บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
29K
3 นาที
26 ธันวาคม 2555
อยากออกบูธ งานแสดงสินค้า SMEs ไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร?



ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการของไทยจำนวนมากได้หันมาสนใจร่วมออกงานแสดงสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุที่การออกงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับความนิยมก็เพราะเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่มองเห็นผลตอบแทนที่ชัดเจนและวัดได้ง่ายกว่าการใช้โฆษณา การประชาสัมพันธ์หรือการทำตลาดในแบบอื่นๆ

โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการออกงานแสดงสินค้าไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าตกแต่งบูธ ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและที่พัก สามารถประเมินออกมาเป็นงบประมาณล่วงหน้าได้ชัดเจน อีกทั้งผลตอบแทนหรือผลตอบรับจากลูกค้าก็สามารถเห็นได้จากยอดขายที่เกิดขึ้นในงาน ยอดคำสั่งซื้อหรือรายชื่อลูกค้าที่สนใจในสินค้าของบริษัทที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ในการติดต่อเจรจาธุรกิจภายหลังงานแสดงสินค้า
 
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลตอบแทนที่สามารถวัดได้ทันทีหลังจากสิ้นสุดงานแสดงสินค้า ทำให้สามารถประเมินได้ว่าคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไปหรือไม่ ถ้างานไหนคุ้มค่าก็พิจารณาในการเข้าร่วมงานนั้นๆ อีกในปีต่อไป อย่างไรก็ตาม

การเตรียมตัวออกงานแสดงสินค้าที่ดีและมีความพร้อมก็จะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการออกงานแสดงสินค้ามากขึ้นเท่านั้น เรียกได้ว่า “เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
การเตรียมตัวออกงานแสดงสินค้าให้ประสบผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมทั้งก่อนออกงาน ระหว่างงาน และหลังจากออกงานแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้นประสบการณ์ของผู้ประกอบการที่เคยไปออกงานแสดงสินค้านั้นๆ แล้ว ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยได้เป็นอย่างมากเนื่องจากจะทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่เคยเจอและนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในการออกงานครั้งต่อไป สำหรับการออกงานแสดงสินค้าในประเทศและต่างประเทศก็มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

ซึ่งโดยปกติแล้วการออกงานในต่างประเทศจะต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวนานกว่าเรียกได้ว่าเตรียมตัวล่วงหน้ากันเป็นปี นอกจากนี้ นิยมส่งสินค้า อุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ไปทางเรือซึ่งจะต้องส่งก่อนล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1-2 เดือน



สิ่งที่สำคัญก็คือ การเตรียมออกงานต่างประเทศก็จะต้องเตรียมทุกๆอย่างให้พร้อมตั้งแต่อยู่เมืองไทย เรียกได้ว่าเมื่อไปถึงสถานทีจัดงานแล้ว สามารถที่จะเริ่มงานได้เลย
 
จะต้องพยายามไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ร่วมงานออกงานแสดงสินค้าจะเดินทางไปล่วงหน้าก่อนวันงานประมาณ 1-2 วัน เพราะสถานที่จัดงานจะเปิดให้ผู้ออกงานเข้าไปจัดเตรียมได้ล่วงหน้าเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น
 
สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยไปออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศนั้น ในการออกงานครั้งแรกควรออกงานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐที่ให้การสนับสนุนอย่างเช่น กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น ซึ่งก็จะช่วยให้คำแนะนำและประสานงานอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า เนื่องจากทางภาครัฐจะมีงบประมาณที่จัดสรรไว้ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการของไทย

สำหรับการออกงานแสดงสินค้าภายในประเทศนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยร่วมออกงานแสดงสินค้า เพียงแต่ว่าการประสานงานหรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆนั้น สามารถทำได้ง่ายกว่า

อีกทั้งในเรื่องการขนส่งสินค้า อุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ก็ยังใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณมากหน่อยก็อาจจะจ้างให้บริษัทผู้รับเหมา (Contractor) เป็นผู้จัดสร้างบูธให้สำเร็จเลย

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถจัดเตรียมการออกงานได้เองเพียงแต่จะต้องมีการวางแผนให้พร้อมและรัดกุมเพื่อให้งานเสร็จทันกำหนดเวลาการจัดงาน โดยการที่จะออกงานแสดงสินค้าให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตามควรที่จะมีการเตรียมตัว ดังนี้
 
1. การเลือกออกงานงานแสดงสินค้า


เป็นสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดเนื่องจากการตัดสินใจไปร่วมงานแสดงสินค้างานใดก็ตาม  จะต้องมีการศึกษามาก่อนเป็นอย่างดี เพราะงานแสดงสินค้าที่ชื่ออาจจะคล้ายกันหรือเป็นงานแสดงสินค้าลักษณะเดียวกันแต่ต่างกันที่ผู้จัดการนั้น อาจจะมีจำนวนผู้เข้าชมงานมากน้อยต่างกัน ลักษณะกลุ่มของลูกค้าหรือความยิ่งใหญ่ การประชาสัมพันธ์งานต่างกัน จะต้องพิจารณาดูด้วยว่างานแสดงสินค้านั้นจัดขึ้นมานานแล้วหรือยังหรือเพิ่งจัดขึ้นใหม่

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อภาพรวมของงานเช่นเดียวกัน ดังนั้น ก่อนออกงานแสดงสินค้างานใดก็ตามโดยเฉพาะเมื่อเรายังไม่มีประสบการณ์ในการออกงานนั้นๆ มาก่อน ก็ควรจะหาข้อมูลจากโบรชัวร์ อินเทอร์เน็ต และสิ่งสำคัญความจะหาข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เคยไปออกงานนั้นๆ มาแล้วว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไรและก็ควรที่จะไปชมงานแสดงสินค้าที่เราคิดจะไปออกงานก่อนเพื่อให้เห็นภาพรวมของงานว่าเป็นอย่างไร มีใครมาออกงานบ้าง ลูกค้าเป็นอย่างไร

ลักษณะการออกบูธตกแต่งสวยงานแค่ไหน สินค้าที่นำมาแสดงเป็นอย่างไรบ้าง แล้วค่อยตัดสินใจจองบูธสำหรับปีหน้าก็ยังไม่ช้าจนเกินไปดีกว่าตัดสินใจผิดพลาด (ปกติงานแสดงสินค้าส่วนใหญ่จะจัดปีละ 1 ครั้ง) และถ้ายิ่งเป็นการออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศ ก็จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเนื่องจากการออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศในแต่ละครั้งใช้งบประมาณที่สูง
 
 2. การเตรียมตัวก่อนออกงานแสดง
 

ควรเริ่มจากการเตรียมทีมงานซึ่งจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการไปออกงานว่าเพื่อจุดประสงค์ใด เช่น แนะนำสินค้า สร้างตัวแทนจำหน่าย ขายธุรกิจ ขายสินค้า แสดงศักยภาพขององค์กร เป็นต้น

จากนั้นก็จะต้องเตรียมตัวในในส่วนของการออกแบบบูธ เตรียมสินค้าที่จะนำโชว์ แคตตาล็อก โบรชัวร์ นามบัตร ลูกค้าที่มาเยี่ยมบูธ หรือผู้สนใจที่เข้ามาติดต่อ ซึ่งอาจจะต้องเตรียมใบกรอกข้อมูลลูกค้า ของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ให้กับผู้กรอกข้อมูล เป็นต้น

สำหรับการไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงมากๆ ก็คือ การสื่อสาร ผู้ออกงานควรที่จะสามารถพูดและสื่อสารกับลูกค้าได้ อย่างเช่น ถ้าไปออกงานที่จีนก็ควรจะหาล่ามที่สามารถพูดฟังภาษาจีนได้ไปด้วย หรือล่ามภาษาญี่ปุ่นสำหรับการออกงานที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการสื่อสารกับลูกค้า

สิ่งทีจะต้องเน้นย้ำอีกประการหนึ่งก็คือ การออกแบบบูธ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ตำแหน่งการจัดวางโชว์สินค้า รวมถึงการวางระบบไฟฟ้าต่างๆ ให้เรียบร้อยพอเพียงกับการใช้งาน ซึ่งโดยปกติแล้วทางผู้จัดงานจะเตรียมปลั๊กไฟ กำลังไฟพื้นฐานให้ แต่ถ้าท่านมีจำนวนหลอดไฟมากหรือมีอุปกรณ์ไฟฟ้าไปแสดงจำนวนมาก ก็จะต้องแจ้งให้ผู้จัดงานเตรียมในเรื่องระบบไฟฟ้าให้พร้อมด้วย
 
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญก่อนออกงานต้องส่งจดหมายเชิญลูกค้า ทั้งกลุ่มลูกค้าที่เป็นฐานลูกค้าทั้งเก่าและปัจจุบันให้มาเยี่ยมชมบูธของบริษัท
 
3. ช่วงระหว่างออกงานแสดงสินค้า
 

 
ในช่วงออกงานแสดงสินค้าจะต้องพยายามเก็บข้อมูลของลูกค้าที่สนใจมาเยี่ยมชมบูธให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาติดต่อกับลูกค้าได้ภายหลังจากที่จบงานแสดงสินค้า และสิ่งหนึ่งที่ผู้ออกงานควรทำเพิ่มเติมก็คือ เดินสำรวจรอบๆ งานเพื่อศึกษาให้ทราบถึงสินค้า รูปแบบบูธต่างๆ ของคู่แข่ง หรือบริษัทอื่นๆ ที่มาร่วมออกงานด้วยเพื่อศึกษาเป็นแนวทางในการออกงานแสดงสินค้าในปีต่อๆ ไป

4. ช่วงหลังออกงานแสดงสินค้า


 
หลังจากกลับจากงานแสดงสินค้า สิ่งแรกที่ควรกระทำเป็นอย่างนิ่งก็คือ การส่งจดหมายหรืออีเมลล์ขอบคุณลูกค้าหรือผู้ที่เข้าเยี่ยมชมทีบูธและได้แลกนามบัตรกันไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการติดต่อแก่กันและกัน และควรสรุปข้อมูลทั้งหมดของลูกค้าเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้อ้างอิงในการออกงานปีต่อๆ ไป จากนั้นก็ควรแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น
  • กลุ่มลูกค้าที่ต้องรีบติดต่อกลับโดยเร็ว (กลุ่มที่มีแนวโน้มจะสั่งซื้อสินค้ามากที่สุด)
  • กลุ่มลูกค้าที่ควรติดต่อกลับแต่ไม่ด่วน (กลุ่มลูกค้าที่อาจจะซื้อแต่ยังไม่ตัดสินใจในปัจจุบัน)
  • กลุ่มลูกค้าที่ควรติดต่อกลับเพื่อทักทายทำความรู้จักกันเอาไว้ (กลุ่มลูกค้าที่สนใจในสินค้า แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะซื้อ
สำหรับสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสรุปผลลัพธ์ที่ได้จากการออกงาน ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ประสบปัญหาในการออกงานแสดงสินค้าครั้งนี้อย่างไรบ้าง และมีสิ่งใดบ้างที่ควรปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในการออกงานในปีต่อไป เพียงเท่านี้ โอกาสที่ท่านจะออกงานแสดงสินค้าให้ประสบผลสำเร็จสร้างทั้งยอดขายและชื่อเสียงก็มีสูงอย่างแน่นอน

รวมงานแสดงสินค้าทั่วไทย และทั่วโลก

อ้างอิงจาก foodindustrythailand
 
การนำสินค้าไปออกบูธแสดงสินค้า กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน เพราะนอกจากจะมีโอกาสนำสินค้าของตัวเองไปนำเสนอขายให้แก่ผู้เข้าชมงานในช่วงนั้นแล้ว ยังมีโอกาสได้กลุ่มลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจกลับมาด้วย ที่สำคัญการออกบูธแต่ละครั้งยังทำให้เจ้าของธุรกิจได้ศึกษาคู่แข่งในตลาดเดียว..
73months ago   2,912  3 นาที
ต้องยอมรับว่าการนำสินค้าหรือบริการ ไปออกบูธแสดงสินค้า เป็นกระแสที่ได้รับความนิยม มีความจำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจยุคปัจจุบัน เพราะนอกจากจะมีโอกาสนำสินค้าไปนำเสนอแล้ว หากสินค้าได้รับความนิยมในระหว่างการออกบูธ อาจเป็นใบเบิกทางที่เจ้าของธุรกิจ สามารถนำสินค้าไปขายได้ในระยะยาว..
75months ago   4,516  3 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด