บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.3K
3 นาที
28 สิงหาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
 

ข่าวการถึงแก่กรรมของ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ปรากฎตามสื่อต่างๆ หลายคนอาจนึกถึงคำคำหนึ่งที่ยังคงคุ้นหูมาจนทุกวันนี้ นั่นก็คือคำว่า เชลล์ชวนชิม คนในรุ่น 30-40 อาจจะคุ้นเคยกับคำนี้อยู่พอสมควร และยิ่งอายุมากขึ้นไปกว่านี้ ก็อาจจะยิ่งคุ้นหู และคุ้นตา กับ เชลล์ชวนชิม ในยุคที่โด่งดังถึงขีดสุด จนเป็นเครื่องหมายรับรองความอร่อย ของอาหารเมนูต่างๆมากมายแทบจะทั่วประเทศ
 
www.ThaiFranchiseCenter.com ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว “สวัสดิวัฒน์” ในการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ถือเป็นอีกหนึ่งปูชนียบุคคลที่ฝากผลงานไว้มากมาย ไม่ใช่แค่เรื่องของ “อาหาร” แต่ ม.ร.ว.ถนัดศรี ยังเคยเป็นทั้งนักร้อง นักแสดง และเคยมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอีกด้วย ในโอกาสรำลึกถึงการจากไปของม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เรามี10เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ให้คุณได้รู้จัก ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มากยิ่งขึ้น
 
1.ชีวิตด้านครอบครัวของ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
 
ภาพจาก bit.ly/2Hutu5z

หม่อมราชวงศ์ ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นโอรสคนใหญ่ของ หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ กับ หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา เกิดวันที่ 28 พฤษภาคม 2469 ที่วังเพชรบูรณ์ (ซึ่งปัจจุบันคือศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์) และเติบโตอยู่ในวังสระปทุม มีพี่สาวและน้องชายคือ 1. เภสัชกรหญิง หม่อมราชวงศ์สนองศรี สวัสดิวัตน์ และ 2. หม่อมราชวงศ์เพิ่มศรี สวัสดิวัตน์

ซึ่งทางด้านชีวิตส่วนตัว หม่อมราชวงศ์ ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมรสครั้งแรกเมื่อปี 2495 กับ หม่อมหลวงประอร มาลากุล มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ หรือในวงการอาหารเรียกว่า "คุณหมึกแดง" และ พลตรี หม่อมหลวงเพิ่มวุทธิ์ (คุณจิ๋ว) จนต่อมาในปี 2505 สมรสครั้งที่ 2 กับ นางโรจนา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน ก็คือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์) หรือนามปากกา ปิ่นโตเถาเล็ก เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารและเป็นกรรมการในรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
 
2.นักร้องวงสุนทราภรณ์รุ่นแรก

ภาพจาก bit.ly/2Hutu5z

"หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี" เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นนักจัดรายการวิทยุ บีบีซี ภาคภาษาไทย ที่ประเทศอังกฤษ และเมื่อกลับประเทศไทย

ด้วยเลือดศิลปินการขับร้องเพลงไทยเดิมจาก คุณอา หลวงกล่อมโกศล ( เศวตะทัต) และ หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (เศวตะทัต) หม่อมมารดา พรสวรรค์จากสายเลือด จึงทำให้คุณชายได้กลายเป็นนักร้องสุนทราภรณ์รุ่นแรก ได้ออกแผ่นเสียงและอัลบั้ม และยังได้ร่วมงานกับโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งคุณชายมีเพลงโด่งดังระดับตำนานมากมาย เช่น สีชัง ยามรัก หวงรัก วนาสวาท
 
3.ผลงานด้านการแสดง
 
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรีมีผลงานด้านการแสดงที่หลากหลาย เคยรับบทเด่น เป็น "ตั๋งโต๊ะ" ในงิ้วไทย "สามก๊ก" บทพระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งมี อารีย์ นักดนตรี และเทิ่ง สติเฟื่อง ร่วมแสดง ในพ.ศ. 2499

รวมถึงแสดงนำใน "สุริยานีไม่ยอมแต่งงาน" ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกของไทย พ.ศ. 2499 ในปีเดียวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นดาราร่วมแสดงภาพยนตร์ไทย "วนาลี" พ.ศ. 2502 และ "นางแมวผี" พ.ศ. 2503 เป็นนักแสดงรับเชิญ ร่วมกับ คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร, อิงอร ฯลฯ ในรายการ "สัมนานักสืบ" ดำเนินรายการโดย พ.อ.ถาวร ช่วยประสิทธิ์ ทางทีวีกองทัพบก ช่อง 7 ขาวดำ (ททบ.ช่อง 5 ปัจจุบัน) พ.ศ. 2508

รวมไปถึงปรากฏตัวพิเศษฉากเพลง "ยามรัก" ในภาพยนตร์ไทยซาวด์ออนฟิล์ม เรื่อง "กลัวเมีย" ของ ศรีกรุงภาพยนตร์ (ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง) พ.ศ. 2514 กำกับการแสดงโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และอรัญญา นามวงศ์
 
4.ผลงานด้าน “ธุรกิจอาหาร”
 
ภาพจาก 1th.me/8Yp7

หม่อมราชวงศ์ถนัดศรีเป็นผู้จัดและดำเนินรายการวิทยุ "ครอบจักรวาล" , "การบินไทยไขจักรวาล" , " พ่อบ้านเข้าครัว" ช่วงทศวรรษ 2520-2530 และยังเขียนบทความประจำคอลัมน์ "ถนัดศรีชวนชิม" ให้กับหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์ และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รวมถึงผลิตและจัดรายการโทรทัศน์ " พ่อลูกเข้าครัว" ร่วมกับบุตรชาย คือคุณหมึกแดง ซึ่ง "หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี" มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแนะนำและจัดระดับความอร่อยของร้านอาหาร ในชื่อ "เชลล์ชวนชิม" สัญลักษณ์ชามลายผักกาด ทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 โดยดัดแปลงมาจาก "มิชลินไกด์" ของผลิตภัณฑ์
มิชลิน
 
5.จุดเริ่มต้นของคำว่า “เชลล์ชวนชิม”
 
ภาพจาก bit.ly/2MHRAyd

เชลล์ชวนชิม เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2504 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงดำรง ตำแหน่งผู้จัดการแผนกส่งเสริมการขายและการโฆษณาของ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด สมัยนั้นบริษัทเชลล์ฯ เพิ่งเริ่มจำหน่ายแก๊สหุงต้มในประเทศไทย

ในขณะที่คนไทยยังคุ้นเคยกับการใช้ถ่านใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการหุงหาอาหาร ท่านภีศเดชกับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ได้ปรึกษาหารือกันว่าควรจะทำโครงการอะไรดี เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย แล้วก็มาสรุปกันว่า เห็นจะต้องเป็นเรื่องอาหารการกิน โดยได้ความคิดมาจากที่เห็น Michelin Guide ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความเชื่อถือและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
 
6.โลโก้ของ “เชลล์ชวนชิม” ในยุคแรกไม่ใช่ชามลายผักกาด
 
ภาพจาก 1th.me/eaDy

โลโก้ของ “เชลล์ชวนชิม” ในยุคแรกเป็นรูปหอยเชลล์และเปลวแก๊สแลบออกมา จนต่อมาในเดือนกันยายน  พ.ศ.2525  ได้เปลี่ยนโลโก้เป็นรูปชามลายครามลายผักกาด ลายผักกาดหมายถึงอาหารการกิน  ส่วน ชามลายครามเป็นสัญลักษณ์ของความเก่าแก่ สูงค่า รวมความเป็นสัญลักษณ์แห่งการกินดีกินเป็น
 
7.ที่มาของนามปากกา “ถนัดศอ”
 

ภาพจาก bit.ly/2Hutu5z
 
เชลล์ชวนชิมได้กลายเป็นคอลัมน์เชลล์ชวนชิม ซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2504 โดยใช้นามปากกา “ถนัดศอ” เรื่องที่มาของนามปากกานั้น  มาจากที่สมัยนั้น คุณประหยัด ศ.นาคะนาท เป็นบรรณาธิการอยู่ และได้ขอให้ คุณประมูล อุณหธูป นักเขียนชื่อดัง ที่ตอนนั้นอยู่กอง บก. ของสยามรัฐ ตั้งนามปากกาให้ คุณประมูลจึงตั้งให้ว่า “ถนัดศอ” เป็นการเลียนเสียงชื่อของคุณ “ประหยัด ศ.” นั่นเอง
 
8.ร้านแรกที่ “เชลล์ชวนชิม” เขียนแนะนำ
 
ภาพจาก bit.ly/2MHRAyd

ร้านอาหารเชลล์ชวนชิมที่เขียนแนะนำเป็นครั้งแรกในคอลัมน์มีสองเจ้า คือ ร้านลูกชิ้นสมองหมู หรือ ลูกชิ้นห้าหม้อ สมัยนั้นเป็นรถเข็นอยู่ข้างหลังกระทรวงมหาดไทย อีกเจ้าหนึ่งคือ ข้าวแกงลุงเคลื่อน หรือ ข้าวแกงมธุรสวาจา อยู่เยื้องๆ กับก๋วยเตี๋ยวสมองหมู ลุงเคลื่อนคนนี้ทำข้าวแกงอร่อย แต่ที่ตั้งสมญาให้ว่าข้าวแกงมธุรสวาจา เพราะแต่ละคำที่หลุดออกมานั้นลึกซึ้งถึงทรวงจนออกอากาศไม่ได้กันทีเดียว
 
9.เชลล์ชวนชิม “ไม่เคยเรียกเก็บค่าแนะนำใดๆทั้งสิ้น”

ภาพจาก bit.ly/2KYsU2d

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีของตำนาน “เชลล์ชวนชิม” ยืนยืนชัดเจนว่าไม่เคยมีการเรียกเก็บเงินแต่อย่างใด ชิมแล้วอร่อยก็เขียนลงคอลัมน์ให้ไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บเงินจากร้านค้าเพราะมีสปอนเซอร์สนับสนุนอยู่แล้ว กระทั่งบริษัทเชลล์ไม่ได้จัดสรรงบสนับสนุนให้แล้วก็จะไม่มีการแนะนำร้านเชลล์ชวนชิมเพิ่มอีก แต่ยังคงทำเรื่องของการชวนชิมต่อไปโดยใช้ชื่อ “ถนัดศรีชวนชิม” และยังคงตีพิมพ์ลงในมติชนสุดสัปดาห์เหมือนเดิม
 
10.บทบาททางการเมืองและรางวัลที่ได้รับของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี
 
ภาพจาก bit.ly/32cMXQr

"หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์" เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 ของรัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์ โดยตลอดระยะเวลาการทำงาน ท่านเคยได้รับรางวัล "ศิลปินแห่งชาติ" สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) พ.ศ. 2551 ,รางวัลนราธิป "นักเขียนอาวุโส" พ.ศ. 2551 และรางวัลเกียรติยศคนทีวี ในงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2551 
 
นับเป็นอีกหนึ่งการสูญเสียปูชนียบุคคลที่ได้ชื่อว่ามีผลงานหลากหลาย โดยเฉพาะ “เชลล์ชวนชิม” ได้สร้างให้ใครหลายคนกลายเป็นเศรษฐี ผ่านการแนะนำรีวิว ซึ่งต้องบอกว่าทรงพลังมาก ด้วยยุคนั้นไม่ได้มีเทคโนโลยีเหมือนสมัยนี้ เพียงอาศัยตัวหนังสือที่บอกเล่าความอร่อยยังสามารถสะกดให้คนอยากอ่าน อยากติดตาม และตามไปชิมร้านที่แนะนำ ถือเป็นอีกหนึงบุคคลทรงคุณค่าที่คนรุ่นหลังควรศึกษาแนวทางเพื่อเอามาปรับใช้ในชีวิตตัวเอง

 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
เรียกว่ากำลังเป็นกระแสร้อนแรงในโลกออนไลน์ เมื่อนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ หรือไลฟ์โค้ชชื่อดัง อย่าง  ฌอน บูรณะหิรัญ ได้ออกมาโพสต์คลิปชื่นชม พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นผู้ใหญ่น่ารัก ไม่เหมือนภาพร้ายๆ ออกสื่อ แนะอย่ารีบตัดสินคนเพียงแค่เห็นหรือได้ยิน จนโดนวิจารณ์อย่างหนั..
49months ago   3,292  5 นาที
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษในวัย 98 ปี ย่าง 99 ปี ได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้วอย่างสงบที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อรุ่งสางของวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 ซึ่งประวัติของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษาจา..
62months ago   4,328  7 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด