บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.7K
2 นาที
31 กรกฎาคม 2563
"กาแฟเล่าเรื่อง" Sharing your success is more success Part 3


 
“เป้าหมาย” คือ สิ่งสำคัญที่สุด
 
SMEs ที่เป็น Star up ส่วนใหญ่ มักกำหนดเป้าหมายเพียงรายได้ และผู้ที่รู้เป้าหมายหรือให้ความสำคัญกับการไปให้ถึงเป้าหมายก็คือ ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจนั่นเอง แต่เมื่อ SMEs นั้นประสบความสำเร็จ สามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ต้องการแล้ว การขยายสาขาคือหนทางที่ต้องเดินไป เป็นขั้นตอนที่เป็นไปตามวิถีทางและกลยุทธ์ของธุรกิจ ธุรกิจจะเติบโตด้วยจำนวนสาขา เพราะสาขาคือแหล่งสร้างรายได้ ยิ่งมีสาขามากเท่าไรก็จะยิ่งเพิ่มรายได้มากเท่านั้น แต่ที่สำคัญ “รายได้” กับ “ผลกำไร” มันไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญกับ “รายได้” เป็นหลัก แต่ลืมนึกถึง “ผลกำไร” ตราบเท่าที่กระแสเงินสดยังคงสะพัดและเพิ่มขึ้นจากรายได้ตลอดเวลา

 
ลองนึกดูสิครับว่า หากเรามีร้านอาหารหนึ่งสาขา ความสามารถในการหารายได้เท่ากับ 3 หมื่นบาทต่อวัน นั่นหมายความว่า จะมีเงินสดเข้ามาในมือวันละ 3 หมื่นบาท หากมีจำนวนสาขา 10 สาขา ก็จะมีเงินสดเข้ามาในมือถึง 3 แสนบาทต่อวัน หรือ 9 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียว ผู้ประกอบการจะเห็นเพียงตัวเลข 3 แสนบาท ต่อวัน และมีรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบต่างๆ ต่อวัน อาจจะราว 50% ของรายได้ และไปจ่ายค่าเช่า เงินเดือน ค่าน้ำค่าไฟ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ระหว่างเดือนและสิ้นเดือน สุดท้ายพอสิ้นเดือนก็จะมีเงินสดเหลือ ซึ่งนั่นคือความรู้สึกของผู้ประกอบการว่า มันคือ “กำไร” ที่ได้รับ
 
การขยายสาขา จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมรับผิดชอบสาขา เรามักจะเรียกบุคคลนี้ว่า “ผู้จัดการร้าน” ซึ่งนอกจากจะหมายถึงการดูแลกำกับการปฏิบัติงานในร้านซึ่งถือเป็นหน้าที่แล้ว คำว่า “รับผิดชอบ” ยังหมายถึง การรับผิดชอบเรื่อง รายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานเหล่านั้น ผู้ประกอบการทั่วไปมักจะมอบหมายให้ “ผู้จัดการ” ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานแทน โดยเลือกบุคคลที่ไว้วางใจและมอบทุกสิ่งทุกอย่างให้บุคคลนั้นดูแล เพียงแต่เรื่องการเบิกจ่ายเงินจะยังคงเป็นการดูแลจากตัวผู้ประกอบการเองเท่านั้น นี่คือหลักการเบื้องต้นทั่วไป

 
การที่จะเตรียมความพร้อมของธุรกิจเพื่อให้ก้าวต่อจากก้าวที่ 100 ไปสู่ก้าวที่ 1000 นั้น ต้องทำให้ บุคลากร ในระดับที่เป็น Keyman มีความเข้าใจ 2 เรื่อง คือ หนึ่ง เข้าใจในบทบาทและการทำหน้าที่ของตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ และ สอง เห็นเป้าหมายที่องค์กรต้องการอย่างชัดเจนทั้งเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ ที่ปรึกษา ส่วนมากจะไม่ได้ทำหรือถ้าทำ ก็จะต้องผ่านด่านของการเล่นบทเสมือนเงาของ CEO กันเลยทีเดียว เพราะต้องทำงานในลักษณะ Coaching ให้กับทีมงาน การทำงานในลักษณะนี้ บางครั้งก็อาจเล่นเกินบทบาทของการเป็นที่ปรึกษาได้เสมอ ถ้าผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ มีความเข้าใจว่าที่ปรึกษากำลังสร้างทีมงานก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าผู้ประกอบการเกิดความเข้าใจผิด ที่ปรึกษาก็จะกลายเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เกินบทบาทไปในทันที


เหตุผลสำคัญที่ต้องทำหน้าที่ Coaching ก็เพราะว่า SMEs ส่วนใหญ่ Start up จากความเป็นตัวของตัวเอง มุ่งหน้าในการหารายได้ อาจมีบางคนที่มีประสบการณ์การทำงานบริหารในองค์กรมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำหน้าที่บริหารธุรกิจเต็มตัว ที่ต้องดูเรื่องการบัญชีและการเงินมากมายขนาดนี้ ตลอดจนต้องพยายามมอบหมายให้คนช่วยทำแทนตนและยังต้องตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด
 
การมอบหมายและให้อำนาจคนเพื่อจุดประสงค์ในการทำงานแทนผู้ประกอบการนั้น คือ Pain point อย่างหนึ่งของการบริหารจัดการ เพราะบ่อยครั้งมันทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เช่น การทุจริต มักเกิดจากความไว้วางใจเสมอ สิ่งที่ผู้ประกอบการได้รับ คือ สูญเสียคนที่มีความสามารถไปพร้อมกับสูญเสียรายได้ไปด้วย หรือบางครั้งก็จะสูญเสียผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี เพราะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้อำนาจแก่ผู้ที่ไม่มีความเป็นผู้นำที่ดีพอ ก็จะทำให้การปกครองพนักงานลงไปเกิดความระส่ำระสายไม่สามารถควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามที่องค์กรต้องการได้ จนไปถึงสูญเสียบุคลากรที่ดีต่อไปอีก


ภาพจาก freepik
 
ดังนั้น การเตรียมและสร้างผู้บริหารแถวสอง (2nd tiers) จึงเป็นหน้าที่ของที่ปรึกษา ที่ควรจะสอนหรือ Coaching ให้กับผู้นำแถวสอง โดยการสอนให้รู้จักหน้าที่และเรื่องที่ต้องทำดังนี้
  1. เป้าหมายทางธุรกิจและการตลาดที่ต้องการ
  2. เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุม
 
พร้อมกันนี้ ต้องฝึกฝนทักษะในการเป็นผู้นำของผู้บริหารแถวสอง ซึ่งข้อนี้เป็นเรื่องที่ยากมากที่สุด เพราะแต่ละคนมีภูมิหลังมาแตกต่างกัน กระบวนการเรียนรู้และทำความเข้าใจต่องานที่ต้องรับผิดชอบก็ไม่เท่ากัน รวมทั้งการที่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีคิดในการทำงานใหม่ที่ไม่คุ้นเคยจะต้องใช้เวลาในการปรับตัว บางคนสามารถปรับตัวได้เร็วแต่กับบางคนต้องใช้เวลามากกว่าคนอื่นที่จะปรับตัว ผมเรียกขั้นตอนนี้ว่า “การพัฒนาทีมงาน”
 
ถึงตรงนี้ คงพอจะเห็นภาพแล้วว่า การทำงานในฐานะที่ปรึกษาที่ทำหน้าที่มากกว่าการเป็น “เรือรับจ้าง” พายข้ามฝาก มาเป็น “เรือรบ” ที่ต้องฝึกและสร้างกองทัพนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ คราวหน้าจะมาเล่าถึงการทำหน้าที่และสอนผู้บริหารแถวสองในการเรียนรู้ 3 เรื่องที่กล่าวไว้ให้ฟังต่อครับ
 
ธุรกิจส่วนใหญ่เติบโตจาก 1 ถึง 100 ต้องใช้ความมานะ มุ่งมั่น ทุ่มเท ขยัน อดทน ชนิดที่ต้องหายใจเป็นธุรกิจกันเลยทีเดียว แต่การที่ธุรกิจจะเติบโตต่อจาก 100 ไปจนถึง 1000 นั้น ต้องการสิ่งที่มากกว่านั้นอีก ..
48months ago   1,564  4 นาที
เมื่อประมาณปี 2559 ปลายปี ผู้ประกอบการหนุ่มคนหนึ่งที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจ ได้มาพบกับผมเนื่องจากมีคนแนะนำว่าควรต้องมีที่ปรึกษาคอยให้คำชี้แนะและช่วยเหลือในการสร้างและพัฒนาธุรกิจให้กับเขา โดยได้แนะนำชื่อผม นั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ เมื่อตอนที่เขาเริ่มต้นทำธุรกิจนี้สถานการณ์ของธุรกิจยังมีรา..
48months ago   1,645  4 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
722
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
498
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด