บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.8K
2 นาที
29 พฤศจิกายน 2564
อยากนำสินค้าวางขายใน CJ ต้องทำอะไรบ้าง
 

ในบรรดาร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่ในปัจจุบันชื่อของ CJ Supermarket เป็นที่รู้จักของคนไทยอย่างดี ถือเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ก่อตั้งมานานกว่า 15 ปี เริ่มต้นกิจการครั้งแรกตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2548 ปัจจุบันมีสาขากว่า 600 แห่งใน 29 จังหวัด และมีแนวโน้มที่จะขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่าร้าน CJ Supermarket เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนทำธุรกิจต้องการนำสินค้าไปวางจำหน่าย แน่นอนว่าลักษณะของ CJ Supermarket นั้นถือเป็น Modern Trade ในรูปแบบของ Convenience Store ผู้ที่ต้องการเป็นคู่ค้ากับ CJ จึงต้องศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม
 
จุดเด่นของ CJ Supermarket ที่น่าสนใจ! ทำไมถึงขายดี?
 

ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket

ถ้าพูดถึงจำนวนสาขา CJ อาจยังเทียบไม่ได้กับบรรดาร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ต่าง ๆเช่น 7-Eleven ที่มีอยู่ 12,432 สาขา หรือ FamilyMart ที่มีสาขาอยู่ 901 แห่ง แต่จุดเด่นของ CJ Supermarket ที่ทำให้สู้กับคู่แข่งได้คือกลยุทธ์ด้านราคา ซึ่งพยายามทำให้สินค้าภายในร้าน ขายในราคาที่ถูกกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปบวกกับการจัดโปรโมชันลดราคาอยู่บ่อย ๆ รวมถึงภายในร้าน ยังมีการวางขายสินค้าแบรนด์เล็ก ๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่หาซื้อไม่ได้ตามร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ

นอกจากนี้ CJ Express จะใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมืองคือเน้นขยายสาขาไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด, รอบนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน ซึ่งทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่ จะเน้นทำเลรองหรือถนนรองเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากคู่แข่งรายใหญ่ โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 17,000 ล้านบาท และมีกำไรราว 1,000 ล้านบาท
 
ต้องการนำสินค้าจำหน่ายใน CJ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
 

ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket

เบื้องต้นต้องมีการทำ “สัญญาฝากขาย” โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมเบื้องต้นเช่น สำเนาหนังสือ ภพ. 20 , สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ส่งสินค้า , สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจในการจัดส่งสินค้า , สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการรับชำระค่าสินค้า ที่มีชื่อบัญชีตรงตามชื่อที่ปรากฏในหนังสือรับรอง และนอกจากสินค้ากับเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมให้พร้อมเช่นกัน
 
โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายสำหรับการวางจำหน่ายใน Modern Trade เหล่านี้จะมี 4 ส่วนใหญ่ๆคือ ค่าเปิด Account ครั้งแรก , ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU , ค่า Growth Profit (จีพี) และสุดท้ายคือค่าขนส่งและกระจายสินค้า (Distribution Center) ทั้งนี้ถ้าดูข้อมูลจากเว็บบอร์ดในพันทิปที่มีกระทู้หนึ่งได้พูดถึงค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าเข้าจำหน่ายใน CJ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายแยกย่อยคือ ค่ากระจายสินค้า 7% , ค่า Growth Profit (จีพี) 40% , ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU 40% และค่า Distribution Center (DC) 40% 
 
ทั้งนี้ก็ได้มีผู้ที่เข้ามาตอบคำถามในกะทู้ดังกล่าวโดยให้ความรู้ในการตั้งราคาไว้ดังนี้ สมมุติถ้าเราจะขายสินค้าให้ CJ ต้นทุน 8 บาทรวม Vat 7% เป็น 8.56 ต้องตั้งราคา ขายปลีกที่ 14.25 บาท (ราคาขาย ลบด้วย ราคาซื้อ) หารด้วยราคา ขาย) (14.25- 8.56) หารด้วย 14.25 = 40% ซึ่งการเสนอขายสินค้าเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆรวมไว้ในราคาสินค้าเพื่อให้มีกำไรจากการวางจำหน่ายได้
 
ช่องทางในการติดต่อนำสินค้าวางจำหน่ายใน CJ
 

ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket
 
สำหรับคนที่สนใจต้องการเป็นคู่ค้ากับ CJ สามารถติดต่อนำเสนอสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ของ CJ ได้ ซึ่งเมื่อเรากดเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ของ CJ จะมีหน้าที่เรียกว่า “เสนอสินค้ากับ ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส” ซึ่งหากเราเป็นคู่ค้าใหม่ ต้องเริ่มจากการใส่อีเมลล์จากนั้นทางบริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัดมาให้ทางอีเมลล์ 
 
โดยรายละเอียดรายละเอียดส่วนตัวที่ต้องกรอกก็เช่น ชื่อ-นามสกุล (ผู้ติดต่อ) , เบอร์โทรศัพท์ , ชื่อบริษัท , เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ส่วนรายละเอียดตัวสินค้าที่ต้องการเช่น ชื่อสินค้า (ประเภท+ชื่อ+กลิ่น+สี+รส+ปริมาตร) , บาร์โค้ดสินค้า , จุดเด่นของสินค้า , ช่องทางการจำหน่ายในปัจจุบัน , ราคาขายปลีก , ราคาทุนรวม , อายุสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องแนบไฟต์รูปภาพ ประกอบการพิจารณาด้วย
 

ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket
 
โดยมีเงื่อนไขในช่วงท้ายของรายละเอียดว่า ในกรณีที่บริษัทได้สั่งซื้อสินค้าที่คู่ค้าเสนอมาแล้ว แต่คู่ค้าไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนดเวลา คู่ค้าจะต้องชำระค่าปรับให้บริษัทเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ได้มอบ
 
อย่างไรก็ดีหากต้องการนำสินค้าวางจำหน่ายใน CJ หากเป็นไปได้ควรสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ ผู้ที่เคยเป็นคู่ค้ากับ CJ มาก่อนเพื่อให้เรารู้ข้อมูลรายละเอียดที่ชัดเจน หรือดีที่สุดคือติดต่อโดยตรงกับทางบริษัทเพื่อรับทราบรายละเอียดเงื่อนไขที่ชัดเจนอีกครั้ง
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ในบรรดา Modern Trade ต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทย ต้องยอมรับว่า Tops ถือเป็น Supermarket ชั้นนำอันดับ 1 ของประเทศที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี แนวทางการตลาดของ Tops เน้นการเป็นแฟลกชิปสโตร์ด้านผัก ผลไม้ อาหารสด..
32months ago   3,172  4 นาที
Watsons เริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในปี 841 ที่ฮ่องกง ปัจจุบันถือเป็นร้านเพื่อสุขภาพและความงามที่มีสาขากว่า 16,000 แห่งใน 27 ประเทศทั่วโลก ในประเทศไทย Watsons เริ่มธุรกิจครั้งแรปี 2539 ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 590 แห่ง จำหน่ายสินค้าเพื่อความงามแบบครบวงจร พร้อมบริการที่ดีให้กับลูกค้า และด้วย..
32months ago   5,842  4 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
794
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด