บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
2 นาที
8 ตุลาคม 2562
“ชิม ช้อป ใช้” รับสิทธิ์ไว้ ดีจริงหรือไม่?! กระแสดัง Pantip


ในช่วงนี้นโยบาย “ชิม ช้อป ใช้” ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายของรัฐบาลกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในโซเชียลมีเดีย บางคนก็ตื่นเต้นและตั้งหน้าตั้งตารอเพื่อลงทะเบียนรับสิทธิ์ และมีหลายคนที่ถึงกับโพสต์อวดในโซเชียลมีเดียเมื่อตัวเองลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้สำเร็จ แต่ก็มีอีกหลายคน เช่นกันที่ตัดสินใจไม่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ดังกล่าวนี้  หรืออาจถึงขั้นไม่ยอมรับในนโยบายนี้เลยทีเดียว 
 
 
อย่างเช่นในกระทู้พันทิปดังกล่าวนี้ที่ชื่อว่า “ร้านกาแฟในสุโขทัยโพสต์ไม่ร่วม 'ชิม ช้อป ใช้' เพราะไม่หนุนการแจกเงิน” (https://pantip.com/topic/39290301) ที่พูดถึงข่าวร้านกาแฟแห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัยไม่ร่วมนโยบาย ชิม ช้อป ใช้ เพราะไม่สนับสนุนนโยบายดังกล่าวนี้ของรัฐบาล ทั้งยังไม่กลัวว่าจะไม่มีลูกค้ามาเข้าร้านเพราะไม่รองรับชิม ช้อป ใช้ด้วย แต่ถ้ามาตรการดังกล่าวสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง ตนก็ไม่มีปัญหาอะไรหากมาตรการนี้จะมีเฟส 2 ออกมา……

ภาพจาก bit.ly/2lNqzNE
 
และเมื่อศึกษาจากการที่มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม  พบว่าโดยส่วนมากผู้แสดงความคิดเห็น แบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆด้วยกัน คือ
  1. คิดว่านโยบายนี้ ไม่ได้บังคับทั้งประชาชนและผู้ประกอบการให้เข้าร่วมทุกคน
  2. ผู้ที่จะได้ผลประโยชน์ในนโยบายนี้กลับเป็นห้างร้านใหญ่ๆ มากกว่าที่จะเป็นผู้ประกอบการที่เป็นประชาชนทั่วไป
  3. ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่า ทำแล้วไม่เกิดความคุ้มค่าเท่าไหร่
ทั้งหมดที่ได้อ่านในกระทู้นี้ก็พอจะยืนยันความสนใจ และความคิดเห็นของผู้คนที่มีต่อนโยบาย “ชิม ช้อป ใช้” ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

ภาพจาก bit.ly/2lNqzNE

แต่อ่านถึงตรงนี้ หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่า แล้วนโยบายชิม ช้อป ใช้ มันคืออะไร?
 
หากจะให้คำนิยามแบบสั้นๆ ง่ายๆ “นโยบายชิม ช้อป ใช้” ก็คือ มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของคนในประเทศด้วยการออกไปใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับเงิน 1,000 บาท ในโควตาทั้งหมด 10 ล้านคน โดยกำหนดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ว่า ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป มีโทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้และมีอีเมลล์ ซึ่งเมื่อทางรัฐฯ เปิดให้คนลงทะเบียนรับสิทธิ์ ปรากฏว่าก็มีผู้คนลงทะเบียนรับสิทธิ์กันอย่างล้นหลามและครบโควตา 10 ล้านคนภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้ก็ได้มีร้านค้าโชว์ห่วยรายย่อยกว่า  1.35 แสนรายที่เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย

ภาพจาก bit.ly/2LXOBQx
 
แต่แล้วนโยบายนี้ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นเท่าใดนักถึงแม้จะได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามก็ตาม แต่บุคลาการในแวดวงท่องเที่ยวต่างให้ความคิดเห็นที่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์ไม่ได้เอาเงินมาใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล เช่น คุณภูริวัจน์ ลิ้มถาวรรัตน์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) กล่าวประมาณว่า นโยบายมีเสียงตอบรับที่ดี

แต่ทว่า ตัววัดผลอยู่การท่องเที่ยว แต่ผู้รับสิทธิ์กลับใช้เงินไปกับการซื้อสินค้าต่างๆ แทน ซึ่งถือว่าไม่ถูกวัตถุประสงค์ อีกอย่างคือเมื่อดูจากสถิติของธนาคารกรุงไทยแล้วพบว่าผู้ที่รับสิทธิ์ผ่านแอพลิเคชั่นเป๋าตังค์มีการใช้เงินในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากกว่าในต่างจังหวัด

ซึ่งนั่นหมายความว่าเงินยังกระจุกตัวแค่ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ได้เป็นการกระจายรายได้แต่อย่างใด หรือความคิดเห็นจากคุณศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิที่กล่าวถึงนโยบายนี้ว่า ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวและโรงแรมยังพอจะได้ผลประโยชน์อยู่บ้าง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับสิทธิ์เน้นการซื้อของมากกว่าการท่องเที่ยว

ภาพจาก bit.ly/2LXOBQx

ดังนั้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงไม่เชิงว่าจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายนี้โดยตรง อีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะช่วงที่เปิดรับสิทธิ์นี้ยังไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยว ผู้คนจึงเน้นจับจ่ายซื้อของมากกว่าการออกไปเที่ยว และคุณพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายไปในอีกแง่มุมว่าหากมาตรการนี้สำเร็จ ก็เท่ากับว่าประชาชนเริ่มยอมรับการใช้จ่ายออนไลน์ (ผ่านแอพฯ เป๋าตังค์) ได้ นั่นถือเป็นการสร้างนวัตกรรมที่ภาครัฐสามารถพัฒนามาใช้ต่อไปได้ในอนาคต แต่ถ้าหากไม่สำเร็จ ก็ต้องพัฒนาต่อไป และหากนโยบายนี้จะมีเฟส 2 ตามมา ก็ควรจะประเมินผลของเฟสแรกนี้ก่อน

ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่า นโยบายชิม ช้อป ใช้ที่กระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาล ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยผู้คนก็มีทั้งเลือกที่จะรับสิทธิ์ และไม่รับสิทธิ์ อีกทั้งผู้คนยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับนโยบายนี้ แต่แล้วผลลัพธ์ของมาตรการนี้จะเป็นอย่างไร? และจะมีเฟส 2 ตามมาหรือไม่? นั่น คงเป็นเรื่องของอนาคตที่อาจอยู่ไม่ไกลนี้......
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.ThaiFranchiseCenter.com/document/

แหล่งที่มา
 
เชื่อว่าหลายคนอยากเป็นเถ้าแก่ อยากเป็นเจ้าของกิจการ เช่นเดียวกันกับเจ้าของกระทู้ในพันทิปที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ KFC ไปเปิดร้านที่ต่างจังหวัดหลังจากเรียนจบ ว่าจะติดต่อยังไง ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ซึ่งก่อนอื่น www.ThaiFranchiseCenter.com ขอเรียนให้ทราบว่า KFC ไม่ได้ขายแฟรน..
50months ago   85,391  3 นาที
การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และอื่นๆ ตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อร้านขายของชำ หรือ “โชห่วย” ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย มักจะล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค การบริหารจัดการร้านค้าไม่เป็น จึงท..
44months ago   3,048  4 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด