บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.3K
2 นาที
30 มิถุนายน 2563
SMEs ไทยหลังโควิด-19 ปรับตัวอย่างไร ให้เติบโต  
 

เป็นที่ทราบกันดีว่า SMEs ของไทย ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างหนัก จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป การลดลงของกิจกรรมภายนอกบ้านจากความวิตกกังวลของผู้บริโภค ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs หายไป จนบางรายถึงขั้นต้องปิดการดำเนินกิจการชั่วคราว เพราะไม่แน่ใจสถานการณ์โควิด-19 จะใช้เวลายืดเยื้อออกไปเท่าไหร่

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอแนวทางการปรับตัวของ SMEs ไทยให้อยู่รอด และเติบโตในช่วงหลังโควิด-19 สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการทุกท่าน แม้ว่าโควิด-19 อาจจะยังไม่หายไปจากโลก แต่ก็สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้
 
ธุรกิจสร้างแพลตฟอร์ม “ดิจิทัล” จับคู่ผู้ซื้อและผู้ขาย 
 
ภาพจาก bit.ly/2VvV4GM

ก่อนหน้าวิกฤตโควิด-19 คนที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่ มักจะโฟกัสไปที่ตลาดออฟไลน์เป็นหลัก ทำให้ไม่ค่อยได้วางแผนการทำตลาดในโลกดิจิทัลเท่าไหร่ แต่เมื่อวิกฤตโควิด- 19 มาถึง ก็ทำให้ตลาดออนไลน์มีคาวามคึกคักมากยิ่งขึ้น เพราะหลายคนก็คงจะได้รู้แล้วว่า ตลาดในโลกออนไลน์ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้อย่างง่ายที่สุดแล้ว
 
แต่ “แพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นตลาดแบบดิจิทัล จะมีพื้นที่ที่ไม่จำกัด และช่วยจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขายคู่ที่ดีที่สุดได้มาเจอกัน ทำให้กลไกของตลาดทำงานได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้แพลตฟอร์มยังเป็นตลาดที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติอื่น ๆ ของสินค้าได้อย่างง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ราคา สเปค และรีวิว ทำให้ในยุคนี้แพลตฟอร์มจึงเติบโตอย่างมาก จนถึงขนาดที่มีผู้ซื้อบางคนที่ไปดูสินค้าจริงที่หน้าร้านออฟไลน์ แต่กดสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ก็มี
 
การปรับตัวและการแข่งขันของธุรกิจหลังโควิด-19
1.การขายสินค้าต่างๆ และธุรกิจค้าปลีก

ภาพจาก  bit.ly/3dHaNZX
 
ต้องเพิ่มบริการขายผ่านระบบออนไลน์ ต้องนำระบบไอทีเข้ามาใช้ เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้คนหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น

2.ซัปพลายเชน หรือกระบวนการตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต

จนถึงการขายสินค้าถึงมือผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป โดยประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะหันมาให้ความสำคัญต่อการผลิตและสั่งซื้อวัตถุดิบ และสินค้าภายในประเทศ หรือสั่งซื้อสินค้าจากประเทศใกล้เคียง เพื่อป้องกันปัญหาการขนส่งอันเนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่างๆ ดังที่เกิดในช่วงวิกฤตโควิด-19 นอกจากนั้น อุตสาหกรรมบางอย่างจะมีการย้ายฐานการผลิตกลับมาประเทศไทยด้วย
 
3.การลงทุนในธุรกิจการเงินจะกระจายไปในกลุ่มธุรกิจต่างๆ มากขึ้น

ภาพจาก bit.ly/2AgKzzN

โดยนักลงทุนจะกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย มากกว่าจะลงทุนในกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้นักลงทุนตระหนักว่าธุรกิจบางอย่างที่ดูมีความมั่นคงและทำกำไรดี หากเจอภาวะวิกฤตก็อาจจะพังครืนลงมาชั่วข้ามคืน
 
4.อาชีพยูทูบเบอร์
 
ภาพจาก  bit.ly/3i9j2RX
 
นักรีวิวสินค้า นักออกแบบเว็บไซต์ แอดมินหรือผู้ดูแลเว็บไซต์และตอบคำถามลูกค้าจะเป็นอาชีพที่มาแรง
 
5.สินค้าเพื่อสุขภาพ

เช่น อาหารคลีน สมุนไพร วิตามินต่างๆ จะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ขณะที่สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ร้านอาหารที่ไม่สะอาดจะเริ่มหายไป
 
6.ธนาคารและสถาบันการเงินจะลดจำนวนสาขา

ภาพจาก bit.ly/2AerbTR
 
และปรับลดพนักงานเร็วกว่าแผนที่วางไว้ เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ E-Banking กันอย่างถล่มทลาย
 
จะเห็นได้ว่า หลังโควิด-19 ธุรกิจหลายอย่างอาจจะไม่ถึงกับเป็น New Normal แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่วิกฤตโควิด-19 มาเป็นตัวกระตุ้นให้สิ่งเหล่านี้เกิดเร็วขึ้น เช่น การลดสาขาและจำนวนพนักงานของธนาคารต่างๆ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ เมื่อวิถีนั้นๆ สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตก็จะได้รับความนิยมและดำรงอยู่ต่อไป
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด