บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.8K
3 นาที
3 พฤษภาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! เดอะพิซซ่า คอมปานี
 

พิซซ่าถือเป็นอาหารคลาสสิคที่ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยให้ความนิยมสูงมาก อาจจะด้วยการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาก่อให้เกิดความนิยมถึงขนาดที่ตลาดพิซซ่าเมืองไทยต้องมีการแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับ 2 แบรนด์ใหญ่อย่าง Pizza Hut และ The Pizza Company
 
แน่นอนว่าทั้ง 2 แบรนด์เราคุ้นเคยกันดีแต่ดูเหมือนว่า The Pizza Company จะเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาเรามากกว่าในขณะที่ชื่อของ Pizza Hut อาจจะอยู่ในความทรงจำของเรามากกว่าเช่นกัน ซึ่งเส้นทางของ 2 แบรนด์ใหญ่นี้มีที่มาเชิงธุรกิจที่น่าสนใจพอดู

โดยเฉพาะฝั่งของ The Pizza Company ที่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเป็นแบรนด์มาทีหลังแต่ตอนนี้กลายเป็นเบอร์หนึ่งของเมืองไทยแต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่คุณเองก็ยังไม่เคยรู้เกี่ยวกับ The Pizza Company
 
1.เริ่มต้นจาก Pizza Hut สู่ The Pizza Company


มร.วิลเลียม อี ไฮเน็ค
ภาพจาก bit.ly/2GZzV0Q
 
ใช้คำว่าจาก “มิตรกลายเป็นคู่แข่ง” ได้เต็มปากเต็มคำ ย้อนไปประมาณ 37 ปีก่อน “มร.วิลเลียม อี ไฮเน็ค” นักธุรกิจเชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติไทย ผู้ก่อตั้งอาณาจักร “กลุ่มบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” (Minor International) ได้สิทธิ์มาสเตอร์ แฟรนไชส์แบรนด์ “Pizza Hut” ในประเทศไทยจาก “Tricon Global Restaurants” ผลปรากฏว่า “Pizza Hut” ได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคชาวไทย ทำให้กลุ่มไมเนอร์ เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง
 
แต่แล้วจากธุรกิจที่โตวันโตคืน มีอนาคตสดใส กลับต้องสะดุดลงครั้งใหญ่! เมื่อ “Tricon Global Restaurants” ต้องการเอาแบรนด์ “Pizza Hut” กลับไปทำเอง โดยจุดชนวนสายสัมพันธ์ร้าวเกิดขึ้นในปี 2542 เมื่อ “Tricon Global Restaurants” ประกาศชัดเจนว่าจะดำเนินธุรกิจและขยายกิจการ Pizza Hut ในไทยด้วยตนเอง ก่อนที่สัญญามาสเตอร์ แฟรนไชส์ที่ให้กับ “กลุ่มไมเนอร์” จะสิ้นสุดลงในปี 2543
 
เหตุการณ์ดังกล่าวได้ปิดฉากสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน พร้อมๆ กับเป็นปฐมบทเริ่มต้นสงครามการแข่งขันระหว่างสองเชนร้านพิซซ่ารายใหญ่ในไทย ระหว่าง Pizza Hut ของ Yum! Brands Inc. (เปลี่ยนชื่อมาจาก Tricon Global Restaurants) และ The Pizza Company ของฝั่ง Minor
 
2.The Pizza Company เปิดตัวครั้งแรกในปี 2544


ภาพจาก bit.ly/2vz4Z0Z
 
หลังจากแยกทางเดินกับ Pizza Hut ฝั่ง Minor ตัดสินใจเปิดแบรนด์ร้านพิซซ่าของตัวเองในนาม  The Pizza Company ในปี 2544 เรียกว่าเป็นการปลดป้ายเก่าของ Pizza Hut ออกและขึ้นป้ายใหม่เพราะผลการตัดสินจากการฟ้องร้องนั้น

สรุปว่าสาขาที่มีในขณะนั้นประมาณ 80 สาขาจากการบริหารร่วมกันเป็นทรัพย์สินของทาง Minor ส่งผลให้ Pizza Hut ต้องไปเริ่มสร้างสาขาแรกของตัวเองเช่นกัน
 
3.สร้างกระแสเปิดตัวด้วย คาราวานพิซซ่ากว่า 1,000 คัน
 
หนึ่งในกลยุทธ์เพื่อเปิดตัวแบรนด์ The Pizza Company ให้คนรู้จักและจดจำอย่างรวดเร็ว นอกจากการแถลงข่าวและงานเปิดตัวภายในองค์กรอย่างยิ่งใหญ่ มร.วิลเลียม อี. ไฮเนคกี้ และทีมผู้บริหาร ยังได้ปล่อยตัวคาราวานพนักงานส่งพิซซ่ากว่า 1,000 คัน ขี่วนรอบย่านสยามสแควร์ บริเวณแยกปทุมวัน ไปจนถึงถนนพระราม 1 เพื่อสร้างกระแส Talk of the town ถึงการเริ่มต้นพิซซ่าแบรนด์ใหม่
 
4.ผู้บุกเบิกแคมเปญ “ซื้อ 1 แถม 1”


ภาพจาก bit.ly/2GXmTRk
 
เราจะเห็นว่าร้านพิซซ่าปัจจุบันมีแคมเปญ ซื้อ 1 แถม 1 แทบจะทุกที่ แต่ถ้าพูดถึงผู้บุกเบิกแคมเปญนี้ต้องยกให้ The Pizza Company ซึ่งจะจัด ขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม กระทั่งทุกวันนี้กลายเป็น Signature Campaign ที่อยู่คู่กับแบรนด์ The Pizza Company และเป็นกลยุทธ์สร้างการเติบโตให้กับยอดขาย
 
อีกทั้งเป็นการสร้างเกมการแข่งขันใหม่ในตลาดพิซซ่าเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ที่ทำให้คู่แข่งในธุรกิจเดียวกันต้องเดินตามและจากแคมเปญดังกล่าวทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 20% ทุกปี หรือเดือนเดียวสร้างยอดขายได้ไม่ต่ำกว่า 350 ล้านบาท
 
5.มีสาขามากกว่า 330 แห่งใน 67 จังหวัด


ภาพจาก bit.ly/2VIx1pi
 
The Pizza Company ให้ความสำคัญกับการขยายสาขาเพราะเชื่อมั่นว่าคือหัวใจสำเร็จของธุรกิจนี้ที่ยิ่งมีสาขามากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
 
ปัจจุบัน “The Pizza Company” มีสาขา 330 สาขา ใน 67 จังหวัด และขยายกิจการไปยังตลาดต่างประเทศ หลักๆ อยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง รวมแล้ว 8 ประเทศ ซึ่งอัตราการขยายสาขาในประเทศ อยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 10 สาขาต่อปี
 
6.รูปแบบการขยายสาขาของ The Pizza Company


ภาพจาก facebook.com/thepizzacompany
 
การขยายสาขา The Pizza Company ในไทย แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 
  1. Full Service Restaurant ที่พัฒนาคอนเซ็ปต์ให้เป็น Dining Experience 
  2. Delco หรือ สาขาย่อย สำหรับรองรับบริการ Delivery โดยใช้อาคารพาณิชย์ที่อยู่ตามชุมชนต่างๆ ออกแบบเป็นสาขาลักษณะนี้ 
  3. Delco พร้อมมีที่นั่งรับประทาน เน้นขยายเข้าไปตาม Community Mall และอาคารสำนักงาน เพื่อรองรับทั้งบริการ Delivery และสำหรับลูกค้าที่อยากนั่งรับประทานที่ร้านได้เลย
 
7.Pizza Hut คือผู้นำระดับโลกแต่ในเมืองไทย The Pizza Company คือเบอร์หนึ่ง


ภาพจาก bit.ly/2Lk4KS4
 
ตัวเลขของ Pizza Hut เรื่องจำนวนสาขาทั่วโลกมีกว่า 10,700 แห่งใน 90 ประเทศทั่วโลก  แต่ในประเทศไทย Pizza Hut มีสาขาประมาณ 100 แห่งน้อยกว่าของ The Pizza Company ที่มีกว่า 330 แห่ง
 
อีกทั้งความนิยมและยอดขายในเมืองไทยของ The Pizza Company ก็สูงกว่าของ Pizza Hut ดังนั้นเรื่องส่วนแบ่งการตลาดพิซซ่าในเมืองไทยจึงยกให้ The Pizza Company คือผู้นำอันดับหนึ่ง
 
8.การต่อสู้แบบ Delivery


ภาพจาก bit.ly/2VzxOJl
 
เราต่างคุ้นเคยกับเบอร์สั่งพิซซ่าแบบด่วนๆเริ่มจาก ของ Pizza Hut ที่ใช้ 1150 ส่วนของ The Pizza Company ใช้เบอร์ 1112 ซึ่งจะว่าไปแล้ว เบอร์ 1112 ของ The Pizza Company นั้นได้รับความนิยมมากกว่ามียอดการใช้จ่ายเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 400 บาท/ครั้ง และมีสัดส่วนการใช้บริการเพิ่มขึ้นในทุกปี สะท้อนให้เห็นถึงระบบการบริหารจัดการ และคุณภาพในการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วสมกับคำว่า Delivery
 
9.เน้นการพัฒนา “คน” เป็นสำคัญ


ภาพจาก bit.ly/2GXgq7V
 
คำว่า “คนงาน” ของ The Pizza Company คือ “People Business” หมายถึงธุรกิจที่ต้องพึ่งพากำลังคน เราจึงเห็น The Pizza Company” ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และโรงเรียนอาชีวศึกษา 150 โรงเรียน พัฒนาหลักสูตรให้กับโรงเรียนอาชีวศึกษา ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนอาชีวศึกษา เข้ามาเป็นพนักงานจริงในระหว่างที่กำลังศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในธุรกิจร้านอาหาร และเมื่อจบการศึกษา ก็สามารถกลับมาทำงานกับ The Pizza Company ได้
 
10.คิดค้นเมนูใหม่เฉลี่ยปีละ 6 เมนู


ภาพจาก facebook.com/thepizzacompany
 
หนึ่งในการแข่งขันคือความหลากหลายของเมนู สังเกตว่าทั้ง Pizza Hut และ The Pizza Company ต่างมีเมนูอาหารอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพิซซ่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งสลัด อาหารทานเล่น ของว่าง พาสต้า และเครื่องดื่มชนิดต่างๆ 

นอกเหนือจากน้ำอัดลม ที่มีเกือบ 20 รายการ ความถี่ของการออกเมนูใหม่นั้น The Pizza Company โดดเด่นกว่าคู่แข่งชัดเจนทุกๆ 8 สัปดาห์จะมีเมนูใหม่ เฉลี่ยปีละ 6 เมนู และยังมีเมนูอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพิซซ่ารวมถึงไอศกรีมที่สร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนด้วย
 
หากมองในภาพรวมการแข่งขันของ 2 แบรนด์ใหญ่ ผลดีจะตกอยู่กับผู้บริโภคที่จะได้สินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ในอีกแง่มุมหนึ่งของคนที่กำลังคิดจะเข้ามาตีตลาดพิซซ่าก็เป็นการยากที่จะสอดแทรกตัวขึ้นมาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดนี้ได้ ทางที่ดีคือการเปลี่ยนเป้าหมายไปจับกลุ่มลูกค้าในลำดับรองลงไป เจาะอีกตลาดที่ไม่ใช่สนามแข่งขันของ 2 แบรนด์นี้ เราจึงได้เห็นแฟรนไชส์ร้านพิซซ่าขนาดเล็กเกิดขึ้นจำนวนมาก แม้จะไม่ใช่แบรนด์ใหญ่แต่กำลังซื้อของคนในกลุ่มนี้ก็มีมากพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8
 
จากข่าวที่ลุงขายไอศกรีมถูกเทศกิจจับเพราะจอดรถขายกีดขวางการจราจร ก็มีแง่มุมของเหตุและผลด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่สิ่งที่ www.ThaiFranchiseCenter.com สนใจคือเรื่องของ “ไอศกรีม” ด้วยรู้สึกว่านี่คือสินค้ายอดฮิตที่แม้จะดูว่าไม่น่าสนใจแต่ที่จริงแล้วคนขายไอศกรีมแบบรถเข็นในประเทศไทยมี..
34months ago   2,516  6 นาที
หากพูดถึงลูกชิ้นปิ้งรถเข็นข้างทางที่ถือว่าประสบความสำเร็จ และมีผู้คนพูดถึงกันมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “ลูกชิ้นปิ้งจอมยุทธ” ด้วยยอดขายหลักแสนบาทต่อเดือนกับลูกชิ้นไม้ละ 10 บาท โดยทีเด็ดของร้านลูกชิ้นแห่งนี้อยู่ที่ “น้ำจิ้มโคตรพริก” รสชาติถูกปากของใครหลา..
34months ago   2,968  5 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,896
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,022
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,908
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,849
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,240
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,189
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด