บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
3 ตุลาคม 2562
ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป! ถึงเวลาธุรกิจออกจาก Comfort Zone ก่อนจะสาย  

 

หลายคนคงเห็นข่าวตามสื่อมากมาย กรณีห้างค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาต่างทยอยแจ้งล้มละลายและปิดสาขาจำนวนมาก นับว่าเป็นประวัติศาสตร์วงการค้าปลีกโลก แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน
 
แล้วในวันนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ธุรกิจต่างๆ รวมถึงมนุษย์อย่างเราๆ จะเดินออกจาก COMFORT ZONE ดินแดนที่มีแต่ความพ่ายแพ้ และก้าวเข้าสู่ SUCCESS ZONE อย่างผู้ชนะ!! 
 
แม้ว่าทุกคนย่อมรักตัวเองด้วยกันทั้งนั้น และคงไม่ยอมทำอะไรที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตประจำวัน ทำให้คนจำนวนไม่น้อยรวมถึงธุรกิจต่างๆ เลือกที่จะอยู่ใน Comfort Zone หรือพื้นที่ปลอดภัย ยอมปิดหูปิดตาตัวเอง ไม่ให้กล้าออกไปเผชิญกับความจริง

ภาพจาก bit.ly/2o5ZfLV
 
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ยิ่งธุรกิจอยู่ใน Comfort Zone นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งห่างไกลความสำเร็จ ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจจะเดินออกมาจากดินแดนที่มีแต่ความพ่ายแพ้นี้ และก้าวเข้าสู่ Success Zone ดินแดนของผู้ชนะ ออกมาเปิดหูเปิดตา ทำสิ่งใหม่ๆ  
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าหากธุรกิจไม่ออกจากโซนที่ปลอดภัยของธุรกิจ Comfort zone เพื่อเปลี่ยนแปลง และพร้อมปรับตัวรับความความท้าทายใหม่ๆ ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกับธุรกิจของตนเอง ก่อนที่จะสายเกินไป และทำให้ธุรกิจล่มสลายไปในที่สุด เพราะโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคมีเพาเวอร์ชี้ชะตาของธุรกิจต่างๆ ได้
 
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพียงช่วงข้ามคืน แต่หากไม่เริ่ม หรือเริ่มช้ากว่าย่อมหมายถึงโอกาสที่จะปรับกลยุทธ์ได้ทันต่อการตลาดยุคใหม่ก็ช้าไปด้วยเช่นกัน แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นการตื่นตัวในธุรกิจต่างๆในไทยมากขึ้น และมีการลงทุนทางเทคโนโลยีกันมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
 
อย่ายึดติดกับความสำเร็จในอดีต 
 
เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นกับ โกดัก ที่แทบหายไปจากตลาด อันเนื่องมาจากการยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ไม่พัฒนาตนเอง แม้โกดักจะทุ่มงบในการพัฒนากล้องดิจิทัล และมีการเข้าซื้อเว็บไซต์สำหรับแชร์ภาพถ่าย ที่ชื่อ Ofoto ไปเมื่อปี 2001 ถือเป็นยุคก่อนที่จะเกิด Facebook แต่โกดักไม่มองการณ์ไกลว่า จะมียุคที่โทรศัพท์กลายเป็นมากกว่าอุปกรณ์โทรเข้าหรือโทรออก
 
หรือแม้แต่ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศปิดสาขาจำนวนมหาศาลเป็นประวัติการณ์ เพราะการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ผู้บริโภคหันไปสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ทางออนไลน์ อีกทั้งค้าปลีกต่างๆ ไม่พัฒนาตัวเองนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ 

ภาพจาก bit.ly/2pv02Gv
 
ล่าสุด Forever 21 เหยื่ออีกรายได้ยื่นขอล้มละลาย เตรียมปิด 300 - 350 สาขาซึ่งรวมถึง 178 สาขาในสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งเตรียมโบกมือลาตลาดเอเชียและยุโรป แต่พร้อมปักหลักทำตลาดในแม็กซิโกและละตินอเมริกาต่อเนื่อง
 
โดยนับจากที่ 2 ผู้ก่อตั้ง Forever 21 สัญชาติเกาหลีใต้อย่าง Do Won Chang และ Jin Sook Chang ลงทุนสร้างแบรนด์ Forever 21 จากชื่อเดิม Fashion 21 ในปี 1984 ด้วยเงินออม 11,000 เหรียญสหรัฐ 
 
ภายใน 1 ปี Forever 21 มีรายได้ 700,000 เหรียญ และ 30 ปีต่อมา ทั้งคู่มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันเกือบ 6,000 ล้านเหรียญ แต่ทั้งหมดนี้กลับพังทลาย จน Forever 21 ต้องยื่นขอศาลล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 เพื่อหาทางดิ้นให้อยู่รอดต่อไป
 
ภาพจาก bit.ly/2pvCkdc
 
ภาวะล้มละลายของ Forever 21 ถูกวิเคราะห์ว่าเกิดขึ้นเพราะหลายเหตุผล 1 ในนั้นคือการแข่งขันสุดดุเดือดบนโลกออนไลน์ นอกเหนือจากคู่แข่งด้านแฟชั่นเช่น H&M และ Zara แล้ว Forever 21 ยังต้องเร่งสร้างความนิยมในวงการแฟชั่นด้วยราคาที่ไม่แพง พร้อมกับต้องดิ้นรนเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันในยุคที่วัยรุ่นหันมาซื้อเสื้อผ้าบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
 
อีกสิ่งที่ถือเป็นการบ้านท้าทาย Forever 21 คือการพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า จะสามารถสร้างสินค้าโดดเด่น เพื่อให้ Forever 21 อยู่รอดได้ต่อไป ที่ผ่านมา Forever 21 ถูกมองว่าเป็นสินค้าราคาประหยัดก็จริง แต่กลับเป็นสินค้าที่ไม่โดนใจคอแฟชั่น สวนทางกับพฤติกรรมของวัยรุ่นยุคนี้ ที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงมากขึ้นแม้จะเป็นสินค้าราคาต่ำก็ตาม
 
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งที่ผ่านมา Forever 21 ไม่เคยชูประเด็นการรักษ์โลก แต่อยู่ในกลุ่มผู้ค้าแฟชั่นยุคเก่า ที่เป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ซึ่งมีบันทึกว่าการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 8% นั่นอาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้ Forever 21 ปิดสาขา

ภาพจาก bit.ly/2o8eKCZ
 
แม้ว่าในเมืองไทยุธุรกิจค้าปลีกต่างๆ จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้าไม่ยอมพัฒนาตัวเองให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ อีกไม่กี่ปีข้างหน้าอาจต้องปิดตัวด้วยเช่นกัน เพราะตลาดอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยเริ่มเติบโตต่อเนื่อง 
 
เห็นได้ชัดเจนธุรกิจธนาคาร ก็จำเป็นต้องปิดสาขาจำนวนมาก ปรับลดพนักงานเพราเทคโนโลยี หรือสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ และนิตยสารก็ปิดตัว ปลดพนักงาน เพราะการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียต่างๆ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจต่างๆ จะต้องออกจาก COMFORT ZONE พื้นที่ที่จะไม่ปลอดภัยอีกต่อไปในวันข้างหน้า  
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
  
 
อ้างอิงข้อมูล
 
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Comfort zone อยู่ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีอีกหลายคนไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร แล้วในความเป็นจริง comfort zone คืออะไร มีหน้าตาอย่างไร แล้วเพราะเหตุใดหลากหลายตำราจึงแนะนำให้เราออกจาก comfort zone..
58months ago   2,554  5 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด