บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.0K
2 นาที
4 ตุลาคม 2562
6 ข้อต้องใส่ใจ! เศรษฐกิจแย่ แต่ธุรกิจต้องไม่ร่วง จากกระแสดัง Pantip


อย่างที่ผู้อ่านหลายคนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเศรษฐกิจในขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงขาลง การประกอบอาชีพก็ฝืดเคืองไปตามๆ กันด้วย  และคำถามหนึ่งที่ใครหลายๆ คนอาจจะสงสัยท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้


นั่นก็คือ “เศรษฐกิจแบบนี้ ทำอะไร ถึงจะรอด” (https://bit.ly/357V4jc)  ที่เปิดประเด็นคำถามเกี่ยวกับว่าท่ามกลางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไปตามๆ กันเป็นวงกว้างแบบนี้ ธุรกิจแบบไหนถึงจะอยู่รอด?! หรือควรจะวางแผนไปประกอบอาชีพอะไรดี?!


และแน่นอนว่าเมื่อเป็นประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ คนก็ให้ความสนใจกันเป็นอย่างมากพร้อมเข้ามาสนทนาในกระทู้ดังกล่าว ซึ่งก็มีทั้งคนที่ยกตัวอย่างธุรกิจที่ยังทำเงินได้ , วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจ หรือตัดพ้อไปว่าเศรษฐกิจแบบนี้คงไม่มีอะไรขายดีหรอก เรียกได้ว่าคนที่เข้ามาคอมเม้นต์มีมากมายหลายความคิดเห็นจริงๆ
 

 
 
 

 

แต่ไม่ว่าผู้คนจะแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางไหน แต่หลายๆ คอมเม้นต์ รวมไปถึงเนื้อหาในกระทู้นี้ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังไม่ดี และธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงที่ลำบากจริงๆ ดังนั้นเหล่าผู้ประกอบการร้านค้าเห็นทีก็คงจะนิ่งอยู่เฉยไม่ได้ ดังนั้น ในที่นี้ก็จะขอแนะนำวิธีในการดำเนินธุรกิจให้ไปรอดในสภาวะฝืดเคืองเช่นนี้ด้วยค่ะ 

ปัจจัยหลัก 6  ข้อที่ควรใส่ใจในสภาวะฝืดเคือง

  1. ลดต้นทุน ควรใส่ใจกับการบริหารให้ต้นทุนลดลง ทั้งในด้านของการผลิต ค่าขนส่งและแรงงาน
  2. พัฒนาแบรนด์สินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า เพราะปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าสูงขึ้น และมีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงควรพัฒนาสินค้าให้ดูมีมูลค่ามากขึ้น โดดเด่นมากขึ้น และตอบวนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น 
  3. เสาะหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น เพื่อที่จะได้มีผู้ซื้อมากขึ้น และมีรายได้มากขึ้น
  4. กระชับสัมพันธ์ลูกค้า ยิ่งเศรษฐกิจที่ทำให้ขายของได้ยากขึ้นเช่นนี้ยิ่งต้องใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น ถึงแม้ว่าในขณะนั้นลูกค้าจะไม่มีกำลังซื้อก็ตาม แต่ก็ควรจะกระชับสัมพันธ์กับลูกค้าเข้าไว้เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจในสายตาลูกค้า และในช่วงที่เศรษฐกิจดีขึ้น ลูกค้าก็จะได้กลับมาหาเรา
  5. เตรียมทุนฉุกเฉินไว้พร้อม  ในสภาวะเช่นนี้มีความเสี่ยงสูง อะไรก็เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการเก็บเงินไว้สำหรับในยามที่ธุรกิจต้องเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉินก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ควรจะทำ
  6. เตรียมตัวให้พร้อมในทุกสถานการณ์ ข้อสุดท้ายนี้เหมือนเป็นการเอาทุกข้อมารวมกัน คือวางแผนสำหรับการลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาแบรนด์สินค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับหาฐานลูกค้าใหม่ๆ และดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญคือเตรียมความพร้อมสำหรับกรณีฉุกเฉิน ทั้งในด้านของเงินทุน และแผนการสำหรับธุรกิจ 

ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้แม้ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง  แต่ทางเราไม่ได้มีคำแนะนำแค่เพียงเท่านี้  โดยท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากกระทู้ตามลิ้งก์นี้ : https://bit.ly/30NrkF0
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9
 
แหล่งที่มา 
การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และอื่นๆ ตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อร้านขายของชำ หรือ “โชห่วย” ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย มักจะล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค การบริหารจัดการร้านค้าไม่เป็น จึงท..
45months ago   3,072  4 นาที
คำว่า “ร้านอาหารจะตายหมด” เหมือนเป็นการตัดพ้อ ท้อแท้ใจ แต่ในความจริงคำว่า “ตายหมด” ก็คงไม่หมดเหมือนที่พูดแต่เรื่องจริงคือ “ทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิม” ก่อนหน้าที่ COVID 19 จะแพร่ระบาด เราก็เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่ถดถอยคนมีกำลังซื้อน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เ..
51months ago   2,873  7 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,811
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,441
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
655
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
575
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
515
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด