บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
1 นาที
30 มิถุนายน 2563
ฌอน บูรณะหิรัญขาดความรับผิดชอบต่อสังคมไหม
 

กรณีที่นายฌอน บุรณะหิรัญ รับบริจาคเงินไปช่วยดับไฟป่าทางเหนือ แต่มีข้อสังเกตว่าการกระทำของนายฌอน ไม่ต้องตามหลัก “ความรับผิดชอบต่อสังคม” หรือไม่
 
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะอาจารย์ผู้สอนด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ให้ข้อคิดต่อการใช้เงินเพื่อการช่วยดับไฟป่าที่อาจไม่ต้องตามหลัก CSR มาดูกรณีศึกษาที่น่าสนใจนี้

 
นายฌอนเป็นบุคคลที่เป็นโค้ชสร้างกำลังใจ จัดกิจกรรมอบรมและเป็นวิทยากรรับเชิญมากมาย มีภาพพจน์ว่าเป็น “คนดี” ที่ทำดีเพื่อสังคมในกรณีต่างๆ เป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการปลูกป่า การบริจาคต่างๆ  ในแง่หนึ่งนับเป็นการกระทำที่น่ายกย่อง  จนมีผู้ถือเป็นแบบอย่าง และติดตามเป็นจำนวนมาก และด้วยเหตุนี้จึงได้รับผลดีที่ทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองตามไปด้วย นายฌอนได้จัดกิจกรรมรับบริจาคเงินเพื่อสู้ไฟป่าเมื่อเดือนเมษายน 2563
 
 
ประเด็นสำคัญที่ถือเป็นเรื่องที่ผิดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมก็คือ การนำเงินบริจาคจำนวนถึงราวสองแสนห้าหมื่นบาทไปใช้เพื่อการส่งเสริมการเข้าชมแฟนเพจหรือกิจกรรมเพื่อหวังให้ได้รับบริจาค  ปกติแฟนเพจของนายฌอนก็มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ในกรณีนี้ถือเป็นการนำเงินบริจาคไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ขัดกับหลักความโปร่งใส ถือเป็นผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน (Conflict of Interest) ลำพังจำนวนผู้ติดตามแฟนเพจของนายฌอนเองก็มีมากมายอยู่แล้ว การยิ่งส่งเสริมการจัดกิจกรรมนี้ ก็ยิ่งเป็นการส่งเสริมการโฆษณาตัวเอง  กรณีนี้นายฌอนควรนำเงินจำนวนนี้ไปบริจาค เพราะผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นหลักก็คือนายฌอนเอง
 
 
การใส่ชื่อผู้ซื้อสิ่งของต่างๆ เป็นบริษัท “บจก. ต๊อท ลีดเดอร์ส เลขที่ 4 หมู่ที่ 4 หมู่บ้านเศรษฐกิจ ซอย 20 ถนนเพชรเกษม แขวงและเขตบางแค กรุงเทพมหานคร” ซึ่งเป็นของนายฌอนเอง เป็นสิ่งที่ไม่สมควรเช่นกัน เพราะเท่ากับเอาเงินบริจาคมาใช้เพื่อการลดภาษีด้วยการบริจาค โดยสามารถลดค่าใช้จ่าย  การนี้ถือเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง เป็นอีกกรณีหนึ่งของ Conflict of Interest เช่นกัน
 
กรณีทั้งสองนี้จึงสะท้อนว่านายฌอนอาจขาดความรับผิดชอบต่อสังคมเท่าที่ควร  นอกจากนี้ยังมีข้อวิพากษ์อื่นๆ เช่น
  1. การนำเงินบริจาคเข้าบัญชีส่วนตัวถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนว่าอันไหนเป็นเงินบริจาค อันไหนเป็นรายได้อื่น
  2. การที่นายฌอนรับบริจาคเพื่อสู้ไฟป่า แต่กลับไปบริจาคช่วยโรงพยาบาลในพื้นที่อื่นๆ ในเรื่องอื่นๆ ถือว่าเป็นการทำที่ผิดวัตถุประสงค์
  3. ในการขอรับบริจาค คงไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  4. ยอดบริจาคต่างๆ ควรมีการแจกแจงเป็นระยะๆ เพื่อความโปร่งใส เป็นต้น
การมี CSR จะเป็นการเสริมภาพพจน์ เป็นการสร้าง Brand Value ให้กับบุคคลนั้นๆ เป็น Personal Goodwill แต่หากทำออกมาแล้ว ไม่เป็นจริงและมีข้อครหา ก็อาจทำให้ Brand Value ลดลงโดยพิจารณาดูได้จากยอด like ต่างๆ ที่อาจลดลงตามสถานการณ์  บุคคลในสังคมจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษต่อการสร้างแบรนด์ให้กับตนเองในแนวทางที่ถูกต้อง และไม่เป็นผลเสียต่อทั้งตนเองและสังคม

นายฌอนต้องเรียนรู้การสร้างแบรนด์ที่ถูกต้องตามหลัก CSR ที่เน้นที่การทำการใดๆ ที่ไม่ผิดกฎหมาย มีมาตรฐานจรรยาบรรณและไม่ข้องเกี่ยวกับการทุจริต
 
 
ที่มา : https://bit.ly/3ipqZma
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด