บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.8K
2 นาที
9 สิงหาคม 2562
รวมวิธี “ล้มบนฟูก” ลงทุนอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว
 

“การลงทุน” ที่มองว่าเป็นแค่การใช้เงินเอามาต่อยอดเพื่อหากำไรในธุรกิจใดๆ ให้เพิ่มขึ้น คำว่าการลงทุนไม่ได้จำเพาะเจาะจงแค่การเล่นหุ้น เท่านั้น การเปิดร้านค้า ร้านขายของ ลงทุนก่อตั้งบริษัท ก็นับเป็นการลงทุนทั้งนั้น คำถามคือ การลงทุนเหล่านี้เรารู้ดีว่า “มีความเสี่ยง” แม้จะวางแผนการตลาดมาอย่างดีแต่ก็มาโอกาส “เจ๊ง” ได้เช่นกัน
 
แต่สิ่งที่น่าสนใจและเชื่อว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มหัดเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงวิธี “ล้มบนฟูก” ที่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเป็นได้ทั้งวิชามารหรือจะเรียกว่าเล่ย์เหลี่ยมทางธุรกิจก็แล้วแต่เราจะลองมาศึกษาแนวทางเหล่านี้ว่ามีอะไรแบบไหนบ้าง
 
ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างในตอนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะนั้นทางการได้สั่งปิดสถาบันการเงินไปกว่า 56 แห่ง ภาพรวมคือบรรดาธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่างได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจกันไปเต็มๆ ถึงขนาดที่ล่มละลาย คนรวยกลายเป็นคนจนในพริบตา แต่นักธุรกิจบางคนกลับไม่ได้รับผลกระทบนั้น


ภาพจาก pixabay.com
 
มูลเหตุเบื้องต้นของพิษเศรษฐกิจเริ่มจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่โตเร็ว นักธุรกิจต่างเร่งขยายกิจการตัวเองเมื่อเงินลงทุนมีจำกัดก็ไปกู้สถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือบริษัทเงินทุน แต่ด้วยความที่เสียเวลาในการกู้ นักธุรกิจหลายคนพร้อมใจกว้านซื้อบริษัทเงินทุนมาเป็นของตัวเองเพื่อให้มีแหล่งเงินทุนในอำนาจตัวเอง ผลก็คือเมื่อภาวะเศรษฐกิจหดตัวรุนแรง
 
นักธุรกิจเหล่านี้ที่ได้ชื่อว่ามีแหล่งเงินทุนของตัวเองแต่ไม่ได้ชำระหนี้ที่ตัวเองกู้มา ก่อให้เกิดหนี้เสีย “NPL” คือหนี้ที่ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลที่ตัดสินใจกู้ยืมเงินจาก IMF แต่มีเงื่อนไขว่าต้องปิดสถาบันการเงินที่อ่อนแอ และนำไปสู่การรับประกันเงินฝากทั้งหมด ที่รัฐบาลต้องเอาเงินหลวงมาค้ำประกันครั้งนี้ กลายเป็นปัญหาลูกโซ่ที่กระทบไปถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
 
และสุดท้ายก็มาจบตรงที่รัฐบาลได้ประกาศให้บริษัทสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเข้ามาประมูลหนี้สินเหล่านี้ไปบริหารต่อ นั่นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ล้มบนฟูก” ที่นักธุรกิจผู้มีเล่ย์เหลี่ยมเลือกใช้ให้ตัวเองไม่เจ็บตัวคือ


ภาพจาก bit.ly/2M9tzzN
 
1.นักธุรกิจมองเกมส์ออกว่ารัฐบาลต้องมีการขายทอดตลาดหนี้สินและจะต้องมีการประมูลให้เข้ามาบริหารต่อนักธุรกิจเหล่านี้จะเตรียมเงินเพื่อซื้อธุรกิจกลับมาในราคาที่ต่ำกว่าเช่นตอนกู้เงินรับมา 5,000 ล้าน แต่สามาถซื้อหนี้คืนในราคา 2,000 ล้านเท่ากับมีกำไรในตัวเอง แต่คนทีเสียประโยชน์คือบรรดาผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้เลย
 
2.นักธุรกิจมองออกว่าถ้ามีเจ้าของรายใหม่มาซื้อกิจการต่อแต่ถ้าไม่มีความชำนาญในการบริหารก็ไม่สามารถบริหารต่อได้และจะต้องมีการขายสินทรัพย์คือ ซึ่งนักธุรกิจก็เตรียมเงินส่วนนี้รอไว้
 
3.ใช้วิธีผ่องถ่ายทรัพย์สิน ซึ่งในบรรดานักธุรกิจรู้ดีว่ามีหลากหลายวิธีเช่นการตบแต่งบัญชี ทำค่าใช้จ่ายให้สูง เก็บหนี้ไม่ได้ สินค้าระหว่างผลิตเสียหาย หรือทำสัญญาผูกพันซื้อสินค้าจากบริษัทหนึ่งในราคาที่สูงกว่าปกติ เพื่อให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบการที่มาซื้อกิจการต่อไม่สามารถเดินหน้าต่อได้
 
วิธีการเหล่านี้เหมือนวิชามาร “ในด้านการลงทุน” เป็นด้านมืดที่นักธุรกิจผู้มีประสบการณ์ต่างรู้ดีว่าเป็นการเซฟตัวเองที่จะทำให้ไม่ต้องเจ็บตัว อย่างไรก็ดีในส่วนของคนลงทุนทั่วไปที่อาจจะไม่ได้มีแผนการลงทุนแบบเมกะโปรเจคหรือพูดง่ายๆคือเราเป็นแค่คนเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ธรรมดาๆ ลงทุน หลักหมื่นไม่เกินหลักแสน ถามว่ากรณีศึกษาเหล่านี้จะเอามาปรับใช้อะไรให้ “ล้มบนฟูก” เหมือนนักธุรกิจตัวใหญ่ๆ ได้บ้าง


ภาพจาก pixabay.com
 
1.บริหารบัญชีแบบมืออาชีพ
 
ทุกบริษัทใหญ่จะมีการกระจายความเสี่ยงเช่นการแตกแขนงการลงทุนไปสู่ธุรกิจอื่นๆเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ยึดโยงอยู่กับวงการเดียว ในฐานะคนลงทุนรายย่อยก็เช่นกันควรมีการกระจายบัญชีให้แยกย่อยออกไปเป็นเงินหมุนเวียนประจำวัน เงินเก็บ เงินสำหรับใช้ส่วนตัว พยายามอย่าเอาเงินแต่ละบัญชีมาให้ผิดวัตถุประสงค์เมื่อเกิดปัญหาจะได้ไม่เจ็บตัวเยอะ
 
2.โตช้าๆแบบมีคุณภาพ
 
การเติบโตเร็วไปใช่ว่าจะทำให้เรามีกำไรมากขึ้นด้วย กรณีศึกษาจากพิษเศรษฐกิจที่อยู่ๆก็เติบโตคนก็อยากลงทุนเพิ่มแต่สุดท้ายเศรษฐกิจหดตัว กลายเป็นเงินที่ลงทุนไปกลับได้ไม่คุ้มเสีย ในฐานะคนลงทุนรายย่อยก็เช่นกันแม้จะรู้สึกว่าขายดีมีลูกค้าเยอะมาก แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจเปิดสาขาใหม่ทันที ลองวิเคราะห์ให้ดีก่อนลงทุนเพิ่มเพราะหากลงทุนเพิ่มแล้วรายได้ไม่ตามมาจะกลายเป็นรายจ่ายให้ตัวเราด้วย
 
3.วางแผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน
 
ไม่ว่าจะทำอะไรเราต้องมีแผนสำรองไว้เสมอ ธุรกิจก็เช่นกัน แม้เราจะมั่นใจว่าระบบบัญชีเราดี เราค่อยๆ โตแบบมีคุณภาพ แต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สิ่งสำคัญคือการเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าว่าหากมีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลแล้วเราจะทำอย่างไร เหมือนที่ตามบริษัทเขามีการซ้อมอพยพในกรณีเกิดไฟไหม้ ธุรกิจก็เช่นเดียวต้องมีแผนสำรองไว้รองรับด้วย


ภาพจาก bit.ly/2KphaWr

ทั้งนี้เชื่อว่าทุกการลงทุนคนส่วนใหญ่ก็มีการวางแผนไว้เป็นขั้นเป็นตอนและพยายามมองทิศทางข้างหน้าเพื่อประเมินศักยภาพในการลงทุนต่อไป แต่ขึ้นชื่อว่าธุรกิจที่อาจจะพลิกชีวิตเราให้รวยได้ในทางตรงกันข้ามก็อาจฉุดเราให้ดำดิ่งลงได้เช่นกัน คำว่าคนที่ไม่กล้าลงทุนคือคนที่ไม่มีวันรวย น่าจะเสริมไปอีกนิดว่า ลงทุนได้ก็ต้องรู้จักคิดให้รอบคอบไม่ใช่คิดว่ามีเงินจะลงทุนแค่ไหนเท่าไหร่ก็ไม่กลัว คนรวยเป็นร้อยล้านพันล้านยังลงทุนเจ๊งไม่เป็น่าเพราะขาดทักษะการ “ล้มบนฟูก” ที่ดี คนที่ทำธุรกิจต้องคิดเผื่อเรื่องพวกนี้ไว้ด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
750
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
630
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด