บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.3K
1 นาที
6 กุมภาพันธ์ 2567
อวสาน “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” หมดยุคเสือนอนกิน 


สมัยก่อนหลายๆ คนอาจจะได้ยินคนพูดกันว่า "ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก" เป็นธุรกิจ "เสือนอนกิน" ลงทุนเพียงครั้งเดียวมีรายได้เข้ามาตลอดชีวิต เป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลายก็ยังได้ แต่มาสมัยนี้ไม่ใช่ "เสือนอนกิน" อีกต่อไป ผู้ประกอบการหอพักต้องตื่นตัว ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าถึงจะอยู่รอดได้ 
 
มาดูเหตุผลกันว่า ทำไม "ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก" นอนกินอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว 
 
 
1. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก ได้รับความนิยมและเติบโตตามความต้องของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ถ้าพื้นที่หรือจังหวัดไหนมีกลุ่มคนอาศัยน้อย เช่น นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท พนักงานโรงงาน พนักงานห้างร้านต่างๆ จะทำให้ธุรกิจห้องเช่าได้รับผลกระทบ ไม่มีคนเช่า ไปไม่รอด 
 
2. ธุรกิจหอพัก มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เข้มงวด กลุ่มลูกค้าเป็นนักเรียน นักศึกษา แยกห้องพักชายหญิง มี พ.ร.บ.หอพักควบคุมชัดเจน ทำให้ผู้ประกอบการไม่อยากทำธุรกิจหอพักมากนัก ส่วนใหญ่ที่พักใกล้สถานศึกษาในปัจจุบันจะเป็น "อพาร์ตเมนต์" มากกว่า 
 

3. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก มีการแข่งขันในตลาดสูง โดยเฉพาะคู่แข่ง "อพาร์ตเมนต์" และ "คอนโดมิเนียม" รวมถึงที่พักรูปแบบอื่นๆ ที่มีความทันสมัย และระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น 
 
4. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการลูกค้า เช่น ร้านค้าใต้ตึก เครื่องซักผ้า ลาดจอดรถที่เพียงพอ ระบบบริการลูกค้า ฟิตเนส สระว่ายน้ำ เป็นต้น

5. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก จะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับความต้องการพักของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เช่น ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ โรงงานจำนวนมาก จะมีห้องเช่าเกิดขึ้นมารองรับ แต่ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โรงงานปิดกิจการ พนักงานกลับบ้าน ก็กระทบต่อธุรกิจห้องเช่าทันที 
 
 
นั่นเป็นเหตุผลที่บ่งบอกให้เรารู้ว่า "ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก" ไม่ใช่ธุรกิจ "เสือนอนกิน" อีกต่อไป ที่จะลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บกินระยะยาว มีรายได้แบบ "Passive Income" ไปตลอดชีวิต เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตื่นตัว ปรับรูปแบบบริการให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ 
 
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก www.thaifranchisecenter.com/seminar/franchise_course.php 
 
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้า, สัญญาแฟรนไชส์, โปรโมทแฟรนไชส์ คลิก www.thaifranchisecenter.com/franchiselaws
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,672
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
888
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
559
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด