บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.4K
2 นาที
19 สิงหาคม 2562
นวัตกรรมในองค์กรที่น่าสนใจ
 

 
วันนี้สิ่งที่อยากจะมาเล่าคือนวัตกรรรมในองค์กรที่น่าสนใจของบริษัท WISESIGHT ซึ่งใช้วิธีการบริหารงานแบบ Agile และ Scrum องค์กรนี้สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวพนักงานทุกคน โดย CEO และผู้บริหารเป็นเพียงคนสนับสนุนองค์กรให้แต่ละทีมเดินไปข้างหน้า
 
การทำงานจะแบ่งออกเป็นทีมเล็ก ๆ ที่มีทุกส่วนครบในทีมเดียวทั้งเซลส์ มาร์เก็ตติ้ง ฯลฯ ทีมจะขับเคลื่อนด้วยตัวเอง คิดเอง แก้ปัญหากันเอง เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วม ช่วยเหลือกัน และเติบโตไปข้างหน้าด้วยกัน ทำเกิดการความเป็น Ownership สูง สามารถทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 

ภาพจาก https://bit.ly/2WhlKh3
 
ต่างจากเดิม ๆ ที่จะแบ่งเป็น Department แยกกันชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นผู้บริหารจะต้องลงไปแก้ปัญหาให้ แต่การทำงานแบบนี้ CEO จะเป็นคนถามว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งจะให้ทีมเป็นคนคิดหาวิธีการและช่วยกันแก้ปัญหาแทน ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นและกระตุ้นให้ทีมงานแก้ปัญหาด้วยตนเอง 
 
การเอาวิธีคิดแบบ Agile และวิธีการทำงานแบบ Scrum มาใช้ นั่นคือแบ่งการทำงานเป็นรอบเวลา ทำงานแบบรวดเร็ว ทุกคนช่วยกัน โดยจะเป็นแบบ Transparency คือโปร่งใส ทุกคนเห็นเหมือนกันทั้งหมดว่าทีมเคลื่อนไปทางไหนหรือทำอะไรกันอยู่ ซึ่งบริษัทในยุคใหม่จะเน้นเรื่องพวกนี้มาก 
 

ภาพจาก https://bit.ly/2WhlKh3
ต่างจากการทำงานแบบ Waterfall แบบเมื่อก่อนที่ทำงานตามลำดับ ทำงานนี้เสร็จก่อนถึงส่งให้ทีมอื่นเอาไปทำต่อ ซึ่งบางครั้งก็จะมีปัญหาเพราะการที่แต่ละทีมทำงานแล้วส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ ผลงานที่ออกมากลับไม่ใช่อย่างที่ต้องการ เสียเวลาไปหลายเดือน สุดท้ายกลับไม่ได้อย่างที่คิดไว้ก็ต้องเอามาปรับใหม่
 
ลักษณะการทำงานของ Agile คือทุกคนจะอยู่ด้วยกันไม่แบ่งเป็นแผนก ทำงานเป็น Sprint คือเป็นรอบเวลา เช่น Sprint หนึ่งจะเป็นทุก 2 อาทิตย์จะได้เห็นงานสำเร็จออกมาส่วนหนึ่ง คนในทีมจะเห็นงานพร้อมกัน จะรู้ว่าอันไหนที่ไม่ใช่ อันไหนต้องปรับปรุง ทุกคนจะได้ช่วยกันแก้ไข งานจะถูกพัฒนาในทุก ๆ 2 อาทิตย์ ไปเรื่อย ๆ ได้เห็นงานแบบมีความถี่มากขึ้น ต่างจากเดิมที่หนึ่งงานใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะได้เห็นงานที่สำเร็จ
 
วิธีการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิมช่วยประหยัดทรัพยากรและเวลาไปได้มาก เพราะสปีดในการทำงานจะเร็วขึ้น และงานที่ได้มานั้นจะตอบโจทย์ผู้บริโภคหรือลูกค้าที่เป็นเจ้าของงานมากขึ้น เดี๋ยวนี้บริษัทใหม่ ๆ ต่างหันมาใช้วิธีนี้ในการทำงานกันแล้ว แล้วองค์กรขนาดใหญ่ที่มีหลายร้อยคนจะทำได้ไหม บอกเลยว่าได้ครับ ก็ที่ที่ผมไปดูงานมานั้นเขามีพนักงาน 200 คนยังทำได้เลย 
 
การเริ่มต้นไม่จำเป็นต้องทำทั้งองค์กรพร้อมกัน เริ่มต้นที่บางสินค้าหรือบางบริการที่แยกออกมาเป็นยูนิตของตัวเองได้ เป็นการทำ Self Management หรือการบริหารทีมตัวเอง ที่สำคัญคือต้องมีโค้ชที่เรียกว่า Agile Coach หรือ Scrum Master เป็นคนที่จะช่วยวางแผน แนะนำ ควบคุม จัดการ ทำให้บรรยากาศในทีมในองค์กรนั้นเป็นไปตาม Agile อย่างที่ต้องการ 

ภาพจาก https://bit.ly/2Ze0khg
 
หากถามว่า Coach, Manager หรือ Group Head ในที่นี้เหมือนกันหรือไม่ ผมว่ามีหน้าที่ต่างกันแล้วแต่บทบาทของแต่ละคน เท่าที่เห็นหลาย ๆ องค์กรที่ใช้ Agile จะเปลี่ยนตำแหน่ง Manager หรือ CEO เป็น Coach หมด เช่น CEO ของ Kaidee.com คือคุณทิวา ยอร์ค ดูจากนามบัตรก็จะเขียนว่า Head Coach of Kaidee ในองค์กรของเขาจะมีโค้ชหลายคน ตัวเขาเป็น Head Coach อีกทีหนึ่ง
 
องค์กร Agile จะเป็นในลักษณะนี้คือ Coach จะเป็นคนที่ทำให้คนในทีมกล้าแสดงออก กล้าสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา ถ้าทีมเรามี 20 คน และทุกคนช่วยกันคิดช่วยกันทำ องค์กรจะเดินไปได้เร็วกว่าองค์กรที่มี CEO หรือ Management คนเดียวคอยชี้นำ คอยเซต KPI คอยลากองค์กรไป 
 
หากสนใจจะเริ่มจากตรงไหน

การทำ Agile ทุกคนจะมาช่วยกัน Mindset ก็จะเปลี่ยน ทุกคนจะต้องมีความเชื่อในทีมของตัวเอง รวมถึงผู้บริหารด้วย เมื่อคุณเชื่อในทีมของคุณ ทีมจะเข้าใจว่าหัวหน้ากำลังเชื่อเขาอยู่ แล้วทีมก็จะพยายามสร้างอะไรบางอย่างขึ้นมาให้เห็น อาจจะไม่ได้ทำได้ ณ วันนี้ แต่เราต้องมีวิธีการโค้ชเขา ต้องมีวิธีการค่อย ๆ ทรานส์ฟอร์มพวกเขา โดยเริ่มจากส่วนเล็ก ๆ ก่อนยังไม่ควรเริ่มใหญ่ทั้งองค์กร และต้องมีคนที่มีประสบการณ์ที่เป็นโค้ชทางด้าน Agile มาช่วยด้วย 
 
เพราะบางครั้งต้องอาศัยคนนอกที่เก่งและมี Mindset ในเรื่องพวกนี้อยู่มาช่วย ต้องมีคนที่เข้าใจเรื่องพวกนี้มาช่วยควบคุมให้มันเดินไปตามทิศทาง ต้องมีวินัยและความมั่นใจสูงในเรื่องพวกนี้ ซึ่งคนเหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการทำงานของทีมได้ มีวิธีการทรานส์ฟอร์มทีมให้เข้าสู่วัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ได้ ซึ่ง 5-6 ปีที่ผ่านมา WISESIGHT มีอัตราการลาออกของพนักงานที่ต่ำมาก เพราะพวกเขารู้สึกว่านี่คือทีมของเขา พวกเขาอยู่ได้ด้วยตัวเองและคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดีมากทีเดียว 
 
ทำไมถึงต้องเปลี่ยน
 
เพราะว่าวันนี้พฤติกรรมคนและวัฒนธรรมเริ่มเปลี่ยน องค์กรต่าง ๆ กำลังเจอความท้าทาย กำลังเจอเด็กรุ่นใหม่ที่ต่างเจเนอเรชั่น เด็กเหล่านี้มีวิธีคิดแบบใหม่และต่างกัน เรายังจะใช้วิธีการแบบเดิม บริหารเด็กรุ่นใหม่อย่างนั้นหรือ ในขณะที่ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปหมดแล้ว องค์กรต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว การปรับตัวอย่างรวดเร็วไม่ได้เกิดขึ้นจาก CEO หรือผู้บริหารเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ต้องเกิดจากคนในองค์กรแล้วเดินไปด้วยกันทั้งหมด 
 
ตอนนี้จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง Agile อยู่มากทีเดียวทั้งในกูเกิล เฟซบุ๊ก ยูทูป ลองอ่านให้เข้าใจเสียก่อน หลายคนอาจจะยังมีความย้อนแย้งในหัว แต่ต้องให้คนที่เข้าใจจริง ๆ มาช่วยขยี้ให้มันคลี่คลายออกมา แล้วค่อยทดลองทำ
 

ภาพจาก https://bit.ly/2WhlKh3
 
คุณสมบัติคนที่จะทำแล้วประสบความสำเร็จ
  1. ต้องเป็นคนที่เปิดรับ 
  2. เป็นคนที่เข้าใจคนอื่น ยอมรับคนอื่น 
  3. ต้องมีความเร็วในการทำงาน 
ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะมีอยู่ในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ แต่ความจริงอายุก็ไม่สำคัญเท่า Attitude และ Mindset คนที่ได้ทำ Agile มาแล้ว เขาจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ตื่นเช้ามาอยากทำงาน สิ่งที่เขาทำนั้นมีความหมายกับทีม สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำในการบริหารเด็กรุ่นใหม่คือ ต้องให้การยอมรับพวกเขา ต้องให้พวกเขาได้ล้มบ้างเพราะจุดสำคัญของ Agile คือต้องล้มเสียก่อน เพราะการล้มจะทำให้พวกเขาเรียนรู้และเก่งขึ้น อย่าแค่อยากลองครับ ต้องลงมือทำเลยครับ 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด