บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
6.6K
3 นาที
18 เมษายน 2561
เทคนิคเปิดร้านชาราคาเดียว (แบบไม่ซื้อแฟรนไชส์)
 
 
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หากคิดถึงการลงทุนจะมองที่ระบบแฟรนไชส์เพราะมีข้อดีที่ทำให้ประหยัดเวลาไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์เอง มีวัตถุดิบให้พร้อม มีแนะนำการขาย การบริหารจัดการร้าน รวมถึงมีการส่งเสริมการตลาด

แต่อย่างไรก็ตามหลายคนก็มองว่าการซื้อแฟรนไชส์บางทีเป็นข้อผูกมัดที่มากเกินไป รวมถึงบางคนไม่อยากที่จะเสียส่วนแบ่งจากยอดขาย ไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมรายปี  ด้วยเหตุนี้คนอีกส่วนหนึ่งจึงคิดว่าหากจะมีร้านค้าก็ขอลงทุนเองจะดีกว่า
 
ทั้งนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ให้ความสำคัญกับความคิดของทุกคนที่ล้วนแต่มีเหตุและผลเป็นของตนเอง ซึ่งทั้งการลงทุนกับแฟรนไชส์หรือการลงทุนด้วยเงินตัวเองต่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัวด้วยกันทั้งนั้น

เราลองมายกเคสตัวอย่างว่าหากเราคิดจะเปิดร้านเครื่องดื่มประเภทชาราคาเดียวที่ตอนนี้มีแฟรนไชส์มากมายให้เลือกแต่หากเราคิดลงทุนเองจะต้องมีวิธีการเริ่มต้นอย่างไรบ้าง

 
 
เริ่มจากมาดูค่าแฟรนไชส์ของร้านเครื่องดื่มประเภทชาในปัจจุบันที่มีหลายแบรนด์ราคาแตกต่างกันไป อย่างกัตโตะชา ราคาแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 29,900 บาท , ชาบูลัน  49,900 บาท , ชาไข่มุกไอ-ฉะ 39,000 บาท เป็นต้น

ซึ่งราคาแฟรนไชส์นี้จะเป็นการรวมอุปกรณ์ตามแพคเกจและวัตถุดิบ พร้อมการสอนเทคนิคการเปิดร้าน การส่งเสริมการตลาด ซึ่งรายละเอียดของแต่ละแฟรนไชส์ว่าผู้ลงทุนต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนไหนเพิ่มเติมบ้างก็เป็นรายละเอียดในสัญญาที่แตกต่างกันไป

เหตุผลที่คนมองว่ายอมจ่ายเงินซื้อแฟรนไชส์ดีกว่านอกจากไม่ต้องมายุ่งยากกับเรื่องอุปกรณ์วัตถุดิบ ยังเป็นเรื่องของรสชาติที่ไม่ต้องมาลองผิดลองถูกทำเองเพราะแต่ละแฟรนไชส์จะมีสูตรเฉพาะของตัวเองไว้ให้ผู้ลงทุนทำตามได้เลยทันที
 
แต่หากเราตัดสินใจว่าไม่เอาแน่กับแฟรนไชส์ลองมาดูกันว่าลงทุนเองจะต้องใช้เงินประมาณไหนและจะต้องทำอะไรบ้าง

1.หาทำเล

 

อันที่จริงซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องหาทำเลเองเหมือนกัน และตรงนี้ก็เป็นรายจ่ายที่คำนวณได้ยากขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกทำเลแบบไหน ค่าเช่าแพงแค่ไหน แต่หากจะลงทุนเปิดร้านเองแนะนำว่าควรหาทำเลที่คนพลุกพล่านจะดีที่สุด
 
2.คิดรูปแบบของร้าน
 

จุดเด่นของการซื้อแฟรนไชส์คือ ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์ คีออส ก็จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง รู้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ไหน แต่หากจะสร้างแบรนด์เองแนะนำว่าใช้แบบเคาน์เตอร์จะเริ่มต้นได้ง่ายกว่าและถ้าไม่รู้จะหาเคาน์เตอร์เหล่านี้ได้ที่ไหนลองไปติดต่อสอบถามจากร้านเฟอร์นิเจอร์หรือหาข้อมูลจากแฟรนไชส์ว่ามีร้านไหนที่รับทำซึ่งส่วนใหญ่ราคาของเคาน์เตอร์ก็แตกต่างตามขนาดเริ่มตั้งแต่ 8,000-25,000 ตามแบบที่เราสั่งทำ
 
3.การตกแต่งร้าน
 

จะปล่อยให้ร้านโล่งก็ไม่ดึงดูดลูกค้าดังนั้นต้องมีการตกแต่ง อุปกรณ์เสริมที่ควรใส่เพิ่มเข้าไปเช่น ป้ายชื่อร้าน  ป้ายบอกราคา ซึ่งราคาป้ายไวนิลเหล่านี้เฉลี่ยประมาณตารางเมตรละ 150 บาท ต่อมาคือเรื่องโต๊ะเก้าอี้ ที่ควรมีติดไว้ในร้านสัก 2-3 ชุด ส่วนใหญ่ราคาชุดละประมาณ  2,500 บาท ซึ่งเราก็ควรเลือกใช้โต๊ะที่ดีและมีความแข็งแรงด้วย
 
4.อุปกรณ์ในการเปิดร้าน
 

เปิดร้านชาอุปกรณ์ที่สำคัญก็เช่น ถังต้มน้ำร้อน ขนาดประมาณ 6.8 ลิตร ที่ควรมี 3 ใบ ไว้สำหรับพักน้ำชา 2 ใบและต้มน้ำร้อน 1 ใบ ราคาใบละประมาณ 2,500 บาท กระติกน้ำร้อน สำหรับใช้ในการละลายวัตถุดิบบางอย่าง ราคาประมาณ 800 บาท เครื่องตีฟองนมไฟฟ้า ที่ควรมี 2 ตัวไว้สำรอง ราคามีตั้งแต่ 900-1,200 บาท แก้วสแตนเลสสำหรับชง ประมาณ 5 ใบ แก้วตวง 6 ออนซ์ (แบบมีสเกล) ประมาณ 4 ใบ
 
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอื่นๆอีกหลายรายการ เช่น เหยือกชักชา, กระปุกใส่วัตถุดิบ , ที่เปิดกระป๋องนม , ลังใส่น้ำแข็ง , แก้ว 22 ออนซ์ , ถุงหิ้ว ,  หลอดงอ , ฝาปิดแก้ว ฯลฯ เบ็ดเสร็จเฉพาะเรื่องอุปกรณ์ทั้งหมดที่ควรมีใช้งบลงทุนประมาณ 15,000-20,000 บาท

5.วัตถุดิบ

 

มีทั้งวัตถุดิบทั่วไปหาซื้อได้ในห้างสรรพสินค้าเช่น ผงโกโก้  โอวัลติน  เนสกาแฟ  น้ำตาลทราย  เกลือผง  โซดา  มะนาว  นมสด น้ำหวานเฮลบลูบอย  และส่วนที่เป็นวัตถุดิบสำคัญก็คือ “ใบชา”  ที่ต้องมีทั้งชาแดง สำหรับทำชาเย็น และชาเขียว การเลือกซื้อใบชา เราต้องศึกษาจากร้านที่มีคุณภาพ ชงแล้วมีรสชาติดี ที่สำคัญเรื่องราคาต้องอย่าให้แพงเกินไปเพราะหมายถึงต้นทุนของเราด้วย

6.คิดสูตรเมนูที่จะทำขาย

 

เมนูหลักๆที่ควรมีทั้งชาเย็น ,ชามะนาว , ชาเขียว, กาแฟเย็น , โกโก้ , แดงมะนาวโซดา , นมสด , นมเย็น , โอเลี้ยง ฯลฯ เบ็ดเสร็จคิดมาประมาณ 20 เมนูเป็นอย่างน้อยให้ลูกค้ามีทางเลือก จากนั้นก่อนที่จะขายอย่างเป็นทางการได้เมนูเหล่านี้ก็ต้องมีสูตรเฉพาะตายตัว ที่ชงแต่ละครั้งได้รสชาติที่เหมือนกัน ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ลูกค้าติดใจร้านเราได้ด้วย

7.คำนวณต้นทุนราคาขาย

 

เมื่อเรารวมต้นทุนตั้งแต่ต้นว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้างและควรกำหนดราคาขายเท่าไหร่ให้สอดคล้องกัน กลยุทธ์การตลาดคือกำหนดราคาเดียวที่ 25 บาท หากต้นทุนเราไม่แพงมากเฉลี่ยต่อแก้วจะมีต้นทุนประมาณ 13-15 บาท 
 
โดยสรุปแล้วงบประมาณในการลงทุนเปิดร้านเองโดยไม่พึ่งแฟรนไชส์หากรวมเอาต้นทุนทุกอย่างมารวมกัน ใช้เงินประมาณ 40,000 บาท (ไม่รวมค่าเช่า)  ทีนี้เราก็ต้องตัดสินใจเอาเองว่าคุ้มค่าและเหมาะสมแค่ไหน

ข้อดีของการลงทุนเองคือไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติมนอกจากค่าวัตถุดิบที่ต้องซื้อเอง ไม่มีส่วนแบ่งจากยอดขาย (แต่บางแฟรนไชส์ก็ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้) ก็ต้องมาชั่งใจอีกว่าเราจะยอมรับได้ไหมที่ต้องมาเสียเวลาคิดสูตรการชง ทำตลาด และลองผิดลองถูกกับการบริหารจัดการ หรือจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่มีทุกอย่างให้พร้อมและต่อยอดเริ่มทำธุรกิจได้เลย เลือกเอาที่ใจชอบและเริ่มลงมือทำตามที่เห็นสมควรกันเลย

ไม่อยากยุ่งยาก! เลือกลงทุนร้านชาราคาเดียวก็ง่ายดี
 

 
และหากว่าใครอยากมีร้านชาแต่เบื่อกับความวุ่นวายในการจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ และอาจจะเพราะด้อยประสบการณ์ไม่มีความรู้มากพอ การมีที่ปรึกษาอย่างแฟรนไชส์ต่างๆ จะช่วยประคับประคองให้เราเปิดร้านได้ง่าย และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
 
 
 



ซึ่งแต่ละแฟรนไชส์ก็มีจุดเด่นมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป แพคเกจลงทุนก็มีให้เลือกตามความเหมาะสมที่สำคัญเป็นแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงมีฐานลูกค้าของตัวเอง การลงทุนร่วมกับแฟรนไชส์เหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
 

SMEs Tips
  1. ศึกษาวิธีการเปิดร้านจากคนที่มีประสบการณ์
  2. เริ่มหาทำเล หาอุปกรณ์การขาย  
  3. คิดสูตรและเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน
  4. วางวิธีการบริหารจัดการร้าน ควบคุมต้นทุน
  5. รู้จักการทำตลาดเพื่อโฆษณาร้าน
  6. ตัดสินใจให้ดีว่าลงทุนเองจะดีกว่าซื้อแฟรนไชส์หรือไม่
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่  goo.gl/Io5k2S
 
 มารุชา
แฟรนไชส์ Maru Cha ชานมไข่มุก 19 มาแรงแห่งยุค! ขายง่าย คืนทุนเร็ว กำไรต่อแก้ว 59%ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปีไม่หักเปอร์เซ็นต์ยอดขายสอน...
ค่าแฟรนไชส์ 39,000 บาท
 ชาไข่มุก ไอ-ฉะ
แฟรนไชส์ชานม i-cha (ไอ-ฉะ) เป็นชานมไข่มุกสูตรใต้หวัน และทาง i-cha ได้ปรังปรุงสูตรให้เข้าคอคนไทย ทำไห้ได้รสชาติชาที่หอมนุ่ม หวานมัน...
ค่าแฟรนไชส์ 39,000 บาท
ร้านสินค้าราคาเดียว ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจนี้ถือว่าเติบโตมาก สินค้าราคาเดียวก็เริ่มต้นกันตั้งแต่ 10 บาท, 20 บาท, 60 บาท, 69 บาท ทำเลนอกห้างสรรพสินค้าก็มีหลายแบรนด์เปิดอยู่แทบจะทุกซอกทุกมุม หรือบางแบรนด์ก็เจาะทำเลในห้าง เฉลี่ย 1 ห้าง มีร้านประเภทนี้ราว 2-4 แบรนด์ บางแห่งมี 7-8 แ..
54months ago   4,206  8 นาที
กาแฟเป็น 1 ใน 3 เครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยม (อีก 2 ประเภทคือ น้ำเปล่า และ ชา) ถึงขนาดที่จัดตั้งให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันกาแฟสากล” นับเฉพาะในประเทศไทยความนิยมในการดื่มกาแฟประมาณปีละ 300 แก้ว/คน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อทิศทางการลงทุนนั้นสดใสก่อให้เกิด..
53months ago   4,397  10 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
718
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
497
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด