บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.0K
3 นาที
22 มีนาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! เลือกตั้ง 2562
 

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 จะเป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ประชาชนก็ดูจะตื่นตัวกับเรื่องนี้มาก ไม่นับบรรดาพรรคการเมืองที่กระตือรือร้นกับการเลือกตั้งนี้มานานแล้ว แม้กติกาการเลือกตั้งครั้งนี้จะแตกต่างไปจากเดิม หลายคนอาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าการเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง

และเพื่อให้ทุกคนได้ไปใช้สิทธิ์อย่างมีความรู้ www.ThaiFranchiseCenter.com จัดมาเป็น 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! เลือกตั้ง 2562
 
1.มีการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง


ภาพจาก https://goo.gl/images/8wTp5Z
 
การเลือกตั้งครั้งนี้จะเหลือจำนวน ส.ส.เพียง 350 เขตเท่านั้น ลดลงจากปี 2554 ที่มี ส.ส.แบบแบ่งเขตรวม 375 คน ซึ่งการแบ่งเขตเลือกตั้งครั้งนี้ ใช้วิธีคำนวณจำนวนราษฎรตามฐานทะเบียนราษฎรปี 2560 ซึ่งมีทั้งหมด 66,188,503 คน หารด้วยจำนวน ส.ส. 350 เขต ผลออกมาได้ว่า ราษฎรเฉลี่ย 189,110 คน ต่อ ส.ส. หนึ่งคน
 
จังหวัดที่มีจำนวนราษฎรไม่ถึง 189,110 คน ให้จังหวัดนั้นมี ส.ส. แบบแบ่งเขตได้หนึ่งคน โดยมี 8 จังหวัด คือ ตราด นครนายก พังงา แม่ฮ่องสอน ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี และอ่างทอง ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อ ส.ส.แบบแบ่งเขตหนึ่งคน ให้เพิ่มที่นั่ง ส.ส.ไปตามสัดส่วน
 
สรุปคือ การเลือกตั้งปีนี้ จะมีส.ส.หายไป 25 ที่นั่ง โดยกรุงเทพฯ และภาคกลาง ลดลงรวมกัน 9 ที่นั่ง ภาคอีสาน 10 ที่นั่ง ภาคใต้ และภาคเหนือพื้นที่ละ 3 ที่นั่ง ส่วนภาคตะวันตกและภาคตะวันออกยังคงเดิม ดังนั้นก่อนจะไปเลือกตั้งอย่าลืมสำรวจกันอีกครั้งว่า ชื่ออยู่ในเขตพื้นที่ใด
 
2.จำนวนพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งมากถึง 81 พรรค


ภาพจาก goo.gl/images/kq5zEH
 
ข้อมูลของสำนักงาน กกต. เมื่อ 4 ก.พ. 2562 ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดรับสมัคร ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ พบว่า มีพรรคการเมืองในสารบบ 106 พรรค ทว่าพรรคที่มีคุณสมบัติในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ณ เวลานั้นมีเพียง 49 พรรค ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับสถิติในการเลือกตั้งปี 2554
 
แต่ต่อมา กกต. ได้รับรองรับคุณสมบัติพรรคการเมืองเพิ่มเติม ทำให้เมื่อถึงวันสุดท้ายของการเปิดรับสมัคร ส.ส. คือวันที่ 8 ก.พ. 2562 มีถึง 81 พรรคการเมืองได้สิทธิส่งผู้สมัคร ส.ส. ลงแข่งขันในครั้งนี้ แต่สุดท้ายเหลือพรรคที่ได้ลงสนามจริง 80 พรรค เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติไปเป็นที่เรียบร้อย
 
3.ขยายเวลาลงคะแนนถึง 17.00 น.


ภาพจาก goo.gl/images/Rk4cTG

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ดูเหมือนจะพิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะมีเวลาถึง 9 ชั่วโมง ในการเดินทางไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ขยายเวลา ลงคะแนนเป็น 08.00-17.00 น. จากเดิม 08.00-15.00 น.

ซึ่งการยืดเวลาเข้าคูหานี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2559 โดยให้ประชาชนไปใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 08.00-16.00 น. หรือคิดเป็นเวลา 8 ชม. แต่การเลือกตั้งหนนี้คือการเลือกตั้งครั้งแรกที่มีการยืดเวลาเข้าคูหา จาก 7 ชม. เป็น 9 ชม.
 
4.ต่างเขตต่างหมายเลข


ภาพจาก goo.gl/images/N4wRvV
 
แม้ภาพรวมจะยังเป็น 2 ระบบเหมือนเดิมคือแบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่บัตรเลือกตั้งกลับหดเหลือใบเดียว โดยเลือกตั้งครั้งนี้ใช้ระบบ “ต่างเขตต่างหมายเลข” แม้จะเป็นพรรคเดียวกัน โดยผู้ลงสมัคร ส.ส.พรรคเดียวกันในแต่ละเขตพื้นที่ จะได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครต่างกันจากการจับฉลากในวันแรกที่มาสมัคร

เหตุผลที่ให้ไว้คือ เพื่อสนับสนุนให้คนแต่ละพื้นที่ต้องสนใจและพิจารณาเลือกจากคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้สมัครมากขึ้น ไม่ได้สนใจแค่พรรค หรือ การลงคะแนนแบบลักษณะท่องจำเท่านั้น แต่อีกด้าน ก็อาจสร้างความสับสนให้กับประชาชนได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ  
 
5.กากบาท 1 ใบเลือกได้ถึง 3 ต่อ
 

ภาพจาก goo.gl/images/BvCjZn

วิธีการกาบัตรเลือกตั้งครั้งนี้ มีบัตรเลือกตั้งใบเดียวเท่านั้น โดยให้เรา กากบาท เลือกผู้สมัครที่ประจำเขตเลือกตั้งของเรา หรือ ส.ส. แบบแบ่งเขต แล้วคะแนนเสียงที่เราเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตจะถูกนำไปใช้คำนวณจำนวนที่นั่ง ส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อหรือ ปาร์ตี้ลิสต์ ของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครคนนั้นสังกัดอีกต่อหนึ่ง โดย ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ จะมาจากผู้แทนที่แต่ละพรรค จะลิสต์รายชื่อเรียงลำดับมาไม่เกิน 150 คนแล้วส่งให้ กกต.
 
จากนั้นหลังการเลือกตั้ง ผลคะแนนก็จะบอกจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะได้ สรุปง่ายๆ คือ เรากาครั้งเดียว จะได้ถึง 3 ต่อ คือ ได้เลือกทั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต  ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคนั้น และจะไปมีผลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่เราต้องกาบัตร 2 ใบ เพื่อเลือก ส.ส. และ เลือกพรรค
 
6.Vote No ก็มีความหมาย


ภาพจาก goo.gl/images/3QvD5E
 
ในกรณีถ้าเราไม่ชอบผู้สมัครใดเลยในเขตเราสักคนเดียว เราก็ยังไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เพราะบัตรเลือกตั้งมีช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” ให้กากบาทได้ด้วย แต่ถ้าคะแนนเสียง “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” หรือที่เรียกว่า "Vote No" มากกว่าคะแนนเสียงของผู้สมัคร เขตเลือกตั้งนั้นก็ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง

โดยผู้สมัครรายเดิมทุกรายจะถูกตัดสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะจัดขึ้นด้วย และคะแนนของผู้สมัครแต่ละคนที่ได้รับจากการเลือกตั้งครั้งก่อนจะไม่ถูกนำไปคำนวนหาจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
 
7.ประชาชนคึกคักตื่นตัวยิ่งกว่าเลือกตั้งครั้งไหนๆ


ภาพจาก goo.gl/images/5LPeHC
 
แม้กฎกติกาในการเลือกตั้งครั้งนี้จะดูสับสนในมุมมองของประชาชน แต่ก็มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 28 ม.ค.-19 ก.พ. 2562 มากถึง 2.75 ล้านคน
 
และตัวเลขจากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม ปรากฏว่านับเฉพาะในกรุงเทพมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสูงถึง 87.22% หรือกว่า 810,000 คน จากผู้ลงทะเบียนกว่า 929,000 คน ไม่นับรวมกับต่างจังหวัดที่มีความคึกคักในการเลือกตั้งล่วงหน้ามากเช่นกัน
 
8.ผู้สมัคร ส.ส.เลือกตั้งครั้งนี้รวมกันกว่า 10,792 คน


ภาพจาก goo.gl/images/rZMXCt
 
ถือเป็นจำนวน ส.ส.ที่มากที่สุดนับแต่มีการเลือกตั้ง เพราะทุกคะแนนเสียงที่ผู้สมัคร ส.ส. ได้รับไม่ว่าจะ "สอบได้" หรือ "สอบตก" ล้วนมีความหมายภายใต้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมทำให้แต่ละพรรคการเมืองเตรียมส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตแบบเต็มพิกัด ไม่ว่าเพื่อ ชนะ ให้ได้เป็น ส.ส. เขต หรือ ถ้าแพ้ แต่ก็เก็บคะแนนกลับเข้าพรรคต้นสังกัดได้ คะแนนเหล่านี้นำมาคำนวณเป็นยอด "ส.ส. พึงมี" ก่อนคิดเป็นยอด ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) และจาก 80 พรรคการเมือง (ตัดไทยรักษาชาติออกไป) มียอด ส.ส.ครั้งนี้ 10,792 คน
 
9.วิธีเลือกนายกรัฐมนตรี  


ภาพจาก goo.gl/images/rE2qCE
 
สำหรับวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ในรัฐสภาจะมี ส.ส. 500 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ส.เขต 350 คน และ ปาร์ตี้ลิสต์ 150 คน แต่จะมีอีกกลุ่มบุคคลที่สำคัญในสภาคือ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีมาจากการคัดสรร จำนวน 250 คน ซึ่งทั้ง ส.ส. และส.ว. จะมีสิทธิลงคะแนนเสียงให้นายกรัฐมนตรี จากรายชื่อที่พรรคการเมืองส่งมาด้วย ซึ่งหมายความว่า จะมีทั้งหมด 750 คนร่วมลงคะแนนเสียง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159
 
โดยเลือกจากแคนดิเดตของแต่ละพรรค ซึ่งต้องการเสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 376 เสียงขึ้นไป ถึงจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่มาของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. สังกัดพรรคใดพรรคหนึ่งเหมือนกับที่ผ่านมา นั่นคือ นายกรัฐมนตรี สามารถเป็นบุคคลนอกสังกัดพรรคได้ 
 
10.เกิดกระแสเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรเลือกตั้ง


ภาพจาก goo.gl/images/URptwy
 
ด้วยความที่เป็นระบบที่ประชาชนไม่คุ้นเคย มีจำนวนผู้สมัครมากมาย และมีการใช้ระบบ “ต่างเขตต่างหมายเลข” และเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้บัตรเลือกตั้งแค่ใบเดียว จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ กกต. ต้องจัดพิมพ์จึงลดลงมาก โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้มีสิทธิทั่วประเทศเกินกว่า 50 ล้านคน
 
แต่อย่างไรก็ดีในช่วงแรก ทาง กกต.กลับจะให้บัตรเลือกตั้งมีเฉพาะหมายเลขผู้สมัครเท่านั้น ก่อให้เกิดการเรียกร้องที่นำมาสู่ “ยอมเปลี่ยนใจ” ให้บัตรเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อมูลสำคัญ 3 ส่วน คือ หมายเลขผู้สมัคร , ชื่อพรรค และโลโก้พรรค อันจะทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิลดความสับสนในการเลือกตั้งลงไปได้
 
จากระบบการเลือกตั้งที่เราเคยดำเนินมากว่า 87 ปี ประเทศไทยถือเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนคือเจ้าของประเทศ แม้ที่ผ่านมาจะเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองมากมายจนทำให้ประเทศต้องทรงและทรุดในบางโอกาส จนประเทศเพื่อนบ้านเริ่มที่จะขยับแซงหน้าเราไปมากขึ้น


ภาพจาก goo.gl/images/YWxErJ
 
การเลือกตั้งครั้งนี้ขอให้ผลที่ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นไม่ว่าใครที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลต่อไป สิ่งที่ควรทำคือแก้ปัญหาปากท้อง รายได้ของประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมากกว่าที่เคยเป็น ลบภาพจำของคนไทยที่มองว่าการเมืองก็คือเรื่องของการเล่นพรรคเล่นพวก พอเข้าไปในสภาก็กอบโกยผลประโยชน์ ใครเป็นรัฐมนตรีก็รวยเอาๆ ในขณะที่ประชาชนยังต้องจน ต้องทนกับสวัสดิการแย่จากภาครัฐต่อไป มันคงถึงเวลาที่การเมืองจะช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีได้ซะที แต่ถ้ายังไม่ได้ก็ถือว่าเป็นเวรเป็นกรรมของประเทศและของประชาชนก็แล้วกัน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Lh4bNA
เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยและรู้จักกับมหกรรมงานแสดงยานยนต์ในประเทศไทยเป็นอย่างดี เพราะจัดขึ้นตลอดทั้งปี 4-5 งานแสดงด้วยกัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า งานแสดงยานยนต์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในไทย และได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ งาน Bangkok International Motor Show หรือ มอเตอร์โชว์ ที่หลายๆ คนใช้เรีย..
65months ago   6,515  7 นาที
แบรนด์แรกๆ เมื่อเราพูดถึงด้านกีฬา รองเท้าสตรีทแวร์ และแฟชั่นสนีคเกอร์ แน่นอนว่าหลายๆ คนน่าจะต้องนึกถึงแบรนด์ Nike เจ้าของสโลแกน Just do it ติดอยู่ในใจอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน เพราะด้วยชื่อเสียงอันโด่งดังทั่วโลก รวมถึงคุณภาพสินค้า และดีไซน์ที่มีความเฉพาะตัว ทำให้ Nike ประสบความสำเร็จมาจนถึงปั..
65months ago   3,158  6 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด