บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.4K
2 นาที
7 ธันวาคม 2559
5 ข้อเพื่อ SMEs ไทยสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ

 
เรื่องของการลงทุนทำธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญบางครั้งมากกว่าการเลือกจะเป็นลูกน้องตามบริษัทใหญ่ๆ

หลายคนแม้ไม่มีประสบการณ์แต่ก็อยากเริ่มต้นธุรกิจที่เป็นของตัวเองโดยหวังว่าในอนาคตจะประสบความสำเร็จในเวทีแห่งการลงทุนนี้
 
อย่างไรก็ดีมีผู้รู้ในแวดวงธุรกิจหลายท่านได้ให้ข้อคิดสะกิดเตือนใจไว้ว่า การทำธุรกิจใดๆก็ตามต้องเกิดจากความพร้อม ความชอบ ไม่ใช่การทำตามอย่างเพราะการลงทุนไม่ใช่เรื่องของแฟชั่น

www.ThaiFranchiseCenter.com จึงรวบรวมเอา 5ข้อต่อไปนี้มาเป็นบรรทัดฐานประกอบการตัดสินใจหากใครไม่แน่ใจหรือยังไม่พร้อมขอให้พักความคิดเรื่องการลงทุนไปก่อนจนถึงวันหนึ่งที่มั่นใจหรือมีประสบการณ์และความพร้อมที่แท้จริงจะถือเป็นการนับหนึ่งที่มั่นคงได้มากกว่า
 
Daniel Levine คือกูรูผู้เชี่ยวชาญในด้านการพูดเชิงธุรกิจโดย Daniel เดินทางไปพูดถึงทิศทางและแนวโน้มการทำธุรกิจในหลายๆประเทศตามคำเชิญชวนรวมทั้งตัวของ Daniel เองก็ยังเป็นผู้อำนวยการของ Avant Guide สถาบันที่ให้คำปรึกษาทางธุรกิจต่างๆ

รวมถึงเป็นบรรณาธิการของ WikiTrend นิตยสารสำหรับคนทำธุรกิจที่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากและกับมุมมองเรื่องการลงทุนในธุรกิจ SMEs  นั้น Daniel ให้ทรรศนะไว้อย่างน่าสนใจ 5 ประการด้วยกันคือ
 
1. ต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญในสิ่งที่ทำ 
 
Daniel อธิบายว่าการทำธุรกิจไม่ใช่ทำเพราะคนอื่นบอกให้ทำ หากธุรกิจมีจุดเริ่มจากตรงนั้นถือเป็นหายนะสำคัญที่ใครๆก็คาดเดาได้แน่นอน ยกตัวอย่างเช่นรถ Volkvagen ที่รัฐบาลออกกฎหมายให้กิจการออกแบบและผลิตรถรักษ์ธรรมชาติ Volkvagen

จึงทุ่มทุนทดสอบรถที่ติดตั้งมาตรวัดการปล่อยของเสียจากรถนั้นเพียงแค่ให้ผ่านกฎหมายแต่เมื่อคนมาลองขับรถ Volkvagen แล้วพบว่ารถก็ยังมีสภาพไม่ได้ต่างจากรถปรกติธรรมดา

ทำให้รถ Volkvagen ขาดความน่าเชื่อถือในเรื่องนี้ด้วยฉะนั้นการตามเทรนด์ไหนก็ตาม ต้องมั่นใจว่าเราเข้าใจเทรนด์นั้นจริงๆ เห็นความสำคัญของเทรนด์นั้น ไม่ใช่ทำตามเทรนด์เพราะมีคนบอกให้เราทำ หรือคนอื่นพูดถึงเทรนด์นั้น
 
2. คนทำธุรกิจต้องรู้จักใช้หัวคิดสร้างสรรค์แก้ปัญหา

เพียงแค่การรู้จักเทรนด์ทางการตลาดและจับมาทำธุรกิจนั้น Daniel บอกว่ายังไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดของการทำธุรกิจ สิ่งสำคัญของผู้ลงทุนคือต้องรู้จักหาทางใช้ทักษะและความสามารถของกิจการตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคที่เป็นเทรนด์ด้วย และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น Daniel

ยกตัวอย่างของดิสโก้เทคของฮอลแลนด์อย่าง Club What ที่แม้เป็นธุรกิจแสงสีเสียงแต่ก็ใส่ใจในเรื่องรักษ์โลกด้วยและสิ่งที่เจ้าของแก้ปัญหาเพื่อให้ทั้งสองอย่างดำเนินไปด้วยกันได้คือ การทำพื้นเต้นติดสปริงปั๊มชาร์ตแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถนำไฟที่เก็บเหล่านั้นมาใช้ในร้านถือเป็นการแก้ปัญหาที่ทำให้ลูกค้าร้องว้าว! และอยากเข้ามาใช้บริการของเรามากขึ้นด้วย
 
3.รู้จักการสร้างธุรกิจที่มีสไตล์ไม่ซ้ำใคร
 
จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคก็อยากได้ของที่ทำเพื่อตัวเอง และบริการที่ออกแบบเพื่อตัวเองโดยเฉพาะ ดังนั้นกิจการทั้งหลายต้องงัดเทคนิคและแนวคิดที่ทำให้ผู้บริโภค แต่ละคน รู้สึกพิเศษขึ้นมาเมื่อใช้สินค้าหรือว่าบริการที่เราลงทุนไป

ยุคนี้ถือเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคแทบทุกคนควาดหวังในคุณภาพและความเร็วของสินค้า ฉะนั้นกิจการจึงไม่สามารถปฏิบัติกับผู้บริโภคแต่ละรายด้วยมาตรฐานอย่างเดียวกันได้อีกต่อไป

ยกตัวอย่างเช่น Nike ผู้ผลิตและออกแบบรองเท้าชั้นนำของโลกได้เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถออกแบบรองเท้าที่เหมาะกับแต่ละคนได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ วิธีสวมใส่ สี ไม่เว้นแต่พื้นรองเท้า และสั่งซื้อได้เลยอีกด้วย
 
4.ธุรกิจที่ดีต้อง เชื่อมต่อ ผู้คนเข้าด้วยกัน

เมื่อเราทุกคนเข้าสู่ยุคสื่อสังคมออนไลน์นั้นหมายความว่าผู้คนทั้งหลายจะสามารถเชื่อมต่อพูดคุยและแบ่งปันเนื้อหาต่างๆ กันได้อย่างไม่จำกัด

ในเมื่อธุรกิจไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีเหล่านี้แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าการเชื่อมต่อธุรกิจกับผู้คนจำนวนมากจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเสมอไป
ยกตัวอย่างร้านกาแฟแห่งหนึ่งที่เมืองแมนฮัตตัน นิวยอร์ค จะมีผู้คนเข้ามาดื่มกาแฟตอนเช้า

ซึ่งร้านนี้ก็มีพนักงานที่คอยบริการและพูดคุยกับลูกค้าที่เข้ามาในร้านแต่ที่น่าสนใจคือ พนักงานบริการสร้างความสนิทสนมกับลูกค้าแล้วถามถึงนิสัยใจคอความชอบของลูกค้าอยู่เสมอ
พนักงานบริการก็จะเก็บประวัติไว้ เพื่อจับคู่ที่เหมาะสม และแนะนำให้รู้จักกันในร้านต่อไป ถือเป็นการเชื่อมต่อความรู้สึกอีกแบบระหว่างธุรกิจกับลูกค้าที่สร้างความประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการอีก

5.ธุรกิจที่ดีต้องตอบสนองความรู้สึกผู้บริโภคว่าใช้แล้วทำให้ชีวิตดีขึ้นได้

ปัจจุบันผู้บริโภคนับวันก็สนใจตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปเซลฟี่ ไปจนกระทั่งตรวจวัดสุขภาพของตัวเองผ่านสมาร์ทดีไวซ์อย่างอัตราการเต้นของหัวใจ และแคลลอรี่ที่ตัวเอง

ไม่เว้นแต่การวินิจฉัยโรคก่อนที่จะไปพบหมอ ดังนั้นธุรกิจที่ดี Daniel บอกว่า “กิจการต้องรีบปรับตัว ออกสินค้าและบริการที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ “ตัวเอง” ได้มากขึ้น รู้สึกว่าตัวเองฉลาดขึ้น และพึ่งพาคนอื่นได้น้อยลงด้วย”
 
แง่มุมของการทำธุรกิจที่แท้จริงจึงไม่ได้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หรือว่าไอเดียดีๆเท่านั้น การทำธุรกิจในรูปแบบที่ตัวเองรู้อาจไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดในยุคสมัยนี้ดังนั้นก่อนเริ่มธุรกิจที่เราคิดว่ามั่นใจควรถอยห่างจากจุดที่เราคิดและออกมามองภาพรวมที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร อาจทำให้เราพบเส้นทางที่ดีกว่าและการพัฒนาธุรกิจก็จะทำได้ถูกทาง โอกาสของกำไรก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
438
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด