บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.7K
3 นาที
3 ตุลาคม 2562
วิเคราะห์ชัดๆ ทำไมร้านขายของชำอเมริกาเปลี่ยนแพลตฟอร์มสู่ออนไลน์
 

คนส่วนมากในอุตสาหกรรมร้านขายของชำในอเมริกาแสดงถึงความมั่นใจว่าลูกค้ากว่า 3%-4%ยอมรับระบบการซื้อขายผ่านทางออนไลน์  ซึ่งอาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึง 20% หรือมากกว่านั้นเลยก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่าร้านขายของชำชั้นนำในอุตสาหกรรมอาจจะไม่ได้เป็นผู้นำในด้านการซื้อขายผ่านทางออนไลน์ได้ภายใน 5 ปี หรือ 10 ปี ในขณะที่บางคนกล่าวว่าเหล่าร้านขายของชำในอเมริกาไม่ได้ทำอะไรที่ดูจะประสบความสำเร็จในด้านการเป็นร้านขายของชำออนไลน์เลยด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เหล่าร้านขายของชำชั้นนำในอเมริกาอย่าง Walmart , Kroger , Albertson's , Ahold Delhaize รวมไปถึง Publix Sylvain Perrier ซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยีสำหรับร้านชำอย่าง Mercatus ต่างบอกออกความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า “ธุรกิจร้านขายของชำกำลังจะไปถึงจุดเปลี่ยน”
 
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย โดยวิล เกรเซอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Grabango และ Pandora Media กล่าวว่าบริษัทของเขาจะไม่เจาะตลาดออนไลน์ไปจนถึง 20% และเดวิด โมราน ประธาน บริษัท Eversight Labs ที่ปรึกษาด้านการจัดการรายได้ที่ขับเคลื่อนโดย AI กล่าวว่า ร้านค้าส่วนใหญ่จะยังวางขายสินค้าหน้าร้านอยู่อีกนานพอควร 
 
ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมร้านขายของชำ?


ภาพจาก bit.ly/2pxEby9
 
ปัญหาหลักๆ ในอุตสาหกรรมร้านขายของชำคือ อุตสาหกรรมร้านขายของชำในอเมริกามีขนาดใหญ่มาก มีมูลค่ามากถึงประมาณ 800 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีการแข่งขันมากขึ้นในขณะที่ร้านขายของชำแต่ละร้านมีกำไรน้อยลง  และรูปแบบการซื้อขายในร้านขายของชำก็เรียกได้ว่าไม่ได้ต่างไปจากยุคที่คุณแม่ออกไปซื้อของซักเท่าไหร่ คือลูกค้ามาเลือกของจากชั้นวางสินค้าถึงที่ร้าน
โดยอีกเหตุผลหนึ่งที่ร้านขายของชำไม่สามารถทำเงินผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้นั้นส่วนหนึ่งก็เพราะความนิยมในการใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวยังไม่มากพอที่จะสามารถสร้างกำไรที่มากพอเพื่อรองรับคนงานที่มากขึ้นได้


ภาพจาก bit.ly/2n8KKq8
 
และแน่นอว่าปัญหาอีกอย่างหนึ่งของเหล่าร้านขายของชำ ก็คือ คนเริ่มเดินเข้าร้านขายของชำน้อยลงซึ่งปัญหานี้ไม่ใช่แค่ร้านขายของชำเท่านั้นที่มองเห็น แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งก็เช่นกัน โดยเหล่าผู้ผลิตสินค้าต่างรู้ดีว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาควรมีแพ็คเกจอย่างไรถึงจะเพิ่มโอกาสในการขายได้ และเมื่อลูกค้าไม่เข้าร้าน เหล่าบริษัทผลิตสินค้าเหล่านั้นก็ควรพัฒนาสินค้าของตัวเองเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ายังอยากซื้ออยู่ ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ถ้าคุณมองเห็นถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเหล่าสินค้าที่วางขายตามห้างร้าน คุณจะรู้ว่ามันยากแค่ไหนในการกระตุ้นการซื้อให้ลูกค้า.
 
สำรวจความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมร้านขายของชำอเมริกา


ภาพจาก bit.ly/2o3aXXy
 
ที่ผ่านมาเหล่าร้านขายของชำในอเมริกาพยายามเน้นไปที่การซื้อขายออนไลน์ภายในร้าน คือการคลิก และรวบรวมสินค้า โดยวอลมาร์ท ที่เป็นร้านขายของชำยักษ์ใหญ่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำให้ระบบดังกล่าวนี้สามารถเป็นที่เรียนรู้ได้เร็วขึ้น และ ทอม วอร์ด รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการดิจิตอลของ Walmart ได้พูดในงานชุมนุมกลุ่มอุตสาหกรรมร้านขายของชำกล่าวว่า บริษัทได้ว่าจ้างและฝึกอบรมเหล่าเจ้าของธุรกิจร้านชำที่ถูกเลือกกว่า 45,000 รายเกี่ยวกับเรื่องนี้


Narayan Iyengar
ภาพจาก bit.ly/2nbISx1
 
Narayan Iyengar รองประธานอาวุโสฝ่ายดิจิตอลและอีคอมเมิร์ซของ Albertson ได้ลองวางโครงสร้างทางเศรษฐศาสตร์ของร้านขายของชำ และได้อธิบายว่าร้านค้าสามารถขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ได้ดีกว่าในพื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น เพราะค่าขนส่งต่ำ และเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ร้านค้าต้องวางรัศมีพื้นที่จัดส่งไว้ที่ 9 ชั่วโมง ซึ่งนั่นหมายความว่าไม่มีทางที่ร้านจะสามารถจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
 
นอกจากนี้ ร้านขายของชำออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรคใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ “Ocado” ที่เป็นผู้ให้บริการศูนย์กระจายสินค้าพื้นฐานขนาดใหญ่สัญชาติอังกฤษที่ปัจจุบันกำลังทำเงินได้กว่า 2พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากที่บริษัทนี้สามารถทำกำไรได้มหาศาล Ocado จึงร่วมมือกับ Kroger และขยายกิจการมาที่อเมริกาและได้ประกาศว่าจะสร้างศูนย์เติมสินค้าสำหรับคำสั่งซื้อออนไลน์จำนวน 20 แห่งในอเมริกาและได้จัดตั้งไปเรียบร้อยแล้วในดัลลาร์ , ซินซิเนติ , ออแรนโด้  และแอตแลนต้า ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ Kroger จะได้ผลประโยชน์อยู่ไม่น้อยสำหรับการทดลองระบบการสั่งซื้อในรูปแบบใหม่นี้
 
ทำไมสิ่งที่อุตสาหกรรมร้านขายของชำทำจึงไม่เป็นผล? แล้วทำแบบไหนถึงจะดี?


ภาพจาก bit.ly/2nffm9G
 
เหล่าบรรดาร้านขายของชำต่างเลือกที่จะสร้างร้านค้าโดยแบ่งพื้นที่ในร้านส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับอำนวยความสะดวกสำหรับการจัดส่งออนไลน์ แล้วมันก็มีท่าทีว่าจะไม่เวิร์คเท่าไหร่ โดย Perrier แห่งเมอร์คาทัสกล่าวว่าร้านขายของชำเหล่านั้นมี “ลูกตุ้มและโซ่ตรวจที่คอยถ่วงแข้งถ่วงขาอยู่” และร้านค้าเหล่านั้นก็มีแต่คู่แข่งที่มีความคิดที่ดีกว่าเข้ามาในตลาดพร้อมกับสิ่งที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความจริง เหล่าบริษัทใหม่ๆ ต่างพัฒนาช่องทางในการขายที่ถึงมือลูกค้าโดยตรง และมีการทบทวนถึงวิธีการที่ร้านขายของชำจะขายสินค้าได้ ไม่ใช่ยึดติดอยู่กับโครงสร้างการทำงานแบบเก่าๆ
 
ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Fabric ได้สร้างศูนย์ปฏิบัติการไมโครหลายแห่งที่สามารถรับคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซให้กับลูกค้าภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และมีศูนย์เติมสินค้าอัตโนมัติเป็นจำนวนมากในเขตเมืองที่หนาแน่นซึ่งทำให้กระบวนการซื้อเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถนำส่งได้ในไม่กี่นาที มันสร้างความสะดวกเป็นอย่างมากในอิสราเอลและกำลังถูกพัฒนาเพื่อใช้ในสหรัฐอเมริกา และ Iyengar แห่งบริษัท Albertson ได้พูดคุยเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ว่ามันสามารถที่จะย่อส่วนซูเปอร์มาเก็ตให้มีพื้นที่เล็กลงกว่าเดิมได้และจัดขนส่งในท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว ด้วยการเอาหุ่นยนต์มาจัดการและนำเอา AI มาจัดการกับสินค้าที่เน่าเปื่อยง่าย

“ความเสี่ยง” และ “การตัดสินใจแบบไร้ข้อมูล” คือสิ่งที่อุตสาหกรรมร้านขายของชำต้องการ


Bob Iger ประธานและซีอีโอของบริษัท Disney
ภาพจาก bit.ly/2oEHnaV
 
ล่าสุด บ๊อบ อิเกอร์ ประธานและซีอีโอของบริษัท Disney ได้กล่าวถึงบางสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ดีกับธุรกิจร้านขายของชำในขณะนี้ ว่า “เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น และสิ่งที่ต้องการก็คือความสามารถในการรองรับความเสี่ยงและความสามารถในการตัดสินใจโดยไร้ซึ่งข้อมูลใดๆ เพราะปัจจุบันนี้การหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจเป็นเรื่องยาก” นอกจากนี้ อิเกอร์ยังพูดถึง “ความอดทน และความกล้า” ที่จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจแบบไร้ซึ่งข้อมูล

ทุกวันนี้ผู้ประกอบการร้านขายของชำยังต้องการการทดสอบอีกมากเพราะยังไม่มีใครรู้ได้ว่าอะไรจะเป็นสิ่งที่ดีสุดสำหรับอุตสาหกรรมนี้ และการหาคำตอบให้กับเรื่องนี้ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจร้านขายของชำเช่นกัน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
แหล่งข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
794
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
422
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด