บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
36K
3 นาที
1 กันยายน 2565
รวมข้อดี-ข้อเสีย การจัดตั้งธุรกิจในแต่ละรูปแบบ
 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนคิดจะสร้างธุรกิจของตัวเองคือ “รูปแบบของธุรกิจ” ที่แต่ละแบบล้วนมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปการจะเลือกว่าควรจัดตั้งธุรกิจแบบไหนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของกิจการนั้น ๆ โดยดูจากเรื่องธุรกิจที่ทำ, แนวทางการบริหาร, เงินทุน และทรัพยากรที่มี ซึ่ง www.ThaiFranChiseCenter.com ได้รวบรวมข้อมูลให้คนที่สนใจได้ศึกษาว่าธุรกิจแต่ละประเภทเป็นแบบไหนอย่างไรและมีจุดเด่น ข้อเสียอะไรบ้าง
 
1.ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
 

กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole or Single Proprietorship) เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ และบริหารจัดการธุรกิจทุกเรื่องด้วยตนเอง การประกอบธุรกิจในรูปแบบนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ มีวิธีการดำเนินงานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก การบริหารจัดการต่างๆ มีความคล่องตัวสูง และเป็นธุรกิจที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่น หาบเร่ แผงลอย ร้านขายของชำ ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า เป็นต้น 

ข้อดี
  • จัดตั้งง่าย ใช้เงินน้อย
  • เจ้าของกิจการมีอำนาจตัดสินใจโดยตรง
  • กำไรอยู่ที่เจ้าของทั้งหมด
  • ข้อบังคับกฎหมายน้อย
  • เลิกกิจการง่าย
ข้อเสีย
  • เงินทุนมีจำกัด
  • หากมีหนี้สิน เจ้าของกิจการรับผิดชอบเพียงคนเดียว
  • เสียประโยชน์ด้านภาษี เนื่องจากรายได้จะต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
  • ระดมทุนได้ยาก
  • กิจการมีอายุจำกัด โดยจะคงอยู่เมื่อเจ้าของมีชีวิตอยู่
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
 

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือที่นิยมเรียกกันว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” คือ การตกลงทำกิจการร่วมกันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไป โดยเกิดจากความสมัครใจของบุคคลที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน มีการตกลงได้เสียร่วมกัน โดยอาจมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีก็ได้ แต่จะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้น เช่น เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน

โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำกำไรมาแบ่งร่วมกัน มีข้อดีคือจัดตั้งได้ง่ายและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการประกอบกิจการแบบคนเดียว เพราะมีหุ้นส่วนช่วยแบ่งเบาภาระ ซึ่งห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงมีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ทั้งนี้ หุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนจะไม่แยกจากกัน ดังนั้น หุ้นส่วนทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบหนี้สินอย่างไม่จำกัดและเจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องบุคคลใดก็ได้

ข้อดี
  • มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการคนเดียว
  • ความเสี่ยงน้อย เพราะมีผู้มาร่วมบริหารความเสี่ยง
  • จัดตั้งง่าย เลิกกิจการง่าย
ข้อเสีย
  • ระดมทุนได้เฉพาะผู้ถือหุ้นส่วน
  • มีอายุจำกัด หากหุ้นส่วนถอนตัว หรือเสียชีวิตลง
  • เสียภาษีซ้ำซ้อน นอกจากจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาแล้ว ห้างฯ ยังต้องแบ่งกำไรให้กับหุ้นส่วนแล้วนำไปเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกต่อหนึ่ง
  • หุ้นส่วนต้องรับผิดชอบหนี้สินของห้างฯ อย่างไม่จำกัด
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน
 

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” เป็นรูปแบบของห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนชนิดที่ “ไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายถึงหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนในกรณีห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้อย่างเท่าเทียมกัน

ข้อดี
  • มีแหล่งเงินทุนมากกว่าเจ้าของกิจการคนเดียว
  • ความเสี่ยงน้อย เพราะมีผู้ร่วมเฉลี่ยความเสี่ยง
  • จัดตั้งง่าย เลิกกิจการง่าย
  • มีความน่าเชื่อถือกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ
  • ได้ประโยชน์ทางภาษีมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ
ข้อเสีย
  • ผู้ถือหุ้นต้องรับภาระหนี้สินของห้างฯ อย่างไม่จำกัด
  • มีอายุจำกัด ความเป็นห้างสิ้นสุดลงเมื่อหุ้นส่วนถอนตัว หรือเสียชีวิต
4.ห้างหุ้นส่วนจำกัด


ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) เป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วนที่จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงมีผลทำให้กิจการนั้นเสมือนเป็นบุคคล และมีสิทธิดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ และหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ

ข้อดี
  • ผู้ลงทุนที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบมีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องรับผิดชอบมากกว่าส่วนที่ตนลงทุน
  • มีแหล่งเงินทุนมากกว่าเจ้าของคนเดียว
  • จัดตั้งง่าย เลิกกิจการง่าย
  • ได้ประโยชน์ทางภาษีมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากการเสียภาษีนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่าย
  • มีความเสี่ยงน้อยลง เพราะมีผู้ร่วมบริหารเสี่ยง
ข้อเสีย
  • ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก
  • มีค่าใช้จ่ายการบริหารงานสูง
  • ยกเลิกกิจการได้ยาก เพราะต้องมีการชำระบัญชี และจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ต้องทำบัญชี และจัดส่งงบดุล
5.บริษัทจำกัด
 

บริษัทจำกัด (Corporation) เป็นการประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากกิจการ ซึ่งจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน และมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน โดยผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่
 
ในปัจจุบันประเทศไทยแบ่งบริษัทจำกัดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บริษัทเอกชน จำกัด (แบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน โดยมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน 100 คน) และ บริษัทมหาชนจำกัด (จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ซึ่งถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ)

ข้อดี
  • มีความน่าเชื่อถือ
  • ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องบริหารเอง
  • ระดมเงินทุนได้มาก
  • ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการเพียงมูลค่าที่ตนยังค้างชำระเท่านั้น เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
  • ขาย หรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้
  • บริษัทยังดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้ผู้ถือหุ้นจะเสียชีวิตหรือล้มละลาย
ข้อเสีย
  • ขั้นตอนจัดตั้งยุ่งยาก
  • ค่าใช้จ่ายบริหารสูง
  • ยกเลิกกิจการได้ยากต้องมีการชำระบัญชี และจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ต้องจัดทำบัญชี จัดส่งงบดุล
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบสหกรณ์ (Cooperative) ซึ่งมีคณะบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ที่มีอาชีพความต้องการ ความสนใจที่คล้ายคลึงร่วมกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ การครองชีพของสมาชิกและครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
 
และการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ(State Enterprise) รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐบาลเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มีระบบการบริหารงานอยู่ระหว่างราชการและเอกชน โดยคำนึงถึงหลักสำคัญทางการบริหารให้เป็นไปตามขั้นตอน เพื่อป้องกันการทุจริต ตลอดจนความสงบสุขของประชาชนในประเทศเป็นหลักสำคัญ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด