บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.5K
2 นาที
12 พฤษภาคม 2564
9 ทริค ตั้งชื่อร้านเครื่องดื่ม ให้ดังบนโลกโซเชียล!


การเปิดร้านค้าในยุคนี้อาศัยขายหน้าร้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีช่องทางการขายออนไลน์ร่วมด้วย ร้านค้า-เครื่องดื่มหลายร้านที่ใช้บริการเดลิเวอรี่มียอดขายเพิ่มขึ้นมาก แต่การจำร้านเข้าร่วมแอพเหล่านี้  “ชื่อร้าน” เป็นสิ่งสำคัญ การตั้งชื่อร้านต้องให้ติดคำค้น เป็นคำที่คนส่วนใหญ่รู้จัก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จึงได้รวบรวม 9 เทคนิคการตั้งชื่อร้านให้คนในโซเชี่ยลได้รู้จักมากขึ้น ซึ่งการตั้งชื่อนี้ก็สัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้านแบบทั่วไปเพื่อดึงลูกค้าที่เดินผ่านไปมาหน้าร้านให้สนใจได้ด้วย
 
1.อย่าใช้ชื่อที่ซ้ำกับคนอื่น
 

สิ่งสำคัญก่อนเปิดร้านคือต้องเช็คให้ดีก่อนว่า ว่าชื่อร้านที่เราคิดไว้นั้น มีอยู่แล้วหรือไม่ เพราะหากเป็นชื่อที่มี ก่อนแล้วนั้น เราจะเป็นผู้ตามทันที ยิ่งถ้าเราเชื่อเหมือนกับร้าน ที่มีเชื่อเสียงอยู่แล้ว นอกจากลูกค้าจะจำเราไม่ได้แล้ว ยังเสี่ยงที่จะเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย
 
2.ชื่อร้านที่บอกถึงสินค้าเราได้

โดยชื่อร้านที่ดีต้องให้สอดคล้องกับสินค้าที่จะขาย เทคนิคนี้ ใช้ได้ดีกับร้าน อาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น มาก เพราะแค่ตั้งชื่อร้านเป็น ภาษานั้นๆ ลูกค้าก็รู้สัญชาติทันที ถ้าเป็นร้านเครื่องดื่ม ก็ควรที่จะลงท้าย ด้วยคำ ที่เกี่ยวข้อง กับเครื่องดื่มนั้นๆ เช่น ลงท้ายด้วยคำว่า ไข่มุก สมูทตี้ หรือ ปั่น เป็นต้น
 
3.เล่นคำ หรือสำนวนวัยรุ่น
 
ภาพจาก facebook.com/NOMBALEN/

กลุ่มเป้าหมายของร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่คือวัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน ดังนั้นชื่อร้านต้องมีความกิ๊บเก๋ และน่าสนใจ โดยอาจเล่นคำหรือใช้สำนวนที่น่าสนใจเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสะดุดตา เทคนิคง่ายๆคือ ลองหาคำที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว นำมาแปลงให้ เป็นชื่อร้านให้ น่าสนใจ เช่น ร้านโตนม , ร้านนมบ่ะเล่น , ชาเย็นสองสี , ชาชักรักเธอ เป็นต้น
 
4.ชื่อที่ทำให้ลูกค้าจินตนาการถึงรสชาติได้
 
เป็นหลักจิตวิทยากับการตั้งชื่อที่เหมือนการชักนำให้คนรู้สึกคล้อยตาม ชื่อร้านลักษณะนี้จะเหมือนให้ลูกค้าจินตนาการตามว่าเมื่อได้สัมผัสรสชาติเครื่องดื่มแล้วจะเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นร้านชาละมุน , ร้านวาไรตี้ชาไข่มุก เป็นต้น
 
5.ชื่อร้านที่เกิดจากความชอบและแรงบันดาลใจ
 
ภาพจาก facebook.com/thinkcafeatthebloc/

โดยหยิบเอาความชอบส่วนตัว และแรงบันดาลใจในการทำร้าน เอามาตั้งชื่อร้าน ซึ่งอาจเป็นความรู้สึกเจ้าของร้าน หรือใช้บรรยากาศรอบร้านเป็นชื่อร้าน หรือใช้ชื่อสินค้าที่ขายดีมาเป็นชื่อร้าน อาจเพิ่มภาษาอังกฤษเข้าไปเพื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น โดยร้านที่ตั้งชื่อในลักษณะนี้เช่น THINK cafe at the BLOC , ร้านฟองนม , เอทีเอ็มบาร์ เป็นต้น
 
6.นำไปตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ เพจโซเชียลมีเดียได้ง่าย
 
ปัจจุบันนี้การขายของใน Social Media และอินเทอร์เน็ตนั้นมีสัดส่วนการตลาดที่สูงมาก ยิ่งในยุคบริการเดลิเวอรี่กำลังเป็นที่นิยม การนำร้านเข้าร่วมกับแอพบริการเหล่านี้คือหนทางเพิ่มยอดขายได้อย่างดี ซึ่งแน่นอนว่าชื่อร้านของเราก็สำคัญจึงควรให้เป็นชื่อที่คนทั่วไปค้นหาได้ง่าย ยิ่งทำให้ติดคำค้นหาได้จะยิ่งดี คนที่ต้องการสินค้าเดลิเวอรี่จะได้เห็นร้านเราในโซเชี่ยลได้ง่ายขึ้น
 
7.ชื่อร้านที่ลอกเลียนแบบได้ยาก
 

การตั้งชื่อร้านก็ต้องมองถึงอนาคตหากเรากลายเป็นร้านดัง ขายดี มีคนสนใจมาก ย่อมต้องมีคนอื่นเปิดแข่ง และมีการตั้งชื่อที่ใกล้เคียงกับชื่อร้านเราจนลูกค้าเกิดความสับสน ดังนั้นการตั้งชื่อร้านที่ดีจึงควรให้ลอกเลียนแบบได้ยาก เช่น CoCo Fresh Tea & Juice , ชอบชา , บั๊บ , คามุ คามุ ที  เป็นต้น
 
8.ชื่อร้านที่เป็นศิริมงคล
 
การตั้งชื่อร้านที่เป็นมงคลช่วยทำให้เจ้าของร้านเองมีกำลังใจที่ดีในการเริ่มกิจการ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักเชื่อในเรื่องศาสตร์ของการตั้งชื่อ บางคนไปดูฤกษ์ยาม อักษรกาลกิณี ซึ่งการตั้งชื่อร้านในลักษณะนี้มักมีตัวเลขมาประกอบด้วยเช่น ร้าน ชา 9 หน้า , ร้านถุงเงินถุงทอง ชาไข่มุก , ร้านน้ำปั่น เงินแสน เป็นต้น
 
9.ใช้คำอุทาน คำตกใจ ตั้งชื่อร้าน
 
การเลือกใช้เทคนิคนี้ในการตั้งชื่อร้าน ต้องพยายามไม่ใช้คำที่รุนแรงหรือหยาบคาย แต่คำอุทานที่ใช้ควรเป็นคำทั่วไป เช่น โอ๊ะ! , ว้าว! , เฮ้ย  เช่น ร้านชานม ว้าว ว้าว ว้าว  , ร้าน โอ๊ะ ชานม โคตรรอร่อย หรือร้าน ชานมเว้ยเฮ้ย! เป็นต้น ส่วนใหญ่การตั้งชื่อแบบนี้จะค่อนข้างโดดเด่นแต่ก็ควรหลีกเลี่ยงคำที่รุนแรงเกินไปด้วย
 
นอกจากชื่อที่แตกต่างแล้ว การตั้งชื่อก็ควรสะท้อนให้เห็นถึง ธุรกิจเราด้วย เช่นถ้าคู่แข่ง เปิดร้าน สมูทตี้ และใช้คำนำหน้าหรือพ่วงท้าย เป็น สมูทตี้ เราก็ควรเลี่ยง คำเดียวกัน อาจจะใช้คำอื่น ที่ไกล้เคียง หรือคำที่ สะดุดตาลูกค้ามากกว่า หรือไม่เราก็ลองหา คำที่ฮิตๆ หรือ ประโยคสั้นๆ ที่ดูน่าสนใจมาปรับ และประยุกต์ใช้ดู อาจจะลองสร้างคำใหม่ๆขึ้นมา โดยอาจลิสต์ รายชื่อที่คิดไว้ สัก 5-10 ชื่อ แล้วนำมา วิเคาระห์ ดูว่า ชื่อไหนที่เหมาะสมกับร้าน มากที่สุด ตัดออกทีละชื่อ เพื่อให้ได้ชื่อที่ดีที่สุด
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3h6oTZV , https://bit.ly/3f0yoqS , https://bit.ly/3twoLG1 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
แค่ใส่ใจ ใช้ให้เป็น Data-Driven Marketing อาวุธล..
2,362
ผู้กำกับ งานหด...สู่ครีเอเตอร์ TikTok ปั้นคอนเทน..
2,201
เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น! ทุบธุรกิจไทย เจ๊งแล้ว เจ๊..
1,288
จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven
1,025
ร้านอาหารไทย หมดแรง กำลังซื้อหด ต้นทุนสูง ปิดตัว..
1,004
พลิกโฉม! 5 เทคนิค ทำธุรกิจแนวญี่ปุ่น ไม่เคยบอกใคร
927
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด