บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.8K
3 นาที
30 สิงหาคม 2562
หมดยุคเสือนอนกิน! ธุรกิจโรงภาพยนตร์


คำว่าหมดยุคเสือนอนกิน!ธุรกิจโรงภาพยนตร์ไม่ได้หมายความว่า “ธุรกิจโรงภาพยนตร์ กำลังจะหายไป” จากเดิมที่โรงภาพยนตร์เหมือนเป็นจุดนัดพบของวัยรุ่น หนุ่มสาว  ไม่รู้จะทำอะไรไม่รู้จะไปเที่ยวไหน ก็ไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ นั่นคือภาพในอดีตที่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไป
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าการถูกเทคโนโลยี Digital เข้ามา Disrupt คือเหตุผลที่ทำให้ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ “ต้องดิ้นรนมากขึ้น” ไม่ใช่เสือนอนกินที่รอให้คนเข้ามาชมหนังอย่างเดียว

โรงภาพยนตร์ยุคใหม่ต่างหากที่ต้องปรับตัวเข้าหาผู้ชมมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการปรับปรุงโฉมใหม่ของโรงภาพยนตร์เพิ่มความสะดวกสบายต่างๆ  เทคโนโลยีการฉายหนังในแบบต่างๆที่มีความสมจริงสมจังมากขึ้น เหล่านี้คือหลักฐานชัดเจนว่า “หากไม่คิดปรับปรุงธุรกิจ ไม่มีทางจะสร้างรายได้ที่ดีแน่นอน”
 
ตัวเลขเฉลี่ยของคนไทยต่อการดูหนังในโรงภาพยนตร์
 
ภาพจาก bit.ly/2ztrtlQ

คนไทยดูหนังที่โรงภาพยนตร์ เพียงแค่ 0.78 เรื่องต่อคนต่อปี  ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่อุตสาหกรรมบันเทิงขยายตัว อย่างเกาหลีใต้ อุตสาหกรรมบันเทิงสร้างชื่อและรายได้ให้กับประเทศ ทำให้คนที่นั่นเข้าโรงภาพยนตร์ดูหนังโดยเฉลี่ย 4 เรื่องต่อคนต่อปี หรือประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ เข้าโรงภาพยนตร์ดูหนังโดยเฉลี่ย 3 เรื่องต่อคนต่อปี 

ข้อมูลดังกล่าวใกล้เคียงกับ “TDRI” จัดทำรายงาน “เศรษฐศาสตร์โรงหนัง” เผยว่า ในประเทศแถบเอเชีย พบว่าคนไทยดูหนังที่โรงภาพยนตร์เกือบน้อยที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น 1.5 เรื่องต่อคนต่อปี / มาเลเซีย 2.1 เรื่องต่อคนต่อปี / อินเดีย 2.5 เรื่องต่อคนต่อปี / เกาหลีใต้ 3.3 เรื่องต่อคนต่อปี / ฮ่องกง 3.4 เรื่องต่อคนต่อปี / สิงคโปร์ 4.3 เรื่องต่อคนต่อปี รวมไปถึงประเทศที่ผลิตและส่งออกหนังอันดับ 1 ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ดูหนังโดยเฉลี่ย 4.8 เรื่องต่อคนต่อปี
 
Netflix และสมาร์ทโฟน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อธุรกิจโรงภาพยนตร์
 
ภาพจาก bit.ly/2HBb8QF

ธุรกิจโรงภาพยนตร์หลายคนมองว่าถูก Digital เข้ามา Disrupt เพราะการเข้ามาของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่างๆ อย่าง Netflix และ iflix แม้อาจจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีผลอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งการถือกำเนิดของแพลตฟอร์มวิดีโอเหล่านี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็เป็นตัวกระตุ้นให้ความนิยมในการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งเพิ่มสูงขึ้น 

โดยในระยะเวลาเพียง 1 ปี ยอดคนไทยที่รับชมวิดีโอออนไลน์เป็นประจำทุกวันได้พุ่งสูงขึ้นจาก 45% ในปี 2017 สู่ 57% ในปี 2018 ซึ่ง Netflix จะรวบรวมหนังในอดีตมาให้เลือกชม แต่ยังมีการสร้าง Original Content เป็นของตนเอง และนำมาฉายให้ผู้ใช้บริการได้รับชม

โดยที่ไม่จำเป็นต้องฉายในโรงภาพยนตร์ก่อนพอเรื่องเป็นแบบนี้ความสดใหม่ของตัวหนัง ดูใน Netflix ก็อาจไม่แพ้ การไปดูที่โรงภาพยนตร์และค่าบริการรายเดือนของ Netflix ที่จะดูกี่เรื่องก็ได้ อยู่ที่ 280 – 420 บาท

เทียบเท่ากับการไปดูหนังในโรงได้ราว 1 – 2 เรื่องและล่าสุด Netflix ได้ออกแพ็กเกจใหม่ถ้าดูในสมาร์ตโฟนอย่างเดียว ดูกี่เรื่องก็ได้จะเสียเพียงเดือนละประมาณ 140 บาทคำถามคือ แล้วตอนนี้คนอยู่บ้านดู Netflix หรือ ยังไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์?
 
ตัวเลขรายได้ของโรงภาพยนตร์ไม่ได้ลดลงแต่ต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้น
 
ภาพจาก  media.netflix.com/en/

Netflix เริ่มให้บริการ Streaming เมื่อปี 2007 หรือ 11 ปีที่แล้ว ตอนนั้น Netflix มีรายได้ 40,000 ล้านบาท ส่วนหนัง Box Office มีรายได้ทั่วโลก 860,000 ล้านบาท รายได้ Netflix มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของรายได้ Box Office ผ่านมาถึงปี 2017 Netflix มีรายได้ 390,000 ล้านบาท ส่วนหนัง Box Office มีรายได้ทั่วโลก 1,340,000 ล้านบาท
 
เห็นได้ว่าธุรกิจของ Netflix มีการเติบโตที่รวดเร็ว รายได้เพิ่มขึ้น 10 เท่า เมื่อเทียบกับรายได้ของหนังในโรงภาพยนตร์ที่เติบโตน้อยกว่าในปัจจุบัน Netflix ได้ก้าวขึ้นมามีสัดส่วนมากถึง 29.1% ของรายได้ Box Office  อย่างไรก็ตามจากตัวเลขของ Box Office ที่เติบโตขึ้น อาจสะท้อนให้เห็นว่า Netflix อาจจะยังไม่ได้แทนที่โรงภาพยนตร์เสียทีเดียว แต่กลับสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างน้อยก็ ณ ตอนนี้คนที่ดู Netflix ไม่ได้แปลว่า เขาจะไม่ไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ 
 
เพราะแม้ว่า Netflix จะมีคอนเทนต์เป็นของตัวเอง แต่ก็ยังถูกมองว่า คุณภาพยังไม่สามารถเทียบกับหนังฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวูดได้ 
 
ถ้ามองที่เรื่องต้นทุนเฉลี่ยแล้วภาพยนตร์ดังที่เข้าโรง มีต้นทุน 7,000 ล้านบาท เรียกได้ว่า มูลค่าการลงทุนของ Netflix ไม่ได้น้อยไปกว่า หนังฮอลลีวูด ดังนั้นคุณภาพของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะจากเจ้าไหน ย่อมถูกคาดหวังให้มีการพัฒนาสูงขึ้นเรื่อยๆสุดท้ายแล้ว อาจกลายเป็นว่า ผู้บริโภคก็มีทางเลือกให้ดูทั้งสองอย่าง เมื่อมีหนังดังเข้าใหม่ ก็ไปดูที่โรงภาพยนตร์ จากนั้นกลับมาบ้าน มีเวลาว่างก็ดูหนังใหม่ๆ ของ Netflix ต่อ
 
กลยุทธ์การดิ้นรนของธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเมืองไทย
 
ภาพจาก bit.ly/2ztrtlQ

สำหรับในประเทศไทยนั้น หากพูดถึงธุรกิจโรงหนัง คงต้องนึกถึง Major Cineplex กับ SF Cinema ซึ่งผลประกอบการของทั้งสอง ยังคงมีการเติบโต ตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลก ในปี 2017 Major Cineplex มีรายได้9,937 ล้านบาท กำไร 1,193 ล้านบาท ส่วน SF Cinema ในปี 2017 เช่นกันมีรายได้ 3,793 ล้านบาท กำไร 175 ล้านบาท
 
เมื่อดูในกลยุทธ์ด้านการตลาดจะพบว่าทั้ง Major Cineplex และ SF Cinema ต่างพยามปรับตัวเข้าหาลูกค้ามากขึ้น ดูได้จากการลงทุนในรูปแบบใหม่ๆ เช่น Major Cineplex จากเดิมที่มักจะขยายสาขากับศูนย์การค้าใหญ่ๆ อย่างเซ็นทรัล หรือเดอะมอลล์ ก็เริ่มขยายไปพร้อมกับไฮเปอร์มาร์เก็ตอย่างเทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, โรบินสัน และท็อปส์มากขึ้น ซึ่งทั้ง 4 แบรนด์นี้ก็มีกลยุทธ์เดียวกันคือสร้างโมเดลใหม่ๆ และเจาะเมืองรองมากขึ้น เป็นการขยายฐานลูกค้า อาจจะแค่ 1-2 โรง/สาขา ทำให้งบลงทุนในแต่ละปีลดลง 20% เหลือราว 700-800 ล้านบาท จากปกติมีการลงทุนเฉลี่ยปีละ 1,000-1,200 ล้านบาท

 
ภาพจาก bit.ly/2HA8JWt
 
หรือ SF Cinema ที่ปฏิวัติการซื้อตั๋วจากเดิมที่ต้องไปซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์ ในยุคนี้ทั้ง SF Cinema และMajor Cineplex ต่างพัฒนาช่องทางการซื้อตั๋วผ่านระบบออนไลน์ เพื่อความสะดวก – รวดเร็ว และนอกจากบนออนไลน์แล้ว ขณะนี้ยังมีตู้ขายตั๋ว Kiosk ตั้งอยู่หน้าโรงภาพยนตร์ สำหรับบริการตัวเอง โดย SF Cinema ที่จริงจังเรื่องนี้เป็นพิเศษ จากปี2559 ตู้ขายตั๋วอัตโนมัติอยู่ที่ 7% ต่อมาปี 2560 เพิ่มขึ้นมาเป็น 15% และคาดว่าจะมากยิ่งขึ้นในปีถัดๆไป โดยตั้งเป้ายอดจำหน่ายตั๋วจากเครื่องอัตโนมัติไม่ต้องกว่า 20 ล้านใบ
 
ยังไม่รวมเรื่องที่ทั้ง โดยนับจากนี้ทั้ง Major Cineplex และ SF Cinema” เริ่มนำคลังข้อมูลลูกค้าสมาชิกบัตร มาวิเคราะห์ เพื่อต่อไปจะได้สื่อสาร และนำเสนอโปรโมชั่น หรือสิทธิพิเศษได้แบบ Personalization เพื่อในระยะยาวฐานลูกค้าสมาชิกบัตร จะเป็น Customer Loyalty ที่ผูกพันกับโรงภาพยนตร์ที่ตนเองใช้บริการบ่อย และมีโอกาสสูงในการเพิ่มความถี่การดูหนังที่โรงภาพยนตร์
 
ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือเหตุผลที่บอกได้ชัดเจนว่า “ธุรกิจโรงภาพยนตร์” ก็จำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างรุนแรงเพื่อรักษาฐานลูกค้าและเพื่อต่อสู้กับกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ผลกระทบโดยตรงจะไม่ชัดเจนแต่ภาพรวมก็ถือว่ามีผลกระทบเป็นอย่างมาก หากค่ายไหนที่ทำธุรกิจโรงภาพยนตร์แล้วปรับตัวไม่ทันรับประกันว่าโดนกลืนกินหายไปแน่นอน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
ย้อนกลับไปสัก 10-15 ปีก่อน เป็นยุคเรืองรองของธุรกิจร้านเกมส์และ Internet Café ยุคนั้นถือว่าเฟื่องฟูจริงๆ จำได้ว่าตอนอยู่ประมาณ ม.ปลาย เราเคยสนุกมากกับการไปเล่นเกมส์ Winning เลิกเรียนต้องรีบไปร้านเกมส์บางทีก็ไปไม่ทันคนอื่นเขามาเล่นกันเต็ม ต้องนั่งรอ ก็ยอม ค่าใช้จ่ายในการเล่นก็แค่ 15-..
59months ago   2,492  6 นาที
น่าสนใจว่าธุรกิจยุคใหม่ต่อจากนี้จะมีการปรับตัวอย่างไรให้ก้าวทันกระแสเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกิจอย่างแท้จริง ในอดีตมีหลายธุรกิจที่เคยทำกำไรมหาศาลแต่เมื่อถูก Disrupt ด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ ในแง่ผู้บริโภคอาจได้ประโยชน์แต่หลายธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันถึงขั้นต้องปิดกิจการ ลดจำนวนสาขา&nbs..
60months ago   1,717  5 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด