บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.1K
3 นาที
14 มีนาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! นิตยสารขายหัวเราะ


เด็กรุ่นนี้อาจจะไม่รู้จักการ์ตูนขายหัวเราะ มหาสนุก แต่ถ้าไปถามเด็กในยุค 90 ทั้งหลาย เชื่อว่าเขาเหล่านี้โตมากับการ์ตูนขายหัวเราะเลยทีเดียว สมัยก่อนการ์ตูนประเภทแก๊ก 3 ช่องมีหลายค่ายให้เลือกซื้อ แต่ตอนนี้ดูไปดูมาจะเหลือแค่ขายหัวเราะเท่านั้น มุกขำๆ ประเภทเมียทะเลาะกับผัว , โจรมุมตึก , หรือแม้แต่ซีรีย์เรื่องสั้นต่างๆ ในขายหัวเราะทุกวันนี้หลายมุกเราก็ยังจำเอามาเล่นกันอยู่ 
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่านี่คือหนึ่งในตำนานของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะรอดวิกฤติดิจิทัลที่คนรุ่นใหม่หันไปสนใจสื่อออนไลน์มากกว่า แต่ขายหัวเราะและธุรกิจในเครือก็ยังดำเนินธุรกิจตัวเองมาได้เรื่อยๆ และนี่คือ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! นิตยสารขายหัวเราะ
 
1.จุดเริ่มต้นของบรรลือสาส์น
 
ภาพจาก goo.gl/hjF2fi

ในปี 2498 เป็นปีที่มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์สื่อสิ่งพิมพ์เพราะ เป็นปีที่คุณบันลือ อุตสาหจิต ผู้ก่อตั้งเริ่มดำเนินกิจการสำนักพิมพ์เป็นครั้งแรก ณ ถนนนครสวรรค์ ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น และในปีเดียวกัน คุณสุขสว่าง อุตสาหจิต ภรรยาของคุณบันลือ ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรก ชื่อวิธิต อุตสาหจิต ผู้มีบทบาทสำคัญกับบริษัท ในเวลาต่อมา 
 
2.นักเขียนคนแรกของบรรลือสาส์น
 
สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นได้ทาบทามคุณเสถียร หาญคุณตุละ หรือจิงโจ้ มาเป็นนักเขียนในสังกัดท่านแรก หลังจากนั้น คุณเศก ดุสิต คุณจำนูญ เล็กสมทิศ และคุณวัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ได้เข้ามาร่วมงานกับสำนักพิมพ์ เช่นเดียวกับอีกหลายท่าน ในช่วงเวลาแรก
 
3.ขายหัวเราะไม่ใช่ผลงานชิ้นแรกของบรรลือสาส์น
 
ภาพจาก goo.gl/oz99Bq

ก่อนหน้าที่จะมีการ์ตูนขายหัวเราะ ผลงานของบันลือสาส์นในยุคแรกเป็นประเภทหนังสือนวนิยาย นิยายภาพ หนังสือเพลง นิตยสาร การ์ตูนจำนวนมาก รวมไปถึงหัสนิยาย ที่หมายถึง เรื่องชวนหัว, เรื่องราวอันเต็มไปด้วยความตลกขบขัน เป็นคำสมาสระหว่าง หัสที่แปลว่ารื่นเริง กับนิยายที่หมายถึงเรื่องแต่งขึ้น เช่นเรื่อง พล นิกร กิมหงวน หรือ ‘สามเกลอ’ ประพันธ์โดย ป. อินทรปาลิต นามปากกาของ ปรีชา อินทรปาลิต
 
4.กำเนิดการ์ตูนขายหัวเราะ
 

ในปี 2516 บ.ก.วิธิต อุตสาหจิต ในวัย 18 ปี ได้สร้างชื่อเสียงให้กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ด้วยการให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูนชื่อ ขายหัวเราะ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างท่วมท้น สองปีต่อมา บ.ก.วิธิต ให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูนชื่อ มหาสนุก ส่งผลให้สำนักพิมพ์ที่เต็มไปด้วยหนังสือแห่งความสุขสร้างรอยยิ้มและจินตนาการ เติบโตคู่กับสังคมการอ่านของชาวไทย ตั้งแต่บัดนั้น บ.ก.วิธิต ยังมีความมุ่งมั่นที่จะนำความสุข และเสียงหัวเราะของการ์ตูนไทยเดินทางสู่สังคมโลก บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ออกสู่ตลาดสากล
 
5.ขายหัวเราะเดิมเป็นชื่อรายการตลกในทีวี
 
ขายหัวเราะ เดิมเป็นชื่อรายการทีวีตลกสมัยยังเป็นขาว-ดำ นำโดยล้อต๊อกและชูศรี แต่ก็ลาจอไป กระทั่งในปี 2516 ขายหัวเราะ’ ก็กลับมาอีกครั้ง เป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เมื่อแรกจำหน่ายมีขนาด 8 หน้ายกพิเศษ หนา 64 หน้าไม่รวมปก ราคา 5 บาท โดย บก.วิติ๊ด อย่างที่ในการ์ตูนล้อเลียนบ่อยๆ นิตยสารการ์ตูนขายหัวเราะพาดมุมปกว่า “สำหรับผู้ใหญ่” เพราะมีบางมุกที่อาจจะสองแง่สองง่ามไปบ้างโดยมี มีนักวาดการ์ตูนมากมายเช่น จุ๋มจิ๋ม, วัฒนา, , พ.บางพลี, ทวี วิษณุกร เป็นต้น
 
6.เปิดตัว “มหาสนุก” ในปี 2518
 
ภาพจาก goo.gl/gWmgfU

ในปี 2518 ถือเป็นยุคที่ประชาธิปไตยกำลังเติบโตหลังจากมีการ ปลดแอกจากระบอบเผด็จการอันยาวนานสาส์นได้เปิดนิตยสารตัวใหม่ชื่อ ‘การ์ตูนมหาสนุก’ เมื่อแรกจำหน่ายมีขนาด 8 หน้ายกพิเศษ หน้า 64 หน้าไม่รวมปก ราคาเพียง 5 บาท ที่ไม่เพียงสร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มด้วยการ์ตูนตลกเช่นเดิม แต่ยังเพิ่มเรื่องสั้นในรูปแบบการ์ตูน สารคดีปกิณกะความรู้ นิทานแฝงคติสอนใจ นิทานจีนต่างๆ เป็นต้น
 
7.ผู้บริหารบุกเบิกตลาดด้วยตัวเอง


จากผลงานของสำนักพิมพ์ที่มีมากมายทั้งนวนิยาย หนังสือเพลงลูกทุ่งและลูกกรุง การ์ตูนต่างๆ เช่น สิงห์เชิ้ตดำ หนูป้อม – ลุงเป๋อ หนูจ๋า เบบี้ และ หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ผู้บริหารคนเก่งอย่างคุณบันลือทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมาก เพื่อให้สำนักพิมพ์เจริญก้าวหน้า โดยลงทุนเป็นผู้บุกเบิกการตลาดด้วยตัวเอง เดินทางสำรวจและเยี่ยมเยียนลูกค้าตามจังหวัดต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเวลาไม่นาน สำนักพิมพ์จึงประสบความสำเร็จ ทั้งด้านคุณภาพการจัดทำและการจัดจำหน่าย
 
8.รู้จักปรับตัวตามยุคดิจิทัล
 

สังเกตได้ว่าทางบริษัทมีการปรับแผนรับมือกับโลกดิจิตอล ด้วยการที่ไม่ได้พึ่งพาแต่การขายหนังสือการ์ตูนอย่างเดียว โดยปัจจุบันธุรกิจของกลุ่มบันลือกรุ๊ป มีธุรกิจทั้งในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ การรับงานผลิตสื่อจากลูกค้า รวมถึงธุรกิจในแบบดิจิตอลด้วย เช่นในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์มีบริษัทบันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด

ทำหน้าที่พิมพ์หนังสือการ์ตูนอย่าง ขายหัวเราะ มหาสนุก หนังสือในเครือบันลือบุ๊กส์ รวมถึงหนังสือในเครือของแซลม่อนบุ๊กส์ด้วย ส่วนธุรกิจการรับผลิตสื่อ มีบริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2544 เพื่อทำการผลิตสื่อแอนิเมชั่นต่างๆ ทั้งในรูปแบบ 2D และ 3D
 
สุดท้ายคือการสร้างกลุ่มคอนเทนต์ออนไลน์ ทั้งบนเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น iOS หรือ Android มีการเปิดแฟนเพจ ไลน์ ทวิตเตอร์ ให้ผู้อ่านสามารถสื่อสารและส่งฟีดแบ็คต่างๆ ได้แทนการส่งจดหมายไปถึง บก. ในยุคเก่า
 
9.กำไรของธุรกิจในเครือรวมกันกว่า 16 ล้านบาท
 

จากข้อมูลกำไรขาดทุนของบริษัทในเครือพบว่า บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัดรายได้ 90 ล้านบาท กำไร 1.7 ล้านบาท บริษัท บรรลือสาส์น จำกัด มีรายได้ 27 ล้านบาท กำไร 1 ล้านบาท  บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัดมีรายได้ 74 ล้านบาท กำไร 8.8 ล้านบาท บริษัท แซลมอน เฮาส์ จำกัด มีรายได้ 46 ล้านบาท กำไร 4.6 ล้านบาท บริษัท มินิมอร์ จำกัด
 
มีรายได้ 3.3 ล้านบาท กำไร 300,000 บาท เมื่อรวมธุรกิจของบันลือกรุ๊ป เฉพาะที่กล่าวมา 5 บริษัทข้างต้น มียอดรายได้ในรวมกันประมาณ 250 ล้านบาท และกำไรอยู่ที่ 16 ล้านบาท
 
10.ข้อคิดจากขายหัวเราะ-มหาสนุก


นี่อาจจะเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ยุคแรกๆที่ฝ่าวิกฤติจนทุกวันนี้ ขายหัวเราะ ก็ยังมีวางแผงให้อ่านกันเหมือนเดิมแม้จะปรับเปลี่ยนขนาด รูปแบบการนำเสนอไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่หายไปจากสังคมไทย สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารยุคใหม่ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมอย่ายึดติดกับความสำเร็จที่มีในอดีต เหมือนที่ขายหัวเราะเคยประสบความสำเร็จอย่างมากกับการ์ตูนแก๊ก3ช่อง

แต่นั่นก็คือเรื่องเมื่อประมาณ 45 ปีก่อนเมื่อมองเห็นกระแสการเปลี่ยนแปลงต้องรีบหาทางออกให้ไวที่สุดเหมือนที่บริษัทมีการแตกธุรกิจออกไปยังรูปแบบต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับงานเดิม ไม่เพียงแต่จะทำให้ตัวเองอยู่รอดได้ แต่ยังหมายถึงภาพลักษณ์และความแข็งแกร่งที่สะท้อนให้เห็นแก่คนทั่วไปได้อย่างดีด้วย
 
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาสำหรับคนทำธุรกิจที่บางทีลงทุนอย่างยิ่งใหญ่เปิดตัวอย่างมโหฬารแต่สุดท้ายก็เงียบหายจางไป สำนักพิมพ์บันลือสาส์น เจ้าของผลงานนิตยสารมากมาย วันนี้ก็ยังดำเนินกิจการอยู่แม้จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปบ้างแต่แก่นแท้และความเป็นตัวเองก็ยังคงอยู่ ถือเป็นอีกตำนานสื่อสิ่งพิมพ์ไทยที่ใครก็เลียนแบบได้ยาก นอกจากเป็นธุรกิจที่ขายเสียงหัวเราะให้คนไทย บันลือสาส์นยังเป็นธุรกิจที่มองการณ์ไกลได้ดีอีกด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/kaihuaror/
เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยและรู้จักกับมหกรรมงานแสดงยานยนต์ในประเทศไทยเป็นอย่างดี เพราะจัดขึ้นตลอดทั้งปี 4-5 งานแสดงด้วยกัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า งานแสดงยานยนต์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในไทย และได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ งาน Bangkok International Motor Show หรือ มอเตอร์โชว์ ที่หลายๆ คนใช้เรีย..
65months ago   6,515  7 นาที
แบรนด์แรกๆ เมื่อเราพูดถึงด้านกีฬา รองเท้าสตรีทแวร์ และแฟชั่นสนีคเกอร์ แน่นอนว่าหลายๆ คนน่าจะต้องนึกถึงแบรนด์ Nike เจ้าของสโลแกน Just do it ติดอยู่ในใจอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน เพราะด้วยชื่อเสียงอันโด่งดังทั่วโลก รวมถึงคุณภาพสินค้า และดีไซน์ที่มีความเฉพาะตัว ทำให้ Nike ประสบความสำเร็จมาจนถึงปั..
65months ago   3,158  6 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด