บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
25 กันยายน 2562
รายใหญ่ทุบราคา ธุรกิจ SME ควรปรับตัวอย่างไร


เชื่อว่าผู้ประกอบการ รวมถึงพ่อค้าแม่ค้ารายเล็กๆ ที่เป็นธุรกิจ SME คงจะเคยประสบปัญหาโดนตัดราคา หรือขายสินค้าในราคาต่ำกว่าจากธุรกิจรายใหญ่ๆ ที่มีเงินทุนจำนวนมาก เพื่อขายสินค้าให้ได้จำนวนมากๆ แล้วเอากำไรจากยอดจำนวนสินค้าที่ขายไป กล่าวคือ กำไรต่อชิ้นน้อย แต่หวังยอดขายจำนวนมาก เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้แล้ว SME อาจหาทางออกไม่เจอ
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะมาบอกวิธีในการแก้เกมการตัดราคาของคู่แข่งรายใหญ่ มาดูต้องทำอย่างไรบ้าง
 
1. สร้างความแตกต่าง หรือสร้างจุดเด่นสินค้าและบริการ


ภาพจาก facebook.com/chalomicecream
 
เทคนิคนี้ช่วยให้ SME สามารถการันดีความสำเร็จระยะยาวแน่นอน จุดเด่นของสินค้าและบริการ จะทำให้คุณได้เปรียบกว่าคู่แข่งขัน ฉะนั้น ต้องวางตำแหน่งของสินค้าของคุณให้แตกต่างจากคู่แข่ง ก่อนสำสินค้าและบริการก่อนเสมอ แต่แค่มีจุดเด่นอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะเวลาผ่านไป คู่แข่งก็ต้องลอกเลียนทำตามคุณได้แน่ๆ ยิ่งเป็นรายใหญ่ด้วย มีเงินทุนด้วย 
 
2. สร้างคุณค่าให้สินค้า และตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า
 
คุณต้องคิดก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร อะไรที่ลูกค้ายอมจ่าย ไม่ว่ากิจการของคุณจะทำกลยุทธ์การตลาดอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ช่องทางในการขายสินค้า และตัวสินค้าเอง ต้องตอบโจทย์ ต้องแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ เหมาะกับแต่ละคนได้ยิ่งดี ที่สำคัญอย่าคิดเอาเอาว่าลูกค่าอยากได้อะไร มีปัญหาอะไร ไปถาม ไปหาข้อมูลด้วย ลูกค้าถึงจะเห็นค่าของสินค้าคุณ
 
3. ตั้งราคาตามคุณค่าของสินค้า ไม่ใช่ราคาของสินค้าคู่แข่ง


ภาพจาก bit.ly/2kHRgmw
 
การตั้งราคาสินค้าตามคุณค่าของตัวมัน เป็นการบอกลูกค้าว่าสินค้านี้ไม่ใช่ของธรรมดาเหมือนคู่แข่ง มันพิเศษกว่าของคนอื่น นั่นจะทำให้สินค้าของคุณเด่นออกมาจากสินค้าอื่นๆ ในสายตาของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น ถึงจะตั้งราคาให้สูงกว่าคู่แข่ง หรือคู่แข่งจะลดราคาก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และอย่าลืมคิดถึงต้นทุนเวลาตั้งราคาด้วย
 
4. หาของราคาถูก และต้นทุนต่ำมาขายทดแทนแข่งกับคู่แข่ง


ภาพจาก bit.ly/2msMrOH
 
ถ้าหากคุณมีของราคาถูก และ ต้นทุนต่ำ มาทดแทนสินค้าของคู่แข่งได้ คุณก็จะแข่งขันกับสินค้าของคู่แข่งได้เช่นกัน คุณลองใช้แบรนด์ต่างจากคู่แข่ง และแบรนด์อื่นๆ ของคุณ ขายในจำนวนจำกัด เพื่อเอาไว้แข่งกับสินค้าคู่แข่งอย่างเดียวเลย
 
ที่ต้องทำเช่นนี้ เพื่อเปลี่ยนความคาดหวังและทัศนคติของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่า สินค้าราคาถูก ต้องเป็นสินค้าที่มีประโยชน์และฟีเจอร์น้อยกว่า ถ้าสินค้าราคาถูก ต้นทุนถูกของคุณ ทดแทนสินค้าของคู่แข่งและตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีกว่า ก็จะทำให้สินค้าของคู่แข่งจะดูมีคุณค่าน้อยลงไปเลย นั่นก็ยิ่งทำให้สินค้าเดิมของคุณโดดเด่นขึ้นไปอีก
 
5. นำเสนอขายวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้า ไม่ใช่สินค้า


ภาพจาก bit.ly/2mvETKT
 
ไม่แน่ว่าคู่แข่งหน้าใหม่ต้นทุนถูก จะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ทำให้สินค้าที่คุณขายเป็นของธรรมดาไปเลย ฉะนั้นจงมองข้ามตัวสินค้า และโฟกัสไปที่การตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยเสนอสินค้าพร้อมบริการหลังการขายให้ลูกค้าด้วย (เช่นบริการจัดส่ง) บริการที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะสะท้อนให้ลูกค้าเห็นว่าแบรนด์ของคุณใส่ใจลูกค้าจริงๆ แน่นอนว่าคู่แข่งที่มาพร้อมกับต้นทุนต่ำสู้คุณไม่ได้แน่ แต่ถ้าบริการที่ว่า คุณไม่สามารถจัดเตรียมได้ ก็ไม่มีปัญหา ก็หาพาร์ทเนอร์มาให้บริการแทนก็ได้ 
 
ทั้งหมดเป็นเทคนิคในการแก้เกมของ SME ในการแข่งขันกับคู่แข่ง หรือธุรกิจรายใหญ่ ขายสินค้าหรือบริการในราคาถูกกว่าของคุณ แม้ว่าสินค้าขายรายใหญ่จะขายถูก แต่ไม่ตอบโจทย์ และสร้างคุณค่าให้ลูกค้าได้ เชื่อว่าก็จะอยู่ได้ไม่นานครับ
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

SMEs Tips
  1. สร้างความแตกต่าง หรือสร้างจุดเด่นสินค้าและบริการ
  2. สร้างคุณค่าให้สินค้า และตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า
  3. ตั้งราคาตามคุณค่าของสินค้า ไม่ใช่ราคาของสินค้าคู่แข่ง
  4. หาของราคาถูก และต้นทุนต่ำมาขายทดแทนแข่งกับคู่แข่ง 
  5. นำเสนอขายวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้า ไม่ใช่สินค้า
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
795
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด