บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
29K
2 นาที
24 กันยายน 2562
Paradigm Shift การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ 
 
ภาพจาก https://n.pr/2wj8jOq

กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี คือ มโนทัศน์ ภาพฝัน (Concepts) ค่านิยม (Values) ความเข้าใจรับรู้ (Perceptions) และการปฏิบัติ (Practice) ที่มีร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่ง ของทัศนะอย่างเฉพาะแบบหนึ่ง เกี่ยวกับความจริง (Reality) 
 
กระบวนทัศน์ คือ การนำกฎ นำทฤษฎี การนำเครื่องมือ การนำความรู้ การนำทรัพยากรคน รวมกัน เพื่อไปสร้างรูปแบบนำไปสู่แนวปฏิบัติที่เชื่อมโยงกันของคนที่มีอยู่ในกระบวนทัศน์เดียวกัน จะมีกฎและมาตรฐานการปฏิบัติที่เหมือนกันไปในทิศทางกันเกิดการ Synergy ร่วมกันและได้ผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน

การกลยุทธ์เป็นแผนที่รวมทุกอย่างซึ่งสามารถรวมไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดภาพที่ใหญ่ขึ้น เราเรียกว่า Paradigm  
 
กระบวนทัศน์ คือ กลุ่มทฤษฎีที่มีการพัฒนาแนวคิดด้านการบริหารและการจัดการในศาสตร์นั้น ๆ โดยมีการรวบรวมแนวคิดทฤษฎีของนักทฤษฎีไว้ด้วยกัน และอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อาจจะเป็นในทศวรรษเดียวกัน หรือทศวรรษต่อเนื่องกัน โดยนักทฤษฎีในกระบวนทัศน์นั้น ๆ จะไม่ขัดแย้งกัน มีเนื้อหาทฤษฎีที่มีการเกื้อหนุนกันในด้านการบริหารและการจัดการในศาสตร์นั้น ๆ และเมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีที่มีข้อเสนอที่ขัดแย้ง และมีความหลากหลาย เมื่อนั้นกระบวนทัศน์จะถูกล้มล้าง และจะก้าวเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ หรือเรียกว่าการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ตัวอย่างเช่น ศาสตร์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) มีการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์หลายขั้น อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.or
 
ก้าวเข้าสู่กระบวนทัศน์ใหม่ หรือ เรียกว่าการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ ( paradigm shift ) เราสามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรขององค์การได้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้ หากกล่าวอย่างสั้นๆ 
ภาพจาก bit.ly/2kZjwBr
 
แผนกลยุทธ์ คือ แผนที่ทำให้องค์การอยู่รอดในระยะยาวและได้เปรียบการแข่งขันในตลาด ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้ามองไปในอนาคตได้อย่างถูกต้อง 

การวางแผนกลยุทธ์ เป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ การเลือกกลยุทธ์ที่จะทำให้องค์การสามารถไปสู่วัตถุประสงค์นั้นได้ การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับ 3 หัวข้อที่สำคัญคือ การวิเคราะห์กลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์ไปใช้ 
 
เคยเขียนเรื่องของ CORPORATESTRATEGYในบทความตาม https://bit.ly/2miNII4
 
การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) คือ การเปลี่ยนแปลงความรู้ ที่นำมาวิเคราะห์เพื่อหาสิ่งที่ใช่หรือไม่ใช่ อาจเกิดการหักล้างกับทฤษฎี หรือกระบวนทัศน์เก่าๆ จนเกิดกระบวนทัศน์ที่ทรงพลังที่ดีขึ้น แก้ปัญหาเก่าได้มากขึ้น ส่วนนึงก็เป็นเพราะเทคโนโลยี ที่ทำอะไรได้มากขึ้น ง่ายขึ้นนั้นเอง จากเดิมที่มนุษย์เก็บพืชผลตามธรรมชาติ มาทำเกษตรกรรมแบบตั้งรกราก การปฏิวัติอุตสาหกรรมตามมา กระบวนทัศน์แบบเก่ามองแบบธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นแบบเทคโนโลยีมากขึ้นเกิด กระบวนทัศน์ใหม่

ซึ่งเกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในแต่ละครั้ง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติจึงจำเป็นจะต้องมีวิธีคิดแบบใหม่ ในการมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการวางแผนของการทำธุรกิจที่หันไปมองต้นน้ำและปลายน้ำกันมากขึ้น ของอธิบายให้ชัดขึ้น 
 
Backward integration คือ การย้อนกับไปทำที่ต้นน้ำเพื่อให้ธุรกิจของตัวเองมีจุดแข็งมากยิ่งขึ้นในการควบคุมวัตถุดิบในด้านของคุณภาพและราคา ลดอำนาจการต่อลองของ Suppliers รวมถึงสามารถวาง 
 
แผนการผลิตได้มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเป็นผลไม้บางฤดูการอาจจะไม่ได้รับผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการ
เนื่องจากปัญหาต่างๆที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ ทำให้ลดความเสี่ยงจากไม่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน
 
Forward integration คือ การไปทำปลายน้ำมากขึ้นลดอำนาจหรือการกดราคาของคู่ค้า หรือยี่ปั้วซ่าปั่ว ที่มักจะคอยแต่จะต่อรองเรื่องราคาและปัญหาของการจัดเก็บสินค้า ร่วมถึงสิ้นที่มักหมดอายุก่อนกำหนดที่
 
ร้านค้าไม่พยายามปล่อยขายหรือช่วยขายทำให้มีของเครมกับมาจำนวนมาก จึงทำให้องค์กรต้องขยายหรือหาช่องทางจัดจำหน่ายมากขึ้น 

ภาพจาก bit.ly/2l2NZ1x
 
•ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน Backward integration และ Forward integration
 
ตอบ เพื่อแก้ปัญหาและสามารถที่จะได้วางแผนหรือพยากรณ์ยอดขายได้ด้วย การทำงานจะทำงานเป็น Chain ที่ฝ่ายผลิตจะวางแผนการผลิตได้ ฝ่ายวัตถุดิบก็วางแผนการจัดหาวัตถุดิบไปครบทั้ง Chain เป็นการ integration ได้อย่างเกิดประโยชน์ รวมถึงสร้างผลกำไรได้มากขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น
 
•ยกตัวอย่างธุรกิจที่มีลักษณะการดำเนินงาน Backward integration และ Forward integration
 
ตอบ ธุรกิจผมอยู่ในแนววงของอุตสาหกรรมน้ำดื่ม โรงงานน้ำดื่มทำหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบและควบคุมคุณภาพน้ำดื่มให้ได้ตามมาตรฐานกำหนด ปัจจุบันสั่งขวดมาเพื่อบรรจุและส่งไปยังร้านค้าส่ง
 
Backward integration วางแผนธุรกิจเป่าฉีดหลอดพรีฟอร์มและเป่าขวด เพื่อควบคุมคุณภาพและราคา
ในการสร้างต้นทุนที่จะไปแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้มากขึ้น 
 
Forward integration สร้างช่องทางจำหน่ายตรง ด้วยกลการสร้างแบรนด์สินค้า ขายในราคาขายปลีกสร้างตลาดใหม่อย่างลูกค้า OEM ซึ่งจะได้เปรียบร้านค้าส่ง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยส่งเองหรือบริการลูกค้าไม่ทั่วถึง สร้างช่องทางกระจายสินค้ามากยิ่งขึ้น
 
เมื่อไรที่เราต่างเห็นภาพเดียวกันมากขึ้น การส่งเสริมที่เป็นกระบวนทัศน์เดียวกันจะทลายเรื่องของราคาขายและต่างมาช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตไปร่วมกันเกิดการเชื่อมโย้งที่ดี เหมือนกับคำว่า เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้านั้นเอง
 
 
อ.อ๊อด  น้ำดี เขียนจบ 24 ก.ย. 2562 เวลา 8:36 น.
www.สถาบันพัฒนาธุรกิจน้ำดื่มประเทศไทย.com
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด