค้าขายในประเทศอินโดนีเซีย จากกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI มาฝากผู้ประกอบการไทย เพราะเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นเป็นอันดับ 4 ของโลก ถือเป็นโอกาสของการส่งออกไทย อีกทั้งยังสามารถเข้าไปลงทุนผลิตสินค้า เพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศที่มีอยู่อย่างมหาศาล มาดูเลยครับ 
 
1.การเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอินโดนีเซีย สำหรับคนต่างชาติ จะต้องทำอย่างไร
 

 
ภาพจาก goo.gl/hxTRa1

คนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนจะต้องยื่นขอใบอนุญาตการลงทุนจาก Investment Coordinating Board (BKPM) ของอินโดนีเซีย โดย BKPM จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและออกใบอนุญาตในการลงทุนสาขาต่างๆให้ อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตการลงทุนได้ที่สถานทูตอินโดนีเซียในต่างประเทศ ได้ก่อนการขอรับใบอนุญาตการลงทุน นักลงทุนต่างชาติจะต้องศึกษากฎระเบียบการลงทุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน เพราะภาคการลงทุนบางประเภทไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติดำเนินการและการลงทุนบางประเภทที่จำกัดอัตราการถือหุ้นหรือความเป็นเจ้าของ
 
2.รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือไม่
 
ชาวต่างชาติสามารถลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ 100% ในกรณีที่ร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซีย ไม่มีข้อกำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุน
 
3.ในเรื่องการจ้างงาน อินโดนีเซียมีข้อบังคับใดๆ หรือไม่

 
ภาพจาก goo.gl/RpcEVw

อินโดนีเซียไม่ได้บังคับเรื่องการจ้างงาน แต่ต้องกรอกแบบฟอร์มระบุว่า ต้องการอินโดนีเซียกี่คน คนต่างชาติกี่คน ถ้าใช้คนในพื้นที่จะช่วยลดปัญหาการจดทะเบียนลงได้ และต้องมีแผนธุรกิจให้ชัดเจน

4.จะไปลงทุนเปิดตลาดสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ถนอมผิวและเครื่องสำอาง ภายใต้ตราสินค้า Brand ของไทยในอินโดนีเซียได้หรือไม่
 
ตลาดสินค้ากลุ่มนี้ในอินโดนีเซียกำลังเติบโตอย่างมาก ซึ่งในปี 2554 มียอดขายอยู่ที่ 8 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มเป็น 9.76 ล้านล้านรูเปียห์ ในปี 2555 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 สมาคมเครื่องสำอางในอินโดนีเซียคาดว่าในปี 2556 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ส่งผลให้มีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพิ่มจำนวนมาก 
 
จึงมอกว่าเป็นโอกาสของธุรกิจนี้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเข้าไปศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และทดสอบตลาดให้ดีเสียก่อนค่อยตัดสินใจลงทุน หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.cosmeticsandtoiletries.com 

5.ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สนใจจะไปลงทุนอินโดนีเซีย ไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร

 
ภาพจาก goo.gl/aYdRM5

รูปแบบการลงทุนอาจจะลงทุนเอง 100% หรือร่วมลงทุน (Joint Venture) ซึ่งถ้าลงทุนเอง 100% จะมีข้อดีในเรื่องอำนาจการบริหารจัดการ เพราะเรามีอำนาจตัดสินใจได้เต็มที่ แต่ก็มีข้อเสียในแง่ประสบการณ์และความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้ามีหุ้นส่วนที่เป็นคนอินโดก็จะทำได้ง่ายกว่า ส่วนการร่วมทุนมักจะมีปัญหาในเรื่องการหาหุ้นส่วน ประเด็นสำคัญคือ จะหาหุ้นส่วนที่ดีได้อย่างไร
 
6.โอกาสของการเข้าไปลงทุนในสินค้าอุปโภคบริโภคในอินโดนีเซีย 
 
ลักษณะการบริโภคของชาวอินโดนีเซียเป็นแบบ Impulsive คือ ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า นอกจากนี้สินค้าบริโภคควรจะได้รับการรับรองอย.และฮาลาลของอินโดนีเซีย จะทำให้มีโอกาสทางการตลาดมากขึ้นด้วย เนื่องจาก 80% ของประชากรเป็นมุสลิม (ข้อเสนอแนะ: สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าไปลงทุนคือ การไปสำรวจตลาด 
 
โดยอาจเริ่มต้นจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไทย ที่สำนักกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อจะได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร 
นอกจากนี้ก็ควรศึกษาเรื่องคู่แข่งขัน ความยากง่ายในการเข้าตลาด ต้นทุนในการพัฒนาสินค้า และค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายด้วย สำหรับข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ควรจะทำการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT เสียก่อน

7.มาตรฐานฮาลาล ตลอดจนระบบโลจิสติกส์สินค้าฮาลาลของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในอินโดนีเซียหรือไม่
 
 
ภาพจาก goo.gl/YB3PSU

ในขณะนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะสถาบันผู้รับรองมาตรฐานฮาลาลของทั้งสองประเทศ ยังไม่มีการประสานงานที่ดีต่อกัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยุ่งยากในการตรวจรับรอง
 
8.สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการควรผลิตแล้วส่งออกไปยังอินโดนีเซีย หรือควรไปตั้งโรงงานที่อินโดนีเซีย และอยากทราบถึงสภาวะการแข่งขันภายในประเทศอินโดนีเซีย
 
อุตสาหกรรมอาหารถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความละเอียดอ่อน การตัดสินใจต้องคำนึงถึงต้นทุนสินค้าเปรียบเทียบกับต้นทุนขนส่ง แต่ต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานฮาลาลของท้องถิ่นด้วย การแข่งขันของสินค้าถือว่ามีความเข้มข้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจ โดยมีทางเลือกมาก ฉะนั้น ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าให้อยู่ในระดับสูง
 
9.การเข้าไปรับจ้างผลิตและทำแบรนด์เครื่องสำอางในประเทศอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้หรือไม่
 
 
ภาพจาก goo.gl/uQJd8m

การเข้าไปรับจ้างผลิตและทำแบรนด์เครื่องสำอางในประเทศอินโดนีเซียมีความเป็นไปได้ แต่ต้องเปิดตัวเองให้ชัดเจนให้คนอินโดนีเซียรู้จัก โดยเฉพาะหากเป็นเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรจะมีตลาดรองรับแน่นอน เนื่องจากคนอินโดนีเซียนิยมใช้สมุนไพรที่เรียกว่า “จามูจามู” แต่รูปแบบการขายยังไม่ทันสมัย อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่จะนำเข้าไปจำหน่ายต้องให้ผ่านการยอมรับจากอย.ไทยเสียก่อน ซึ่งถือเป็นใบเบิกทางเบื้องต้นก่อนที่จะไปขออย.ของอินโดนีเซีย

10.ความเป็นไปได้แค่ไหนในการเข้าไปจำหน่ายสินค้าสปาในอินโดนีเซีย
 
การเข้าไปจำหน่ายสินค้าประเภทสปาในอินโดนีเซียมีความเป็นไปได้หากผลิตภัณฑ์มีรูปแบบและสไตล์ที่ชัดเจน ซึ่งควรติดต่อสปาของโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรมที่บาหลี หรืออีกรูปแบบคือ ร่วมทุนกับคนอินโดนีเซียเปิดร้านสปา แล้วฝึกอบรมพนักงานชาวอินโดนีเซีย แต่ข้อจำกัดคือต้องมีทีมงาน 
 
อย่างไรก็ตาม ควรทำการสำรวจตลาดจากกลุ่มทัวร์ชาวอินโดนีเซีย ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก่อนเป็นอันดับแรก โดยแจกผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ เนื่องจากปัจจุบันคนอินโดนีเซียนิยมเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเยอะขึ้น และควรเข้าไปสำรวจตลาดในอินโดนีเซียด้วย โดยเข้าไปลองใช้บริการร้านสปาซึ่งมี 3 ประเภท คือ บริการนวดตามบ้าน ร้านนวดทั่วไป และสปาในโรงแรมสำหรับการเข้าไปทำธุรกิจที่อินโดนีเซียควรเข้าไปแบบตั้งสำนักงานใหญ่ โดยเฉพาะที่บาหลี เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

11.การซื้อขายกับบริษัทเครือข่ายในอินโดนีเซีย สามารถจ่ายเป็นเงินบาทไทยได้หรือไม่ และจะทราบอัตราภาษีได้จากที่ไหน
 
สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้จะมีสิทธิปลีกย่อย ว่าต้องมีเงินลงทุนเท่าไรถึงจะได้รับสิทธิพิเศษในการโอนเงินข้ามประเทศ โดยไม่เสียภาษี จะต้องดูรายละเอียดของทางอินโดนีเซียอีกที สำหรับในเรื่องของอัตราภาษีสามารถหาข้อมูลได้จากกรมส่งเสริมการส่งออก ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีข้อมูลที่ละเอียดครบถ้วน
 
12.การเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียได้รับสิทธิพิเศษอะไรบ้าง และการเข้าไปลงทุนควรจะไปร่วมลงทุน หรือไปลงทุนเอง 100% รวมทั้งอัตราภาษีของอินโดนีเซียเป็นอย่างไร

 
ภาพจาก goo.gl/fuYzAH

ควรจะเข้าไปลงทุนเอง 100% เลย เพราะจะสามารถทำงานได้ง่ายกว่า แต่ถ้าต้องการที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับคนอินโดนีเซียจริงๆ ให้ร่วมลงทุนกับคนอินโดนีเซียที่มีเชื้อสายจีน ที่นับถือบรรพบุรุษหรือนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้จะมีความตรงไปตรงมา มีระเบียบแบบแผน 
 
หลังจากนั้นจึงเลือกลงทุนกับคนอินโดนีเซีย ที่นับถือศาสนาคริสต์ และคนอินโดนีเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม การตั้งโรงงานควรไปตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะมีการบริหารจัดการที่ดีกว่า สะดวกและง่ายกว่าการตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีรายละเอียดในการให้สิทธิพิเศษในแต่ละนิคมจะแตกต่างกันออกไป ให้เข้าไปศึกษาให้ละเอียดก่อนที่จะเลือกที่ตั้งสำหรับการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงาน

13.เมืองที่มีศักยภาพในการส่งออกสินค้าของไทยในอินโดนีเซีย
 
อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพสูงทางการค้าการลงทุน ซึ่ง 4 เมืองหลักสำคัญทางเศรษฐกิจ อย่าง จาร์การ์ตา สุราบายา เมดานและมากัสซาร์ ถือเป็นเมืองที่นักธุรกิจควรพิจารณาเนื่องจากมีการเปิดให้ต่างชาติลงทุนตามระเบียบปัจจุบัน โดยเน้นหนักเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา 
 
ผู้ประกอบการไทยที่มีตราสินค้าเป็นของตนเอง ควรจดเครื่องหมายการค้าในอินโดนีเซีย เพื่อรองรับฐานการผลิตและการขยายตลาด ที่ผ่านมาไทยมีมีมูลค่าการค้ากับอินโดนีเซียราว 14,452 ล้านเหรียญสหรัฐ และอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรกว่า 250 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในอาเซียน มีกำลังซื้อสูงมาก และนิยมสินค้าที่มีคุณภาพดี
 
14.วิธีการหาหุ้นส่วนในการลงทุนธุรกิจในอินโดนีเซีย 

 
ภาพจาก goo.gl/YB6XS4

สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรดำเนินการ ต้องการเข้าไปศึกษาดูตลาด ดูพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศในอินโดนีเซียว่าเป็นอย่างไร แล้วดูว่ามีช่องว่างที่จะสามารถเข้าไปได้หรือไม่ และถ้าจะเลือกพาร์ทเนอร์คนไหน ให้เข้าไปคลุกคลีด้วยตัวเอง ในครั้งแรกๆ ไม่ควรเข้าไปลงทุน ผลิตสินค้าเป็นโรงงานด้วยตัวเอง ควรนำสินค้าเข้าไปลองตลาดดูก่อน และให้ช่วยทำการตลาด โปรโมตสินค้า เพราะคนอินโดนีเซียยังทำการตลาดไม่เก่ง
 
อีกวิธี คือ ให้ฝากขายกับบริษัทผู้นำเข้าสินค้าไทย ที่มีการทำการตลาดสินค้าไทยประสบความสำเร็จในพื้นที่แล้ว หากสินค้าของเราเริ่มติดตลาด มีปริมาณการสั่งสินค้าจำนวนมากแล้ว ค่อยตัดสินใจเข้าไปลงทุนตั้งโรงงาน ซึ่งตอนนี้สินค้าบริโภคของไทยที่วางขายในอินโดนีเซีย เช่น เถ้าแก่น้อย ถั่วทองการ์เด้น ส่วนสิ่งที่ต้องควรระวัง คือ การหาพาร์ทเนอร์ที่ดี และการศึกษากฎระเบียบในประเทศนั้นให้ดี
 
ทั้งหมดเป็นเกร็ดความรู้เรื่องการเข้าไปลงทุนและทำการค้าขายในประเทศอินโดนีเซีย หวังว่าข้อมูลข้างต้นน่าจะเป็นไกด์นำทางให้กับผู้ประกอบไทยที่กำลังจะเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้เป็นอย่างดี หรือทางที่ดีก่อนเข้าไปลงทุนหรือทำการค้าขายในอินโดนีเซีย ผู้ประกอบการควรเข้าไปปรึกษากับหน่วยงานเกี่ยวข้องในกระทรวงพาณิชย์ น่าจะเป็นการดีครับ
 
อ่านบทความ SMEs goo.gl/PFQ336
อ่านบทความค้าขาย goo.gl/HyjxNe 
 

Tips

การรุกตลาดอินโดนีเซียยังมีอุปสรรคบางประการที่ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าไปทำธุรกิจ อาทิ ภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในภาคธุรกิจทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย จีน และญี่ปุ่น ซึ่งล้วนเข้าไปทำธุรกิจในอินโดนีเซียมาก่อนแล้วระยะหนึ่ง
 
อ้างอิงข้อมูลจาก https://toi.boi.go.th/faqs 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด