บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
26K
2 นาที
17 มีนาคม 2566
ความรู้เบื้องต้น! จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
 

รู้หรือไม่ว่าการทำธุรกิจนอกจากจะต้องจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องแล้ว ผู้ประกอบการยังต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ให้ถูกต้องด้วยเช่นเดียวกัน เพราะมีประโยชน์ทั้งทางธุรกิจและทางกฎหมาย ไม่ว่าจะช่วยสร้างการจดจำให้แก่ลูกค้า ช่วยแยกแยะความแตกต่างของสินค้าและบริการที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด รวมไปถึงช่วยป้องกันผู้อื่นละเมิดสิทธิ์นำตราสินค้าของเราไปใช้ ถ้าถามว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะเริ่มต้นและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลเบื้องต้นมานำเสนอให้ทราบ 

กลยุทธ์การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า  

  • จดเฉพาะสินค้าและบริการในปัจจุบัน ข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • จดให้ครอบคลุมสินค้าและบริการที่มีในปัจจุบัน และที่จะมีในอนาคต ข้อดีคือ เมื่อผลิตสินค้าและบริการใหม่จะไม่ต้องยื่นจดทะเบียนใหม่
  • จดให้ครอบคลุมสินค้าและบริการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้อดีคือ เป็นการป้องกันผู้อื่น แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูง
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
 

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ประกอบด้วย
  1. ผู้ประกอบการตรวจค้นเครื่องหมายการค้า เพื่อตรวจสอบว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นหรือไม่
  2. ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้น
  4. นายทะเบียนตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
  5. การประกาศโฆษณา
  6. การคัดค้าน
  7. การชำระค่าธรรมเนียม และ
  8. กรมทรัพย์สินทางปัญญารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนพอควร 
แม้ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะมี 8 ขั้นตอน แต่หน้าที่หลักๆ ของผู้ประกอบการมีเพียงแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้น หากไม่มีการยื่นคำขออุทธรณ์ (60วัน) กรณีมีผู้คัดค้านหลังประกาศโฆษณาจากนายทะเบียน 
 
1.การสืบค้นและตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
 

หน้าที่หลักๆ ของผู้ประกอบการในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็คือ คือ การจัดเตรียมเอกสารประกอบขอยื่นจดทะเบียน การสืบค้นและตรวจสอบเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนกับของคนอื่นที่จดไปก่อนหรือไม่ ซึ่งในส่วนของการขอตรวจสอบดูทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม หรือสารบบเครื่องหมายดังกล่าว ชั่วโมงละ 200 บาท (เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง) 

หรือถ้าผู้ประกอบการไม่สามารถไปสืบค้นเครื่องหมายการค้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ ก็สามารถตรอจสอบข้อมูลเครื่องหมายการค้าสำหรับประชาชาชน ผ่านทางเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ที่ช่องทาง https://www.ipthailand.go.th/th/trademark-021.html โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 
  • สืบค้นรายการสินค้าและบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย https://tmsearch.ipthailand.go.th/
  • ตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้า https://search.ipthailand.go.th/
  • ตรวจสอบสถานะคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย https://search.ipthailand.go.th/
2. การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
 

ผู้ประกอบการจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ประกอบด้วย

  1. ต้นฉบับคำขอจดทะเบียน แบบ ก. 01
  2. ภาพเครื่องหมายการค้าที่ต้องการจดทะเบียน ขนาดไม่เกิน 5×5 เซนติเมตร ขนาดไฟล์ไม่เกิน 500KB จำนวน 1 รูป (หากเครื่องหมายมีขนาดใหญ่เกินต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเซนติเมตรละ 200 บาท)
  3. บัตรประจำตัวของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
  • บุคคลธรรมดา ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง เซ็นสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
  • นิติบุคคล ใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกไม่เกิน 6 เดือน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ 
  • ในกรณีมอบอำนาจ ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ : 1. สำเนาหนังสือมอบอำนาจ และ 2.สำเนาบัตรประชาชนของตัวแทน เซ็นสำเนาถูกต้อง 


3. การชำระค่าธรรมเนียมรับจดทะเบียน


3.1 คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 
  • สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
  • สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 9,000 บาท
3.2 การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 
  • สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 600 บาท
  • สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 5,400 บาท
3.3 คำขอต่ออายุการจดทะเบียน
  • สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 2,000 บาท
  • สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 18,000 บาท
ธุรกิจเมื่อได้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการอย่างถูกต้อง จะได้รับการคุ้มครองถึง 10 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุทุกๆ 10 ปี โดยการยื่นคำรองต่ออายุภายใน 90 วันก่อนวันหมดอายุ


ภาพจาก https://bit.ly/3lrpieh

ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้พัฒนาบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบบเร่งด่วน (Fast Track) โดยผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บริการเครื่องหมายการค้าแบบเร่งด่วน เพียงคำขอเข้าหลักเกณฑ์ง่ายๆ ได้แก่ 1. ยื่นคำขอผ่านระบบ e-Filing 2. ระบุรายการสินค้าหรือบริการไม่เกิน 1 จำพวก และไม่เกิน 10 รายการ ตามบัญชีจากเว็บไซต์ของกรมฯ https://tmsearch.ipthailand.go.th และ 3. แนบเอกสารแสดงเหตุผลจำเป็นในการนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ จะได้รับการพิจารณาคำขอเครื่องหมายการค้าครั้งแรก ภายใน 4 เดือน
 
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 1368
 
 
หากเจ้าของธุรกิจสนใจจดเครื่องหมายการค้า พร้อมรับคำปรึกษาฟรี โทร. 02-1019187

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล
เจ้าของธุรกิจหลายรายที่อยากทำแฟรนไชส์มักมีความเข้าใจว่า เมื่อทำการจดทะเบียนธุรกิจและชื่อทางการค้าแล้ว จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอีก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งที่แยกแยะสินค้าหรือบริการของเราให้แตกต่างและโดดเด่..
40months ago   2,740  7 นาที
ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีเป้าหมายสร้างธุรกิจให้เติบโต ขยายกิจการ หรือพัฒนาไปสู่ระบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการคิดชื่อ ออกแบบโลโก้จนเป็นที่สะดุดตา น่าจดจำ จนนำไปสู่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะจะได้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของยี่ห้อที่ตัวเองสร้างขึ้นมาได้ อีกทั้งนำไปสู่การสร้างมูล..
60months ago   2,059  5 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด