บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.1K
2 นาที
13 กันยายน 2566
กะทิชาวเกาะเกือบเจ๊ง! พลิกวิกฤติสร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านบาท
 

“กะทิชาวเกาะ” จากร้านขายมะพร้าวลูกในตลาด กลายเป็นบริษัทกะทิ 10,000 ล้านบาท ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ผ่านวิกฤตมามากมาย ทั้งขาดทุน ตลาดไม่เปิดรับ ด้วยความที่ไม่ท้อ ไม่ยอมแพ้ของครอบครัว “เทพผดุงพร” จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักรเทพผดุงพรมะพร้าว และ อำพลฟูดส์ ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเมืองไทย 
 
จุดเริ่มต้น กะทิชาวเกาะ 
 

ภาพจาก https://citly.me/Z3FXa

ย้อนกลับไปเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว คุณจรีพร และ คุณอำพล เทพผดุงพร 2 สามีภรรยา เปิดร้านมะพร้าวลูกในห้องแถวเล็กๆ 2 คูหา แยกมหานาค ริมคลองผดุงกรุงเกษม กิจการรุ่งเรืองอย่างมาก ไม่มีคู่แข่ง หลังจากนั้นย้ายร้านไปริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตลาดท่าเตียน ใช้ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุดมมะพร้าว” เพราะการขนส่งทางเรือสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย 
 
กิจการค้าขายมะพร้าวลูกของคุณจรีพรและคุณอำพลในช่วงนั้น ถือว่ารุ่งเรืองเอามากๆ มีเงินเก็บ ถึงขั้นส่งลูกทั้ง 5 คนไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะพวกเธออยากเห็นลูกๆ ของตัวเองได้รับการศึกษาที่ดีกว่าพวกเธอที่จบเพียงแค่ชั้น ป.4 
 
เมื่อลูกชายเรียนจบจากต่างประเทศ ได้แนะนำให้คุณจรีพรและคุณอำพล เปลี่ยนจากการขายมะพร้าวลูก มาผลิตกะทิสำเร็จรูปแบบพาสเจอร์ไรส์แทน ตอนนั้นคุณจรีพรเชื่อมั่นในตัวลูกชาย จึงยอมเปลี่ยนทั้งที่ไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า

ภาพจาก https://citly.me/9yKO2
 
ต่อมาได้ก่อตั้งบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ขึ้นในปี 2519 ที่ จ.นครปฐม ผลิตกะทิสำเร็จรูป ปรากฏว่าขาดทุน เพราะคนไทยไม่ตอบรับกะทิสำเร็จรูป ชอบกะทิคั้นสดๆ แต่คุณจรีพรและคุณอำพล ไม่ท้อ ไม่ยอมแพ้ แม้จะเหนื่อยจนแทบจะไม่อยากไปต่อ แต่พยามลุกขึ้นสู้ต่อ ตอนที่ขายไม่ได้ คุณจรีพรเอาไปฝากให้แม่ค้าตามร้านต่างๆ ขาย ไปอ้อนวอนให้ช่วยซื้อหน่อย เขาก็บอกไม่เอา คุณจรีพรไม่ลดความพยายามขอให้แม่ค้าช่วย บอกแม่ค้าขายได้ก็เก็บเงิน ขายไม่ได้ไม่เอาเงิน 
 
ประกอบกับตอนนั้นให้ทดลองใช้ฟรี คุณจรีพรและครอบครัวใช้เวลากว่า 3 ปี กะทิชาวเกาะจึงได้รับการยอมรับ และพัฒนาสินค้าออกเป็นกะทิกระป๋อง และกะทิผง จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักรเทพผดุงพรมะพร้าว มีรายได้ 8 พันกว่าล้านบาท 
 
กะทิปัง ผลไม้กระป๋องไม่ปัง
 
ภาพจาก www.tcc-chaokoh.com

ชื่อ “กะทิชาวเกาะ” มาจากเกาะสมุยที่ปลูกมะพร้อมมากสุด เดิมจะใช้ชื่อแบรนด์ “สมุย” แต่ไม่สามารถตั้งได้เพราะเป็นชื่อเกาะ แม้ว่ากะทิชาวเกาะจะประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ แต่มีสินค้าหลายตัวที่บริษัทฯ ผลิตขึ้นและเปิดตัวในตลาดไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น น้ำส้มสายชู พัฒนาขึ้นจากน้ำส้มหมักกับมะพร้าว แต่ผู้บริโภคหันไปใช้น้ำส้มกลั่น แม้แต่ผลไม้กระป๋อง เงาะ ลำไย ก็ขายไม่ได้ สู้คู่แข่งไม่ได้เพราะเขาปลูกผลไม้เอง
 
ต่อมาตลาดต่างประเทศมีความต้องการผักผลไม้สด บริษัทฯ จึงได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมา คือ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ขึ้นในปี 2531 รองรับการผลิตผัก ผลไม้สดแช่แข็งส่งออกต่างประเทศ โดยในเวลานั้นทั้ง 2 บริษัททำการผลิตผลไม้ผักแช่แข็งส่งออกไปพร้อมๆ กัน รวมถึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงและประกอบอาหารส่งออกมากมาย ครอบคลุมลูกค้ากว่า 36 ประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เอเชีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น
 

ภาพจาก www.facebook.com/CHAOKOH.TH/
 
ปี 2536 หลังตั้งโรงงานอำพลฟูดส์ได้ไม่นาน ตลาดต่างประเทศเริ่มลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากอำพลฟูดส์ อ้างว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ เพียงเพราะต้องการนำเข้าสินค้าจากจีนเพราะราคาถูก ทางบริษัทฯ จึงต้องปรับตัว หันมาทำตลาดในประเทศอย่างจริงจัง เพราะช่วงนั้นคนไทยเริ่มเปิดรับกะทิสำเร็จรูปมากขึ้น ทำให้บริษัทฯ มั่นใจในการทำตลาดเมืองไทย 
 
โดยในปี 2538 เริ่มออกผลิตภัณฑ์กะทิชาวเกาะสำเร็จรูป UHT สู่ตลาด เพราะผู้บริโภคต้องการความสดใหม่ ใช้สะดวก เก็บไว้ได้นาน ในช่วงปี 2540-2541 กะทิสำเร็จรูปขายดีเป็นอย่างมาก ทุกครอบครัว รวมถึงร้านอาหารกล้าที่จะใช้อย่างเปิดเผย บริษัทฯ จึงเดินหน้าทำการตลาดกะทิสำเร็จรูปอย่างจริงจังในไทยจนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังแตกไลน์ไปสู่ผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำแกงพร้อมปรุง เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
 

ภาพจาก www.facebook.com/CHAOKOH.TH/
 
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในเครือเทพผดุงและอำพลฟูดส์มีมากมาย อาทิ กะทิ ตราชาวเกาะ, รอยไทย, เครื่องดื่มธัญญาหาร ตราวี-ฟิท, โปร-ฟิท, เครื่องปรุงอาหาร ตรารอยไทย, แม่พลอย, เครื่องปรุงรส ตรากู๊ดไรฟ์, แม่พลอย, น้ำมันมะพร้าวและขนมมะพร้าว ตราชาวเกาะ, คิงไอแลนด์ และ ผลไม้กระป๋อง ตราชาวเกาะ, ยอดดอย, ทีซีซี 
 
รายได้เจ้าของแบรนด์ กะทิชาวเกาะ
 
ภาพจาก www.facebook.com/CHAOKOH.TH/ 

บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (ผลิตเครื่องปรุงอาหารและประกอบอาหาร)
  • ปี 63 รายได้ 6,283 ล้านบาท กำไร 94.1 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 7,195 ล้านบาท กำไร 891 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 8,067 ล้านบาท กำไร 1,443 ล้านบาท
บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด (ผลิตกะทิคั้น เครื่องดื่มธัญพืช บรรจุกล่อง UHT)

 
ภาพจาก https://citly.me/Mjgfu
  • ปี 63 รายได้ 3,574 ล้านบาท กำไร 82 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 3,953 ล้านบาท กำไร 145 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 3,442 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่ารายได้บริษัทเจ้าของแบรนด์ “กะทิชาวเกาะ” ในปี 2565 หลักพันล้านบาท ถ้านำรายได้ทั้ง 2 บริษัทรวมกันเฉพาะปี 2565 จะมีรายได้กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท กำไรมากกว่า 1.5 พันล้านบาท 
 
สิ่งที่ทำให้แบรนด์กะทิชาวเกาะประสบความสำเร็จในวันนี้ มาจากความขยัน อดทน มุมานะ ไม่ย้อมแพ้ ของคุณจรีพรและคุณอำพลในการค้าขาย ก่อนส่งไม้ต่อให้ทายาทรุ่น 2 และ 3  พัฒนาสินค้าใหม่ๆ รักษาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ราคาสินค้ายุติธรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าอย่างยาวนาน จึงทำให้ลูกค้าช่วยบอกปากต่อกันต่อ
 
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/seminar/franchise_course.php 
 
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/trademark/ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิง

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,691
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
464
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด