บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
4.0K
2 นาที
30 สิงหาคม 2562
ส่องรายได้ Grab


เมื่อก่อนเวลาเราจะเดินทางไปไหนมาไหน หากไม่มีรถยนต์ส่วนตัวเราก็จะใช้บริการรถเมล์ รถตู้ รถสองแถว แต่ถ้าเวลาเร่งด่วนก็ไม่พ้นวินมอเตอร์ไซค์ หรือแท็กซี่ แต่ปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับการเดินทาง โดยมีการเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งเราก็คงจะรู้จักกันดีนั่นก็คือ “Grab” โดย Grab ไม่ได้มีบริการแค่เพียงรถเก๋งเท่านั้น แต่ยังมีรถตู้ รถหรูมากมาย และยังมีรับส่งเอกสาร พัสดุ ส่งอาหารอีกด้วย! เรียกได้ว่าครบจบในแอปฯเดียว ซึ่งก็ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทีต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็ว

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปอัพเดตกันว่าตอนนี้ Grab มีบริการใหม่อะไรบ้าง และแอปพลิเคชั่นที่รวมหลากหลายบริการขนาดนี้ รายได้ Grab จะเท่าไหร่กันตามไปดูเลย


ภาพจาก bit.ly/2ZoNP7F

แกร็บ (Grab) เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์ ที่ให้บริการเรียกรถ, แท็กซี่, วินมอเตอร์ไซค์, ส่งพัสดุ และ สั่งอาหาร ผ่านทางแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งให้บริการในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย, ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศเวียดนาม, ประเทศเมียนมา, ประเทศกัมพูชา และ ประเทศไทย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 อูเบอร์ ได้ขายกิจการในภูมิภาคนี้และยุบรวมเข้ากับแกร็บ


ธรินท์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย
ภาพจาก bit.ly/2LiWXR3

ธรินท์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า แกร็บให้บริการในประเทศไทยมา 6 ปีแล้ว และได้รับการตอบรับจากชาวไทยเป็นอย่างดี โดยมีการเรียกใช้บริการการเดินทาง การส่งอาหาร และการส่งของรวมกว่า 320 ล้านครั้ง เชื่อมต่อกับผู้คนใน 16 จังหวัด 18 เมืองของไทย นอกจากนี้ยังให้บริการครอบคลุมไปถึงระบบการจองโรงแรมและระบบรีวอร์ด 
 
“12 เดือนที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีหลายๆ อย่างเข้ามาในแกร็บ ทั้งการเปิดตัวแบรนด์แอมบาสเดอร์คือ BNK48 มีการให้บริการแกร็บฟู้ดซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก ทำให้ 6 เดือนหลังจากนี้มองว่าแกร็บฟู้ดจะเป็นตัวหลักในธุรกิจของเรา จากตัวเลขแนวโน้มการเติบโตปีก่อนที่มียอดใช้บริการ 3 ล้านออร์เดอร์ ปีนี้เพียงครึ่งปีมียอดใช้บริการ 4 ล้านออร์เดอร์ซึ่งเร็วกว่าเดิมค่อนข้างมาก เนื่องจากการปรับตัวของผู้บริโภค โดยคาดว่าอาจถึง 20 ล้านออเดอร์ในปีนี้ ซึ่งมั่นใจว่ามาร์เก็ตแชร์ของแกร็บฟู้ดในขณะนี้เป็นเบอร์ 1 และมีสัดส่วนเกินครึ่งของตลาด”


ภาพจาก bit.ly/346QaCV
 
ธรินทร์ กล่าวอีกว่า การแข่งขันในตลาดรับส่งอาหารยังคงรุนแรง และการทำสงครามราคาจะยาวนานไปอีก 1 ปี ส่วนทิศทางของเราในปีนี้นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว ก็จะทำการตลาดเชิงรุกในต่างจังหวัดมากขึ้น และจะขยายบริการแกร็บฟู้ดไปในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการให้บริการส่งอาหารในเชียงใหม่หรือพัทยาก็ได้รับการตอบรับดี และยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก แต่ต้องอาศัยการพูดคุยทำความเข้าใจกับร้านค้าท้องถิ่นมากขึ้น
 
ธรินทร์ ระบุว่า ในครึ่งปีหลังนี้ได้เปิดตัวบริการแกร็บเพย์ วอลเล็ต ซึ่งเป็นการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย โดยพร้อมให้บริการในระบบนิเวศของแกร็บในไตรมาสนี้ และภายในต้นไตรมาส 4 จะสามารถให้บริการแบบโอเพ่น คือใช้แกร็บเพย์จ่ายเงินกับระบบข้างนอกได้


ภาพจาก bit.ly/2PnxoUe
 
“เรามองว่าแกร็บเพย์ยังไม่ใช่ธุรกิจที่เจอการแข่งขันหนัก เราไม่ได้แข่งกับใคร แต่ความท้าทายคือทำอย่างไรให้ประชาชนคิดว่าใช้อันนี้แล้วดี อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นประเทศที่คนยังไม่มีบัตรเครดิตเยอะมาก เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ในสังคม และเรายังมีโอกาสอีกมากในการเข้าถึงตลาดตรงนี้”
 
“บริการของแกร็บวันนี้นอกจากตอบโจทย์ผู้โดยสารทั้งเรื่องความปลอดภัย ราคา การสะสมแต้ม ยังส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวของไทยด้วย โดยที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวกว่า 5 ล้านคนที่ใช้บริการในไทย นอกจากนี้เรายังช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้มีรายได้อีกด้วย”


ยอดการใช้บริการแกร็บในประเทศไทย
ภาพจาก bit.ly/2LiWXR3

เรามาดูกันดีกว่าว่าแพลตฟอร์มที่ให้บริการครบจบในแอปฯเดียว อย่าง Grab นั้นจะมีกำไร-ขาดทุนเป็นตัวเลขเท่าไหร่ โดยข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด มีทุนจดทะเบียน 2,879,970,000 บาท โดยมีผลการประกอบย้อนหลังดังนี้
  • ปี 2559 : รายได้รวม 104,131,569 ขาดทุน -516,139,966 บาท
  • ปี 2560 : รายได้รวม 508,510,201 ขาดทุน -985,334,149 บาท
  • ปี 2561 : รายได้รวม 1,159,233,358 ขาดทุน -711,561,304บาท

ภาพจาก bit.ly/2LiWXR3

จากข้อมูลผลประกอบการย้อนหลังสามปีนี้จะเห็นว่า Grab นั้นมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่การขาดทุนก็มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย หากมองในมุมนักลงทุน การขาดทุนของ Grab ไม่ใช่เรื่องปลก เนื่องจาก Grab พยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค จึงต้องแย่งส่วนแบ่งของตลาด และต้องทำให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับพฤติกรรมแบบใหม่ก่อน จึงค่อยปรับกลยุทธ์เน้นทำกำไร ซึ่งเป็นหนทางโดยทั่วไปของ Startups
 
การขาดทุนนี้ก็หมายถึงการให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์และกำไร ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่ Grab แจกโปรโมชั่นมากมาย ทำให้เราใช้บริการต่าง ๆ ได้ถูกลง ไม่ว่าจะส่วนลดค่าแท็กซี่ ส่วนลดค่าสั่งอาหาร รวมถึงการส่งพัสดุ www.ThaiFranchiseCenter.com ก็เห็นว่าหากเหล่าผู้ใช้บริการติดใจและคุ้นชินกับบริการของ Grab เมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็คงจะเป็นช่วงเวลาทองที่ Grab อาจกอบโกยผลกำไรได้มากยิ่งขึ้น
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
อ้างอิงข้อมูล
กล้าพูดเลยว่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือผู้ที่เคยใช้บริการรับส่ง-พัสดุ ไม่มีใครไม่รู้จัก “ไปรษณีย์ไทย” ที่บริการรับ-ส่งพัสดุที่เรียกได้ว่าอยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี แถมยังครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล ให้บริการประชาชนทุกระดับในหลากหลายราคา มีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นรัฐวิสา..
59months ago   2,014  4 นาที
หากพูดถึงเจ้าของกิจการร้านอาหาร “หมูทอด เจ๊จง” เชื่อว่ามีน้อยคนมาก ที่จะไม่รู้จักกับเธอ ปัจจุบันขยายกิจการร้านอาหารไปแล้ว 10 สาขา ถือเป็นขวัญใจของคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ ย่านพระราม 4 มามากกว่า 10  ปี ..
59months ago   2,300  5 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด