บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
7.1K
3 นาที
1 พฤศจิกายน 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กาแฟสดชาวดอย
 

คอกาแฟทั้งหลายอาจจะมีแบรนด์ร้านกาแฟในใจของตัวเอง กาแฟเหมือนกาแฟแต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างคือบรรยากาศร้าน  วัตถุดิบที่นำมาใช้ การบริการ สิ่งเหล่านี้คือเสน่ห์ที่ร้านกาแฟแต่ละแห่งมีไม่เหมือนกัน หนึ่งในแบรนด์ร้านกาแฟที่คนไทยนิยมและรู้จักต้องมีชื่อของ “กาแฟสดชาวดอย” ที่ได้ชื่อว่าเป็นกาแฟสดสัญชาติไทยที่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเป็นร้านกาแฟชื่อดังที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมีเรื่องราวในตัวเองน่าสนใจมากมาย ลองมาดู 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กาแฟสดชาวดอย มีอะไรบ้าง
 
1. กาแฟสดชาวดอยบริหารงานโดย บริษัทในเครืออโรม่า กรุ๊ป


คุณกิจจา วงศ์วารี กรรมการบริหาร อโรม่ากรุ๊ป
ภาพจาก Positioning Magazine
 
อโรม่า กรุ๊ป ถือเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญธุรกิจกาแฟ และเป็นผู้นำเข้าอะไหล่และเครื่องชงกาแฟระดับพรีเมี่ยมจากประเทศสเปนและอิตาลี เพื่อรองรับลูกค้าที่ต้องการทำธุรกิจเปิดร้านกาแฟในทุกระดับ โดยอโรม่า กรุ๊ป มีไลน์สินค้าที่เกี่ยวกับกาแฟจำนวนมาก และ กาแฟสดชาวดอย ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่อโรม่า กรุ๊ปได้พัฒนาขึ้นมาและกลายเป็นร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนไทยจำนวนมาก
 
2. ทำไมต้องชื่อ “กาแฟสดชาวดอย”


ภาพจาก facebook.com/chaodoicoffee
 
ชื่อกาแฟสดชาวดอยต้องการสื่อให้เห็นถึงแหล่งวัตถุดิบคือ “ยอดดอย” ในพื้นที่ทางภาคเหนือ จากข้อมูลระบุว่าการใช้ชื่อกาแฟสดชาวดอยต้องการสื่อให้ลูกค้าได้ทราบว่ากาแฟทุกเมล็ดได้ผ่านประวัติศาสตร์และประสบการณ์อันยาวนานจากชนเผ่าพื้นเมืองทางภาคเหนือ จากที่เคยต้องร่อนเร่ปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวง ที่ทรงสนับสนุนให้ปลูกพันธุ์กาแฟ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชาวดอย และเพื่อต้องการตอบสนองพระทัยของในหลวงจวบจนบัดนี้ ต้นกาแฟเหล่านั้นก็ได้ออกผลเป็นเมล็ดกาแฟดิบคุณภาพสูง เพื่อจำหน่ายให้ “ชาวดอยคอฟฟี่” นำมาคัดสรรเพื่อเข้าสู่กระบวนการคั่วกาแฟต่อไป
 
3. ธุรกิจที่ทำมานานกว่า 60 ปี


ภาพจาก facebook.com/chaodoicoffee

จากจุดเริ่มต้นของบริษัทที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกาแฟโบราณเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน จนกระทั่งวัฒนธรรมกาแฟสดเริ่มเข้ามามีบทบาทบริษัทมีการปรับตัวก้าวตามกระแสสังคมยุคใหม่ เริ่มมีสินค้าใหม่คือ กาแฟคั่วบด อโรม่า ก่อนที่จะถูกต่อยอดเป็นธุรกิจกาแฟแบบครบวงจรในผู้บริหารรุ่นที่ 2 ที่ใช้ความรู้สมัยใหม่ผสมผสานกับธุรกิจที่มีอยู่เดิม กลายเป็นแบรนด์ร้านกาแฟชั้นนำที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี
 
4. กาแฟสดชาวดอย เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลาง


ภาพจาก facebook.com/chaodoicoffee
 
ปัจจุบันตลาดกาแฟแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ พรีเมี่ยม ระดับกลาง และระดับทั่วไป  ธุรกิจกาแฟควรโฟกัสกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนว่าจะเจาะตลาดกลุ่มไหน และกาแฟสดชาวดอยก็เลือกตลาดระดับกลางวางราคาสินค้าเบื้องต้นไว้ที่แก้วละ 50-60 บาท ที่ถือว่าเป็นราคาที่คนระดับกลางสามารถซื้อได้ โดยคนกลุ่มนี้เน้นไปที่พนักงานออฟฟิศหรือคนทำงานประจำที่มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 15,000 บาท การที่กาแฟสดชาวดอยจับตลาดระดับกลางเพราะมีกลุ่มลูกค้าจำนวนมากและโอกาสขยายตลาดนั้นมีสูง
 
5. ยุคบูมเคยเปิดถึง 800 สาขา ก่อนปรับกลยุทธ์เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ


ภาพจาก bit.ly/2N8llHz
 
ตลาดกาแฟต้องยอมรับว่ามีการแข่งขันสูงมาก ด้วยมีหลากหลายแบรนด์เข้ามาเป็นคู่แข่งทางการตลาด ยุคที่บูมที่สุดของกาแฟสดชาวดอยเคยเปิดให้บริการถึง 800 สาขาและมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นแข่งขันในเชิงคุณภาพทำให้ปรับลดสาขาลงมาเหลือประมาณ 300 สาขาทั่วประเทศ แต่สิ่งที่ได้รับเช่นกันคือความนิยมของลูกค้าที่มากขึ้น เพราะทุกสาขาเป็นการคัดคุณภาพจากผู้ลงทุนที่สนใจในธุรกิจร้านกาแฟอย่างจริงจัง ซึ่งธุรกิจของกาแฟสดชาวดอยถือว่าเป็นร้านกาแฟที่ให้กำไรต่อเดือนดีมาก
 
6. กาแฟสดชาวดอยขยายสาขาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน


ภาพจาก bit.ly/335Jq7h
 
ไม่ใช่แค่การเติบโตในประเทศไทยกาแฟสดชาวดอยยังตีตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น ในพนมเปญประมาณ 3 สาขา รวมถึงในกัมพูชา และเมียนมา ถือเป็นการวางรากฐานการเติบโตเพื่อเจาะตลาดอาเซียนหลังจากแบรนด์มีความแข็งแรงในเมืองไทยเป็นอย่างดี ซึ่งการขยายสาขาไปยังประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นการสร้างโอกาสเพื่อจะขยายสาขาในประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้นด้วย
 
7. แพคเกจการลงทุนของกาแฟสดชาวดอยมี 3 ไซด์ให้เลือก


ภาพจาก facebook.com/ChaodoiRDpathum2
 
ภายหลังการรีแบรนด์ขนาดของร้านถูกกำหนดใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ไซส์ คือ  S M L เริ่มต้นอยู่ที่ 12 ตร.ม./ 24 ตร.ม./ 60  ตร.ม. ขึ้นไปตามลำดับ โดยขนาด M และ L มีประมาณ 80% ค่าโครงสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ 2 หมื่นบาทต่อตารางเมตร รูปแบบการลงทุนมีให้เลือกทั้งร้านกาแฟชาวดอยคอฟฟี่ หรือจะเลือกลงทุนชาวดอยคอฟฟี่ แอนด์ บับเบิ้ล ที ก็แล้วแต่ความต้องการของผู้ลงทุน
 
8. มีเมนูสินค้าให้เลือกกว่า 70 รายการ


ภาพจาก bit.ly/2ozP02D
 
ปัจจุบันกาแฟสดชาวดอยมีการพัฒนารูปแบบการลงทุนและสินค้าได้อย่างน่าสนใจ หมวดหมู่เครื่องดื่มแบ่งเป็น กาแฟ ชาและช็อคโกแลต เครื่องดื่มอื่นๆ สมูทตี้ ชานม/นมสด ชาบับเบิ้ลที กาแฟพรีเมี่ยม ซึ่งแต่ละประเภทมีแยกย่อยออกไปอีกหลายเมนู เช่น กาแฟสดชาวดอย คาปูชิโน่ ลาเต้ เอสเปรสโซ่ ชานมปั่น ชาเขียวนมสด ช็อคโกแลตปั่น สตอเบอรี่สมูทตี้ กีวี่สมูทตี้ นมสดเย็น นมสดปั่น นมสดคาราเมลไข่มุก  ชานมไข่มุกชาวดอย  เป็นต้น
 
9. แฟรนไชส์ร้านกาแฟที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปีและเปอร์เซ็นต์ยอดขายรายเดือน


ภาพจาก facebook.com/chaodoicoffee
 
กาแฟสดชาวดอยให้ความสำคัญกับการเติบโตของผู้ลงทุนอย่างยั่งยืนซึ่งหมายถึงโอกาสเติบโตของบริษัทแม่ คือ อโรม่ากรุ๊ป เพราะ เป็นการสร้างรายได้ในการซื้อเม็ดกาแฟคั่ว รวมทั้งวัตถุดิบและอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้แฟรนไชส์ของชาวดอยจะไม่เก็บค่า Royalty Fees และ Monthly Fees แต่หวังรายได้จากการขายวัตถุดิบเป็นหลัก
 
10. แฟรนไชส์กาแฟสดชาวดอย เน้น โลเคชั่น เป็นสำคัญ


ภาพจาก bit.ly/2C3IZON
 
แฟรนไชส์กาแฟสดชาวดอยมีคนสนใจเข้ามาขอซื้อแฟรนไชส์เดือนละไม่ต่ำกว่า 20 ราย แต่ส่วนใหญ่ที่อนุมัติได้จริงประมาณ 5-6 ราย ด้วยเรื่องทำเลที่ทางแฟรนไชส์ต้องมองว่ามีความได้เปรียบ เปิดไปแล้วผู้ลงทุนจะไม่เสี่ยง แม้ปัจจุบันทำเลดีจะหาค่อนข้างยากแต่ทางแฟรนไชส์ยังมีการพัฒนาพื้นที่โดยจะเน้นไปยังสถานีบริการน้ำมัน (Non Oil ) ต่างๆ และตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ปีละประมาณ 80 สาขา แต่ส่วนใหญ่ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่สิ่งสำคัญคือทุกสาขาที่เปิดผู้ลงทุนต้องมีกำไรนั่นคือเป้าหมายสูงสุดของแฟรนไชส์กาแฟสดชาวดอย
 
กาแฟสดชาวดอยคืออีกหนึ่งตัวอย่างของการทำธุรกิจที่ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน วิธีการทำธุรกิจของกาแฟสดชาวดอยจึงเป็นกรณีศึกษาให้กับคนที่สนใจจะทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้ศึกษาว่าการลงทุนที่แท้จริงไม่ได้เน้นเรื่องการขยายสาขาเป็นหลักหากแต่ต้องเน้นคุณภาพของธุรกิจที่ผู้ลงทุนต้องสามารถอยู่ได้ จะกลายเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9
 
หากพูดถึงร้านกาแฟ Cafe Amazon เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นแบรนด์กาแฟของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งแต่ก่อนเราจะเห็นเฉพาะในปั้มน้ำมันปตท.เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเปิดร้านนอกปั้มน้ำมันได้แล้ว ปัจจุบันร้านกาแฟ Café Amazon (คาเฟ่ อเมซอน) ได้รับความนิยม แล..
66months ago   16,310  7 นาที
ปกติเวลาเดินหาคาเฟ่นั่งจิบกาแฟแก้วโปรดตามห้างหรือคอมมูนิตี้มอลล์ทั้งหลาย ถ้าไม่ใช่กาแฟแบรนด์ดังจากต่างแดน ก็เป็นแบรนด์กาแฟของไทยที่ตั้งชื่อ และพยายามทำภาพลักษณ์แบบติดกลิ่นนมเนยสไตล์อินเตอร์ ..
65months ago   8,923  6 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,137
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,428
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,894
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,225
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด