บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.4K
3 นาที
10 กันยายน 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! แชมป์ ฮั้งเพ้งก๋วยเตี๋ยว


เชื่อว่าพูดถึงร้านก๋วยเตี๋ยวที่คนส่วนใหญ่รู้จักเป็นอย่างดีหนึ่งในนั้นต้องมีลิสต์รายชื่อของ แชมป์- ฮั้งเพ้ง อยู่ในโผของใครหลายคน จุดเด่นที่รู้กันดีคือ “ลูกชิ้น” ไม่ว่าจะลูกชิ้นหมู หรือลูกชิ้นเนื้อ พูดได้คำเดียวสั้นๆว่า “อร่อยมาก” และนี่คือธุรกิจที่ก่อตั้งมานานกว่า 35 ปี
 
หลายคนอาจจะเคยได้กินแต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าความเป็นมาของ แชมป์- ฮั้งเพ้ง นั้นเป็นอย่างไร www.ThaiFranchiseCenter.com มี 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! แชมป์ ฮั้งเพ้งก๋วยเตี๋ยว มาฝากเผื่อว่าใครที่อยากมีธุรกิจหรือใครที่ได้ไปกินแชมป์- ฮั้งเพ้งเมื่อได้รู้สตอรี่ดีๆ จะยิ่งทำให้การกินนั้นอร่อยยิ่งขึ้น
 
1. เจ้าของที่แท้จริงของ แชมป์- ฮั้งเพ้ง


ภาพจาก bit.ly/2kdBGyW
 
เจ้าของธุรกิจที่เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จัก แต่เขาคนนี้มีดีกรีเป็นถึงนักการเมืองท้องถิ่นโดยเฉพาะคนในระนองต่างต้องรู้จักเป็นอย่างดี เจ้าของธุรกิจ แชมป์- ฮั้งเพ้งคือ คุณบดินทร์ ฉัตรมาลีรัตน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระนอง แม้จะมีธุรกิจที่ต้องดูแลหลายอย่างแต่ก็มีบางธุรกิจที่ลงมือบริหารด้วยตัวเองเพราะบางธุรกิจคือกิจการในฝันที่เคยตั้งใจเอาไว้แต่เด็ก
 
2. ที่มาของชื่อ “ฮั้งเพ้ง”


ภาพจาก 1th.me/xqe2
 
คุณบดินทร์เกิดและเติบโตเป็นเด็กชายชาวสวน ในครอบครัวชาวจีนจังหวัดระนอง มีพี่น้องท้องเดียวกันถึง 12 คน ชื่อ "ฮั่งเพ้ง" จึงเป็นชื่อตั้งของพ่อแม่ เรียกขานกันเป็นทั้งชื่อจริงและชื่อเล่นจนติดปาก สมัยเป็นเด็กชีวิตจึงไม่ได้สวยหรูหรือร่ำรวย อีกทั้งยังต้องทำงานตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เริ่มจากการเก็บดอกมะลิขาย ตามมาด้วยการหยิบจับขายของทุกอย่างที่สร้างเม็ดเงินได้ไม่ว่าจะเป็นปากกาลูกลื่น ปลากระป๋อง รองเท้า รวมถึงรับจ้างทำงานทุกชนิด จนกระทั่งวันที่ชีวิตได้ลืมตาอ้าปากชื่อของ “ฮั่งเพ้ง” ก็เหมือนเตือนให้ตัวเองนึกถึงในอดีตอยู่เสมอ
 
3. ก่อนเป็น แชมป์ – ฮั้งเพ้งเคยขายราดหน้ามาก่อน


ภาพจาก 1th.me/cLhF
 
ธุรกิจอาหารจานเส้นของ แชมป์ - ฮั้งเพ้งไม่ได้เริ่มต้นที่ก๋วยเตี๋ยวทันที คุณบดินทร์เริ่มต้นจากการไปเรียนสูตรทำราดหน้าและตัดสินใจกู้เงินนอกระบบ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 เพื่อซื้อสูตรราดหน้าในราคา 4,500 บาท ที่จัดว่าแพง เพราะค่าเงินสมัยนั้นคิดเป็นทองน้ำหนัก 1 บาท เพียง 400 บาท แล้วแยกตัวออกมาเปิดร้านขายราดหน้าในตลาด แต่ปัญหาที่ตามมาคือขายดีและจังหวะเดียวกับที่ภรรยาตั้งท้องลูกอีกคน ทำให้คนเดียวไม่สามารถดูแลร้านได้ดี จึงตัดสินใจปิดกิจการ
 
4. เริ่มต้นทำลูกชิ้น “เทให้หมายังไม่กิน”


ภาพจาก 1th.me/288s
 
ไม่น่าเชื่อว่าลูกชิ้น แชมป์ - ฮั้งเพ้งที่แสนอร่อย แต่กว่าจะมีวันนี้ได้ผ่านเรื่องที่เลวร้ายมามาก หลังจากที่ลูกๆของคุณบดินทร์เข้าโรงเรียนทำให้พอมีเวลาเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ จึงเริ่มจากนำเงินก้อนที่พอมีไปลงทุนซื้อเครื่องตีลูกชิ้น บีบลูกชิ้นด้วยมือ แต่ผลที่ได้คือลูกชิ้นที่ทิ้งไว้นานก็เหนียว ยิ่งดิ้นรนทำยิ่งเข้าเนื้อมากขึ้น ถึงขนาดที่ว่าลูกชิ้น ณ ตอนนั้นเทให้หมากิน หมายังไม่กิน ยิ่งกว่าราดหน้า สิ่งที่ย้อนมาดูตัวเองคือ ทำอะไรแบบไม่มีความรู้มีแต่เจ๊ง กับเจ๊ง
 
5. ค้นพบสูตรการทำลูกชิ้นให้อร่อย


ภาพจาก 1th.me/pzht

คุณบดินทร์เริ่มต้นใหม่อีกครั้งแต่คราวนี้ไปเรียนและฝึกการทำลูกชิ้นและพบว่าการทำลูกชิ้นให้อร่อย นุ่ม เด้ง อยู่ที่ขั้นตอนการบีบ ซึ่งต้องบีบลูกชิ้นให้เสร็จทั้งหมดภายใน 10 นาที หากเกินกว่านั้นเนื้อจะแข็งตัว กินไม่อร่อย เมื่อเรียนรู้ได้สูตรพอตัวจึงนำเงินที่เก็บไว้ 10,000 บาท มาลงทุนซื้อเครื่องทำลูกชิ้น ราคา 4,500 บาท พร้อมซื้อรถเข็นเก่าๆ มาขายก๋วยเตี๋ยวริมถนน และทำลูกชิ้นขนาดใหญ่ที่ต้องทำลูกชิ้นใหญ่ๆเพราะว่า เวลาแค่ 10 นาทีแรกเท่านั้น ที่จะทำให้ลูกชิ้นอร่อย เมื่อบีบไม่ทันก็ต้องทำลูกใหญ่ๆ เพื่อบีบเนื้อที่บดไว้ให้หมด
 
6. เป็นธุรกิจขายดีแต่ยุคนั้นยังไม่แฟรนไชส์


ภาพจาก 1th.me/PQza

ก๋วยเตี๋ยวที่คุณบดินทร์ทำ ราคาขายเพียงชามละ 10 บาทส่วนประกอบก็เหมือนก๋วยเตี๋ยวทั่วไปจะแตกต่างก็ตรงที่ลูกชิ้นเนื้อที่ใหญ่กว่าและเน้นที่เนื้อมากกว่าเส้น จนทำให้ร้านค้าใกล้ อย่างร้านส้มตำ หรือร้านก๋วยเตี๋ยวอื่นๆ ก็มาขอแบ่งเอาลูกชิ้นไปขายบ้าง ตอนนั้นยังไม่มีคำว่า “แฟรนไชส์” วิธีการก็คือจะส่งรถเข็นก๋วยเตี๋ยวให้คนสนใจ 1 คัน พร้อมอุปกรณ์ และส่งลูกชิ้นเนื้อให้เขาทำขาย ต่อมาก็เริ่มมีร้านอื่นๆ คนอื่นๆ มาขอทำบ้าง จนขยายออกไป 10 กว่าสาขาโดยที่ยังไม่ได้เป็น
แฟรนไชส์
 
7. ที่มาของคำว่า แชมป์ - ฮั้งเพ้ง


ภาพจาก bit.ly/2m6EXk1
 
เรารู้ที่มาของคำว่า “ฮั้งเพ้ง” แต่หลายคนก็สงสัยว่าแล้วคำว่า “แชมป์”มาจากไหน ที่มาของเรื่องนี้ย้อนไปตั้งแต่สมัยที่เริ่มขายดีมีคนมาขอเป็นตัวแทนขายลูกชิ้นจำนวนมาก รวมถึงบรรดาพี่น้องที่เอาไปขายใน 4 สาขาคือ ลาดพร้าว ธนบุรี นนทบุรี และบางนา และปัญหาเกิดการแย่งลูกค้าตามมาในเวลาไม่นาน เพราะระยะทางที่ขายส่งไม่ไกลกันนัก สุดท้ายตกลงกันได้ข้อสรุปว่า ทุกคนจึงมีชื่อเฉพาะเรียกลูกชิ้นของตนเอง แม้ว่าสูตรจะเหมือนกันก็ตาม โดยคุณบดินทร์เลือกใช้ "ลูกชิ้นเนื้อแชมป์ และลูกชิ้นหมูฮั่งเพ้ง"
 
8. เริ่มต้นการสร้างโรงงานผลิตลูกชิ้น
 
เมื่อกิจการขยายตัวมากขึ้น คุณบดินทร์ตัดสินใจเปิดโรงงานผลิตลูกชิ้นย่านลาดพร้าว และซื้อเครื่องจักรผลิตลูกชิ้นจากประเทศเยอรมนี ด้วยสนนราคาสูงลิบเป็นเงิน 2.8 ล้านบาท ด้วยการประเมินว่าจะสามารถเบาแรงผลิตลูกชิ้นโดยไม่ต้องใช้คนบีบได้ครั้งละ 90 กิโลกรัม แต่เมื่อเอาเข้าจริง จ่ายเงิน เครื่องจักรผลิต กลับไม่ได้อย่างที่หวัง เพราะเครื่องจักรเยอรมนีมีสเปคการผลิตเฉพาะไส้กรอก ไม่สามารถผลิตลูกชิ้นตามสเปคที่ต้องการได้ เงินก้อนมหาศาลจึงเหลวไม่เป็นท่า
 
9. ออกแบบเครื่องจักรใหม่ให้ผลิตลูกชิ้นได้


ภาพจาก 1th.me/s0hj
 
จากปัญหาที่เครื่องจักรไม่ตรงสเปคในการผลิตลูกชิ้นก่อให้เกิดปัญหาในด้านการผลิต คุณบดินทร์ตัดสินใจนำเครื่องจักรมาวิเคราะห์และออกแบบสเปคใหม่และสั่งผลิตเครื่องจักรที่ว่านี้ในเมืองไทย จึงได้เครื่องจักรสำหรับการผลิตลูกชิ้นจริงๆ  และเริ่มการผลิตที่เป็นรูปเป็นร่างเริ่มมีการขยายสาขาและลูกชิ้น แชมป์ – ฮั้งเพ้ง ก็เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วประเทศมากขึ้น
 
10. แฟรนไชส์แชมป์ – ฮั้งเพ้ง


ภาพจาก bit.ly/2lHgqSs
 
แชมป์ – ฮั้งเพ้ง เริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในปี 2527 จากที่ไม่เป็นระบบแฟรนไชส์ก็เริ่มมีการพัฒนาเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ปัจจุบันมีสาขาของ แชมป์ – ฮั้งเพ้งมากกว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศ เดินไปตามตรอกซอกซอยไหนเราก็เห็นกันเต็มไปหมดราคาค่าแฟรนไชส์ของแชมป์ – ฮั้งเพ้งเริ่มต้นที่ 28,000 – 40,000 บาท และมีการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทชื่อบริษัทอุตสาหกรรม แชมป์ จำกัด 
 
ลูกชิ้นแชมป์ – ฮั้งเพ้ง เป็นอีกตัวอย่างของคนที่ก้าวข้ามอุปสรรค ไม่เอาปัญหาชีวิตมาเป็นตัวกีดขวางการทำธุรกิจใครที่มองว่าตัวเองไม่มีเงิน ไม่มีทุน ไม่มีความรู้ นั่นคือข้อจำกัดที่เรากำหนดขึ้นมาเอง คนที่จะประสบความสำเร็จเขาไม่ย่อท้อกับปัญหา และตั้งใจที่จะทำตามฝันตัวเองให้สำเร็จในสมองเขามีแต่คำว่า ทำได้ ทำได้ และทำได้ ถ้าเรายังไม่เชื่อมั่นในตัวเองความสำเร็จที่อยากให้เกิดก็ไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
จากข่าวที่ลุงขายไอศกรีมถูกเทศกิจจับเพราะจอดรถขายกีดขวางการจราจร ก็มีแง่มุมของเหตุและผลด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่สิ่งที่ www.ThaiFranchiseCenter.com สนใจคือเรื่องของ “ไอศกรีม” ด้วยรู้สึกว่านี่คือสินค้ายอดฮิตที่แม้จะดูว่าไม่น่าสนใจแต่ที่จริงแล้วคนขายไอศกรีมแบบรถเข็นในประเทศไทยมี..
34months ago   2,517  6 นาที
หากพูดถึงลูกชิ้นปิ้งรถเข็นข้างทางที่ถือว่าประสบความสำเร็จ และมีผู้คนพูดถึงกันมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “ลูกชิ้นปิ้งจอมยุทธ” ด้วยยอดขายหลักแสนบาทต่อเดือนกับลูกชิ้นไม้ละ 10 บาท โดยทีเด็ดของร้านลูกชิ้นแห่งนี้อยู่ที่ “น้ำจิ้มโคตรพริก” รสชาติถูกปากของใครหลา..
34months ago   2,968  5 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,901
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,022
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,912
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,849
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,240
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,189
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด