บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
7.2K
2 นาที
8 พฤษภาคม 2560
อยากเปิดร้านกาแฟ แบบไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์ ทำไงดี!

 
เทรนด์เครื่องดื่มประเภทกาแฟยังเป็นการลงทุนที่หลายคนสนใจและปัจจุบันก็มีแฟรนไชส์มากมายที่เปิดให้เราเลือกลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ได้ไม่ยากแต่ก็มีอีกหลายคนเช่นกันที่ไม่อยากทำตามใครอยากมีแบรนด์ร้านกาแฟเป็นของตัวเองซึ่งการลงทุนเองนั้นก็มีข้อดีข้อเสียในตัวเองแต่เมื่อเราเลือกที่จะเปิดร้านกาแฟด้วยตัวเองแล้วก็ควรรู้หลักวิธีการว่าควรเริ่มแบบไหนทำอย่างไรให้ร้านกาแฟในแบบของเราดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com มีวิธีการเริ่มต้นสร้างร้านกาแฟด้วยมือของคุณเองมาฝากกัน 
 
อันดับแรกนั้นเราต้องเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเราก่อนโดยถ้าดูจากท้องตลาดทั่วไปการลงทุนในร้านกาแฟจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ
 
1. Stand - Alone เป็นอาคารอิสระหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ประมาณ 50 ต.ร.ม. ขึ้นไป ร้าน Stand - Alone อาจตั้งอยู่ตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือพลาซ่าใหญ่ๆ
 
2. Corner หรือ Kioskร้านกาแฟขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ต.ร.ม.ขึ้นไป ลักษณะเป็นมุมกาแฟภายในอาคาร ศูนย์การค้า หรือพลาซ่า ร้านกาแฟประเภทนี้อาจจัดให้มีที่นั่ง จำนวนเล็กน้อย
 
3. Cart ร้านกาแฟขนาดเล็กประเภทรถเข็น ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ต.ร.ม. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หาทำเลที่ตั้งได้ง่าย ทำให้เข้าถึงตลาดได้ทุกระดับ
 
 
จากนั้นมาดูเรื่องงบประมาณการลงทุนในแบบรถเข็นหรือคีออสนั้นเราสามารถลงทุนได้ง่าย ถ้าไม่สนใจแฟรนไชส์ก็หาอุปกรณ์การขายเอง ออกแบบรถเข็นหรือคีออสกันเอง ดีไซน์ตามชอบใจแต่งบประมาณเบื้องต้นก็อยู่ในหลักหมื่นเป็นอย่างน้อย จะมีที่ต้องลงทุนมากหน่อยคือแบบ Stand Alone ที่จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 300,000 ถึง 1,500,000 บาท

ซึ่งโครงสร้างต้นทุนของร้านกาแฟรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 90% ได้แก่ ค่าก่อสร้างออกแบบและตกแต่งสถานที่ ค่าวางระบบต่างๆ (ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ระบบเก็บเงิน) ค่าอุปกรณ์ รวมถึงต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 10% ได้แก่ ค่าวัตถุดิบสินค้า ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นต้น
 
เมื่อไม่ซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องทำตลาดด้วยตัวเอง

 
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์ประการหนึ่งคือภาพลักษณ์การตลาดที่หลายแบรนด์บุกเบิกไว้ให้เรียบร้อยคนรู้จักกันดีว่ารสชาติเป็นอย่างไร มีเมนูไหนน่าสนใจ แต่ถ้าเราเลือกทำร้านกาแฟโดยไม่ง้อแฟรนไชส์เรื่องการตลาดเหล่านี้เราต้องลุยเองเท่านั้น โดยการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าจดจำหมายถึงเวลาลูกค้านึกถึงกาแฟจะต้องนึกถึงแบรนด์ของเราเป็นอันดับแรก
 
โดยมีทริควิธีการตั้งชื่อร้านง่ายๆ คือ ชื่อร้าน การตั้งชื่อร้านที่ดี นั้นคือต้องง่ายต่อการจดจำ การสร้างเรื่องราว ให้คนสนใจและจดจำ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ต้องพิจารณาว่าตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่า และ ตัวอักษรโลโก้ ตราสินค้า จะใช้ตัวอักษรแบบไหนที่ลูกค้าเห็นและจำได้ทัน โดยหลักการถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่จะจดจำง่ายกว่าตัวพิมพ์เล็ก และที่สำคัญคือเรื่องของสี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกาแฟก็จะนึกถึงสีน้ำตาล น้ำตาลอ่อนและน้ำตาลเข้ม เป็นต้น
 
การเลือกชนิดของกาแฟก็สำคัญมาก


 
แฟรนไชส์กาแฟที่เราเห็นกันส่วนมากจะมีการคัดสรรกาแฟที่ดีที่สุดมาเป็นวัตถุดิบสำคัญนั้นเท่ากับว่าผู้ลงทุนประหยัดเวลาในเรื่องวัตถุดิบเหล่านี้ได้มากแต่ถ้าเราคิดจะดำเนินการเอง การซื้อเมล็ดกาแฟที่ดีก็ควรจะต้องดู วันเดือนปีผลิตและวันหมดอายุ ปกติกาแฟเมื่อเก็บในถุงฟอยด์ ที่วางขายจะมีอายุในช่วง สูงสุด 6 - 12 เดือน ขึ้นกับชนิดของถุงที่บรรจุ เพราะคุณภาพจะลดลงตามการเวลา โดย กาแฟจะหอมที่สุดเมื่อคั่วได้ 5 วัน และจะค่อยลดระดับลงเรื่อยๆ เวลาเลือกซื้อ อย่าลืม ดูถุงที่ใหม่ ได้กาแฟหอมกรุ่นกว่า
 
และควรเลือกถุงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 200-250 กรัม และควรใช้ให้หมดใน 1 สัปดาห์เมื่อเปิดถุงแล้วถุงกาแฟที่ระบุว่า Single Origin พร้อมชื่อเมืองต่างๆ แสดงว่าเป็นอราบิก้าของที่นั้น มีเทคนิคการคั่วที่ดี และเป็นรสชาติพิเศษของที่นั้น เช่น Omkoi Estate หากข้างซองระบุว่า Espresso คือเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วใน ระดับเข้ม หรือ Dark Roast

ส่วนซองที่ระบุว่า Medium Roast คือ เมล็ดกาแฟที่คั่วระดับกลาง ดื่มได้เรื่อยๆ เหมาะสำหรับเสิร์ฟในสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าผู้ดื่มชอบรสแบบไหนควรซื้อกาแฟในซองระบายอากาศ Freshness wolves เพราะว่าเมล็ดกาแฟจะคายอากาศและความชื้นตลอดเวลา

หากการระบายอากาศไม่ได้จะเสียคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น และมีผลให้กาแฟมีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์เก็บเมล็ดกาแฟให้พ้นแสงแดดการเก็บควรที่จะเก็บในขวดสุญญากาศ อย่าเก็บเม็ดในตู้เย็นเพราะว่าเมื่อออกจากตู้เจออากาศร้อนเมล็ดกาแฟจะชื้น ทำให้ติดกับเครื่องบดและมีกลิ่นจากตู้เย็นมาติดด้วย
 
การเลือกซื้ออุปกรณ์เข้าร้านกาแฟ

 
หลายต่อหลายคนหมดค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อเครื่องชงกาแฟหลายแสน เปิดได้สักปีก็ปิดกิจการขายเครื่องคืนเหลือไม่กี่บาท หรือขายไม่ได้ การเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟและอุปกรณ์กาแฟนั้นเป็นสิ่งถูกต้องที่สุดว่า เครื่องชงราคาแพงจะได้คุณภาพน้ำกาแฟที่ดีด้วย แต่ถ้าซื้อเครื่องขนาดสองแสนกว่าบาทมาชงขายแก้วละ 20 - 35 บาท ปกติราคานี้หักค่าวัตถุดิบ ไม่รวมค่าเช่า ค่าพนักงาน จะมีกำไรประมาณ 10 กว่าบาท เอาไปหารค่าเครื่องเอาว่าเมื่อไหร่จะคืนทุน

ดังนั้นวิธีการเลือกเครื่องชงกาแฟที่ดีที่สุดเลือกให้เหมาะกับขนาดธุรกิจและกลุ่มลูกค้า เช่น ถ้าจะขายสัก 30 - 35 บาท ก็เครื่องชงสัก 5 หมื่นก็ได้ ถ้าจะขายสัก 40 - 50 บาทขึ้นไปก็สามารถใช้เครื่องเป็นแสนได้เลย เพราะอย่างน้อยคุณคงมีเงินค่าแต่งร้านอีกหลายแสนอยู่
 
วิธีการบริหารร้านเบื้องต้นสำหรับมือใหม่หัดขาย

 
ทั้งนี้ ขอกล่าวในลักษณะที่ เจ้าของบริหารเอง หากเป็นเจ้าของจ้างคนอื่นมาบริหารหรือจ้างผู้จัดการร้าน และไม่เอาใจใส่ บอกได้เลย เตรียมตัวให้ดีกับปัญหาที่ตามมา นอกจากนี้เจ้าของร้านเองจะต้องมีความสุขกับการค้าขาย มีความมุ่งมั่นเป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่งใหญ่ในการที่จะทำธุรกิจ มีความพร้อมและความอดทนที่จะเป็นนายคนอื่น มีทุนทรัพย์ (เงินลงทุน) ที่เพียงพอต่อการทำธุรกิจ รวมถึงต้องศึกษาและก้าวตามทิศทางของตลาดปรับปรุงร้านให้น่าสนใจอยู่เสมอๆ รวมถึงรู้จักใช้สื่อโซเชี่ยลให้เกิดประโยชน์ก็จะช่วยทำให้ร้านกาแฟมือใหม่ของเราติดตลาดได้ในเวลาอันรวดเร็วมากขึ้น
 
ในเบื้องต้นกับแนวคิดเปิดร้านกาแฟด้วยตัวเองนั้นให้สำรวจตัวเองให้แน่ใจว่ามีความพร้อมมากพอและมีเงินทุนที่ต่อเนื่อง รวมถึงการหาทำเลที่ดีได้เอามาประกอบกันจากนั้นก็ดูเรื่องเมนูที่ควรมีในร้านกาแฟและเมื่อกิจการเริ่มขยายตัวได้ดีเราอาจกลายเป็นแบรนด์กาแฟที่มองหาระบบแฟรนไชส์เพื่อช่วยในการขยายฐานการลงทุนให้เราเติบโตได้เร็วขึ้นด้วย
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
790
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
708
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
520
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
431
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด