บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.1K
3 นาที
23 กรกฎาคม 2562
เทียบกันชัด ๆ GrabBike VS วินมอ'ไซค์ อะไรดีต่อใจสุด


ทุกวันนี้เราคงจะเห็นข่าวเกี่ยวกับ GrabBike และวินมอเตอร์ไซต์มากมาย ทั้งในสื่อโซเชียลรวมถึงข่าวทางโทรทัศน์เกี่ยวกับการถกเถียงเรื่องกฎหมาย ค่าโดยสาร การขับขี่ที่ไม่สุภาพ และข่าวการทะเลาะวิวาทต่าง ๆ ระหว่าง GrabBike กับวินมอเตอร์ไซค์เจ้าถิ่น จนทำให้ใครหลายคนเริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการโดยสารทางมอเตอร์ไซค์
ปัญหาเหล่านี้เกิดจากผู้โดยสารโดนโก่งราคาค่าวิน การขับขี่ไม่สุภาพรวมถึงการย้อนศรซึ่งเสี่ยงให้เกิดอันตราย จึงทำให้หลาย ๆ คนเปลี่ยนไปใช้บริการ Grab กันมากขึ้น และเสริมด้วยบริการต่าง ๆ อาทิ เรียกผ่านแอพพลิเคชั่น โปรโมชั่นต่าง ๆ นานา
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกันชัด ๆ เลยว่านอกจากความสะดวกสบายในการใช้บริการ Grab แล้วยังมีข้อแตกต่างในเรื่องไหนกันอีกบ้าง
 
GrabBike


ภาพจาก bit.ly/2Y9Vxgc
 
GrabBike ตัวเลือกหนึ่งเดียวในชั่วโมงเร่งด่วน บริการเรียกมอเตอร์ไซค์ที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายและราคาที่มีมาตรฐาน 
 
Grab ผู้นำแพลตฟอร์มด้านการขนส่งชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแกร็บไบค์ (วิน) หลังจากประสบความสำเร็จในการทดลองให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 แกร็บไบค์ (วิน) เป็นความร่วมมือระหว่างแกร็บและผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งให้บริการด้วยรถจักรยานยนต์ที่ลงทะเบียนถูกต้อง
 
ผู้โดยสารสามารถใช้แอพพลิเคชั่นแกร็บเรียกใช้บริการแกร็บไบค์ (วิน) ได้ โดยคนขับจะมารับผู้โดยสารถึงที่ไม่ว่าจะเรียกใช้บริการจากจุดใดในกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเดินไปเรียกรถถึงวินมอเตอร์ไซค์ แกร็บไบค์เป็นบริการที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดของแกร็บในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นการมอบทางเลือกในการเดินทางที่รวดเร็ว ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม เหมาะกับการเดินทางช่วงเร่งด่วนในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น
 
ค่าบริการ :
  1. สำหรับ 5 กม.แรก
    • 1 – 2 กม. 25 บาท
    • 1 – 5 กม. 5 บาท/กม.
       
  2. ค่าบริการ ตั้งแต่ 5 กม. เป็นต้นไป
    • 1 – 5 กม. 50 บาท
    • 5.1 – 15 กม. 10 บาท/กม.
    • 15.1 กม. ขึ้นไป 15 บาท/กม.
*ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการเรียกรถ 10 บาท และอาจมีค่าบริการเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้บริการและสภาพการจราจร


ภาพจาก bit.ly/2XVdLa6
 
ความสะดวกในการใช้บริการ : ในเวลาเร่งด่วนสามารถเรียกรถได้จากแอปพลิเคชั่น ซึ่ง GrabBike เดินทางมาหาผู้ใช้บริการได้รวดเร็วกว่าแม้การจราจรติดขัด ในเวลาปกติไม่ต้องเดินตากแดดตากฝนเพื่อไปรอเรียกวินมอเตอร์ไซต์และสามารถจ่ายค่าโดยสารได้ทั้งเงินสดและผ่านบัตรเดบิต เครดิต และทุกการเดินทางกับ GrabBike คุณจะได้รับประกันอุบัติเหตุสูงสุด 600,000 บาทต่อกรณี 
 
กฎหมาย : หากดูตามกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจรถร่วมโดยสารของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งแปดประเทศที่แกร็บดำเนินธุรกิจอยู่ มีเจ็ดประเทศยกเว้นประเทศไทยที่แกร็บสามารถร่วมให้บริการขนส่งสาธารณะได้อย่างถูกต้องภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐ เนื่องจากประเทศไทยมีกฏหมายว่าขนส่งสาธารณะต้องเป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง


ภาพจาก bit.ly/2GpLwp7

5 ประเทศ ที่มีการแก้ไขให้ถูกกฎหมาย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ กัมพูชา
 
2 ประเทศ ที่นำร่องภายใต้ Regulatory Sandbox และกำลังรอการแก้ไขกฎหมาย ได้แก่ เวียดนาม และ พม่า


ภาพจาก bit.ly/2LAIVgs
 
ความปลอดภัย : ท่านสามารถติดตามการเดินทางแบบเรียลไทม์ผ่าน GPS และสามารถแชร์ให้คนอื่น ๆ ทราบได้
 
การลงทุน : มีรถจักรยานยนต์เป็นของตัวเองพร้อมหลักฐานการต่อ พรบ. สามารถใช้ได้ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ ต้องมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีระบบแอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.4 ขึ้นไป
  • โทรศัพท์ที่ใช้ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและ GPS ได้เป็นอย่างดี
  • มีค่าบริการแรกเข้าตามจำนวนที่ทางบริษัทกำหนด แต่ส่วนใหญ่จะแค่หลักร้อยบาทเท่านั้น
รายได้ : มีการประกันรายได้จากทางบริษัทที่สูงสุดถึงวันละ 750 บาท สำหรับผู้ที่ขับเต็มเวลา และวันละ 350 บาทสำหรับผู้ที่ทำแบบพาร์ทไทม์
 
วินมอเตอร์ไซค์


ภาพจาก bit.ly/2GpxBQ1
 
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ใช้พาหนะเป็นรถจักรยานยนต์ สามารถขนส่งได้ครั้งละไม่เกิน 1 คนเท่านั้นและมีการกำหนดราคาให้บริการตามที่กำหนด หรือตามตกลงอันเห็นสมควรแก่ทั้งสองฝ่าย 
 
จุดบริการ : บริเวณที่จอดรอของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะเรียกกันในภาษาถิ่นว่า วินมอเตอร์ไซค์ พร้อมทั้งป้ายบอกราคาการเดินทางขั้นต่ำ ติดตั้งไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้โดยทั่วกัน
 
เอกลักษณ์ : ผู้ทำหน้าที่จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน และรับเสื้อวินแบบเสื้อสีส้ม พร้อมชื่อวิน ชื่อพนักงานและเบอร์เขตให้บริการ รวมทั้งยังต้องบริการหมวกกันน็อคให้กับลูกค้าอีกด้วย
 
ค่าบริการ :
  1. ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ต้องไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อๆ ไป แต่ไม่เกิน 5 กิโลเมตร ต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท
     
  2. ระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 15 กิโลเมตร ตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท
     
  3. ระยะทางเกินกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงกัน ก่อนทําการรับจ้าง หากไม่ตกลงกันก่อนทํา การรับจ้าง อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท


ภาพจาก mangozero.com

โดยทางทีมงาน Mango Zero ได้ยกตัวอย่างเส้นทางและราคาตามกฏหมายมาให้ดูกันว่าราคาแต่ละเส้นทางมีค่าบริการเท่าไหร่กันบ้าง
 
ตัวอย่างค่าบริการพี่วินตามกฎหมายในเส้นทางยอดนิยม
  • หัวลำโพง ไป เยาวราช = 25 บาท
  • อนุเสาวรีย์ ไป สยาม = 30 บาท
  • อนุเสาวรีย์ ไป สนามหลวง  = 60 บาท
  • BTS สนามกีฬา ไป สนามหลวง  = 40 บาท
  • ถนนข้าวสาร ไป สนามหลวง  = 25 บาท
  • Airport Link รามคำแหง ไป สนามราขมังคลากีฬาสถาน  = 35 บาท
  • BTS หมอชิต ไป ขนส่งหมอชิต = 25 บาท
  • BTS หมอชิต ไป อิมแพคเมืองทองธานี = 150 บาท
    (ในกรณีไม่ตกลงกันก่อนทําการรับจ้าง อัตราค่าโดยสารตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท [15×10=150])
 
ความสะดวกในการใช้บริการ : มีจุดจอดวินในสถานที่สำคัญ เช่น หน้าปากซอย กลางซอย ป้ายรถเมล์ ซึ่งทำให้สามารถโบกเรียกได้ทันทีไม่ต้องรอ และด้วยการตกแต่งรถที่เป็นสัญลักษณ์ของแท็กซี่ทำให้ผู้โดยสารเห็นได้ง่ายและใช้บริการได้ทันที
 
กฎหมาย : มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะมาวิ่งรับผู้โดยสารและมีป้ายทะเบียนสีเหลือง ซึ่งก็หมายถึงสามารถขับขี่รับส่งผู้โดยสารได้อย่างถูกกฏหมาย
 
ความปลอดภัย : หน้าหลังเสื้อกั๊กวินมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับคนขับและพื้นที่ที่วินมอเตอร์ไซต์ให้บริการ เพื่อให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการสามารถบันทึกข้อมูลได้


ภาพจาก bit.ly/2y0Xykm

การลงทุน : TCIJ สำรวจพบว่า ย่านที่เสื้อวินมีราคาสูงมักเป็นย่านที่รถไฟฟ้าหรือรถเมล์เข้าไม่ถึง หรือเข้าถึงแต่มีจำนวนน้อยและความถี่ไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะแหล่งรวมสำนักงานและธุรกรรมต่างๆ เช่น สุขุมวิท เสื้อวินมีราคาสูงถึงสามแสนบาท บางปีอาจพุ่งทะยานขึ้นไปถึงห้าแสนบาท และยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดูแลวิน เช่น ค่าจ้างคนคุมวิน สินน้ำใจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อเทียบกับรายได้ ก็ยังถือคุ้มค่าสมน้ำสมเนื้อ
 
รายได้ : รายได้เฉลี่ย 24,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายรวมกับเสื้อวินแล้วคงเหลือประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน
 
อัตราค่าค่าโดยสารเปรียบเทียบระหว่าง Grab Bike, Uber Moto และรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โดยรถจักรยานยนต์วิน ที่วิ่งให้บริการในปัจจุบัน ซึ่งมีมากกว่า 5,445 วิน มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างทั้งสิ้น 105,894 คน 
 
ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก เก็บอัตราไม่เกิน 25 บาท, 2-5 กิโลเมตร ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท, 5-15 กิโลเมตร อัตราค่าโดยสารตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้างต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท, เกินกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป ให้ผู้โดยสารและผู้ขับตกลงราคากันเอง แต่ต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท 


ภาพจาก bit.ly/2Z8hqOa
 
ในขณะที่อัตราค่าบริการ Grab Bike คิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 10 บาท และค่าบริการตามระยะทางตั้งแต่กิโลเมตรแรกในอัตรา 5 บาทต่อกิโลเมตร และอีกจุดเด่นคือจะมีการคำนวณอัตราค่าโดยสารกับระยะทางทั้งหมดให้ผู้ใช้บริการได้ทราบก่อนการเรียกใช้บริการ 
 
และ Grab Bike มีการจัดโปรโมชั่น ส่วนลดค่าบริการ โดยผู้ขับขี่จะต้องผ่านการตรวจประวัติอาชญากรรม มีระบบติดตามแบบ Real Time Tracking และมีประกันอุบัติเหตุ อีกปัจจัยที่เป็นจุดเด่นของบริการ Grab Bike คือ รายได้ของคนขับขี่ที่จะได้ส่วนแบ่งจากค่าโดยสารสูงถึง 75-85% ขณะที่วินปกติต้องถูกหักเข้าระบบเสื้อวิน
 
Grab Bike หรือวินมอเตอร์ไซต์ก็มีส่วนที่ดีต่อใจแตกต่างกัน ทางด้าน GrabBike อาจจะสะดวกรวดเร็วและรับส่งผ่านการเรียกแอพพลิเคชั่น แต่วินมอเตอร์ไซต์ก็จะเชี่ยวชาญในเรื่องของพื้นที่ไม่ต้องเสียเวลาสอบถาม ส่วนในด้านอื่น ๆ คุณผู้อ่านก็น่าจะทราบรายละเอียดกันแล้ว เอาเป็นว่าถ้ามีข้อมูลอะไรใหม่ ๆ www.ThaiFranchiseCenter.com จะรีบมาอัพเดตโดยทันที !

คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
เป็นที่ทราบกันดีว่าขนส่งสาธารณะอาจจะไม่ตอบโจทย์เวลาที่เราเร่งรีบ ทั้งรอนาน จอดแช่ป้ายต่าง ๆ นานา หรือเพราะบางครั้งเรามีสัมภาระเยอะเกินกว่าจะขึ้นรถโดยสารสาธารณะ ทำให้ต้องมีการใช้บริการแท็กซี่อยู่บ่อย ๆ แต่การจะขึ้นแท็กซี่บางครั้งบางทีก็ไม่ได้ถูกใจเราเสมอไป บ้างก็ส่งรถ เติมแก๊ส โกงมิเตอ..
61months ago   1,934  9 นาที
การจะทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเรื่องแบรนด์ก็เป็นหนึ่งข้อสำคัญในการที่จะตัดสินใจลงทุน เนื่องจากผู้บริโภคมักจะเข้าร้านที่มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพราะแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมักจะมาพร้อมกับคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งในยุคนี้ร้านสะดวกซื้อเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่มาแรง เนื่องจากไ..
61months ago   3,844  10 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด