บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การขาย
2.1K
3 นาที
23 ธันวาคม 2564
อยากขายสินค้าใน Shopee ต้องทำอะไรบ้าง
 

การขายของออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มสูงมากโดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 และดูเหมือนว่ากระแสนี้จะติดลมบนและต่อยอดเพิ่มไปเรื่อยๆ ตัวเลขมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านบาท โตขึ้นกว่า 14% เมื่อเทียบจาก 2-3 ปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2565 จะมีการเติบโตเฉลี่ยถึง 22% ซึ่งแน่นอนว่าแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ก็มีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น

www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่า Shopee เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มยอดฮิตที่มีลูกค้าจำนวนมาก รวมถึงมีหลายคนที่สนใจและอยากนำสินค้าเข้าร่วมใน Shopee แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแบบไหนดี
 
ขายสินค้าใน Shopee ดียังไง?
 
ภาพจาก https://bit.ly/3qkEHvd

ข้อมูลระบุว่า Shopee มีจำนวนการเข้าใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน (monthly web visits) สูงถึง 51 ล้านราย และมีรายได้ ขยายตัวสูงถึง 296% ในปี 2020 ตอกย้ำให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ยอดนิยม ซึ่งข้อดีของ Shopee ในการขายสินค้าคือ มีการจัดส่งฟรีสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ขายและผู้ซื้อได้ และไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่น ของรายได้จากการขายสินค้า โดยจะเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมการรับชำระเงิน และค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้าเท่านั้น

นอกจากนี้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องทำการตลาดเอง เนื่องจาก Shopee จะมีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นส่วนลด และคูปองหรือโค้ดส่วนลดอยู่เป็นประจำ ซึ่งส่งผลดีต่อร้านค้าต่างๆ ทำให้มีลูกค้ามากขึ้น
 
ขายของใน Shopee ได้เงินตอนไหน
 
ภาพจาก https://shopee.co.th/

โดยปกติหลังจากที่ผู้ขายทำการส่งสินค้าไปยังผู้ชื้อเรียบร้อยแล้วทาง Shopee จะโอนค่าสินค้าให้กับทางผู้ขายสินค้า โดยโอนค่าสินค้าไปยังระบบ Seller Balance ที่ผู้ขายได้สมัครไว้ ส่วนระยะเวลาในการรับค่าสินค้านั้น ขึ้นอยู่กับร้านค้าแต่ละประเภท หากผู้ขายคือร้านค้าใน Shopee Mall จะได้รับค่าสิน ใน 15 วัน หากผู้ขายเป็นร้านค้าแนะนำ จะได้รับค่าสินค้าใน 7 วัน แต่ถ้าหากผู้ขายคือร้านค้าทั่วไปจะได้รับค่าสินค้าใน 3 วัน ทั้งนี้การที่ Shopee จะโอนค่าสินค้าให้กับผู้ขาย อาจขึ้นอยู่กับประเภทของการกดรับสินค้าด้วย

อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้ทำการกดรับสินค้าภายใน 3 วัน หลังจากสินค้าส่งถึงแล้ว Shopee จะเป็นผู้ดำเนินการโอนค่าสินค้าให้เองแบบอัตโนมัติ หรือเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้รับเงินจาก Shopee แน่นอนให้เปิดใช้งานระบบ Seller Balance โดยกรอกข้อมูลให้ระเอียดครบถ้วน จะช่วยทำให้วิธีการได้รับเงินสะดวกและง่ายมากขึ้น
 
การของสินค้าผ่าน Shopee ยังมีเรื่องสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าควรรู้คือ การไม่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้า ไม่มีพนักงานช่วยแพ็คของ รวมถึงการจัดส่งสินค้าที่ล่าช้าเพราะไม่มีรถขนส่งสินค้าเป็นของตัวเอง ซึ่งเราสามารถใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ หรือ Fulfillment จากผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีระบบการทำงานที่รวดเร็ว ช่วยซัพพอร์ตให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่เพียงแค่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้าให้เท่านั้น แต่บริการคลังสินค้าออนไลน์ ยังมีพนักงานช่วยแพ็คสินค้าให้อย่างมืออาชีพ และบริการรถส่งของที่รวดเร็ว ทันใจ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไปด้วย
 
อยากขายของใน Shopee ต้องทำอย่างไร?
 
ภาพจาก https://bit.ly/3eiSe0Y

ก่อนอื่นเราต้องตรวจสอบสินค้าของเราก่อนว่าอยู่ในหมวด “รายการสินค้าที่ห้ามขาย” หรือไม่ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ , ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า , วัตถุโบราณ , ยาเสพติด , วัตถุอันตรายต่างๆ ฯลฯ ซึ่งผู้ต้องการขายสินค้าต้องศึกษารายละเอียดในกฏข้อนี้ให้ชัดเจนด้วย หลังจากมั่นใจว่าสินค้ามีคุณสมบัติครบถ้วน เราต้องทำการยืนยันด้วยหมายเลขโทรศัพท์ของเราก่อนที่จะสามารถซื้อขายสินค้าใน Shopee ได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
  1. ไปที่หน้า “ฉัน” จากนั้นกด "เริ่มขาย" ที่มุมบนซ้าย >> กด เพิ่มสินค้า
  2. ถ่ายรูปสินค้าโดยกดปุ่ม “กล้อง” หรือเลือกรูปภาพจากมือถือโดยการกดปุ่ม "รูปภาพ" หรือเลือกรูปภาพจาก "Instagram" สามารถเพิ่มได้ถึง 9 ภาพต่อสินค้าหนึ่งรายการ
  3. ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า ตัวอย่างเช่น หมวดหมู่, ราคา, จำนวนสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า
  4. เปิดการใช้งาน “เตรียมส่งนานกว่าปกติ” หากต้องการตั้งระยะเวลาเตรียมพัสดุระหว่าง 7-20 วันหากปิดการใช้งาน “เตรียมส่งนานกว่าปกติ” ระยะเวลาเตรียมพัสดุจะถูกตั้งที่ 2 วัน
  5. หลังจากใส่รายละเอียดสินค้าแล้ว กด "ส่ง" สินค้าจะลงขายในแอพ Shopee
  6. หลังจากลงสินค้าแล้ว อย่าลืมกด "ป้อน" เพื่อเพิ่มบัญชีธนาคารที่ต้องการให้ Shopee โอนเงินค่าสินค้าให้กับเรา เมื่อมีการซื้อขายและผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้ว
ขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง
1.ค่าธรรมเนียมจากการขาย
 

ภาพจาก https://shopee.co.th/

สำหรับค่าธรรมเนียมการขาย Shopee จะมีการเรียกเก็บจากร้านค้า Shopee Mall Sellers เท่านั้น โดยค่าธรรมเนียมการขาย คือ การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น คิดค่าธรรมเนียม 3% หมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หักส่วนลดที่ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบ (ไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่นๆ) และค่าธรรมเนียมการขายที่คิด 5% ของราคาตั้งต้นสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หักส่วนลดที่ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบ (ไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่นๆ)
 
2.ค่าธรรมเนียม สำหรับการทำธุรกรรมแบบชำระเงินปลายทาง
 
ในกรณีที่ผู้ชื้อมีการชำระเงินปลายทาง Shopee จะคิดค่าธรรมเนียม 2% จากผู้ขาย ที่ได้รับค่าสินค้าจากการชำระเงินปลายทางของผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว โดยคิดค่าธรรมเนียม 2% ที่หักจากผู้ขายคือค่าธรรมเนียมนั้นรวมค่าขนส่งสินค้า และคิดจากราคาการใช้ส่วนลดต่างๆ รวมถึง Shopee Coin
 
3.ค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร
 
ภาพจาก https://bit.ly/32lozlg

เมื่อผู้ซื้อทำการชำระค่าสินค้าผ่านบัญชีธนาคาร ไม่ว่าจะชำระผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง หรือโอนผ่านธนาคาร Shopee จะเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ขาย โดยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคารคิดเป็น 2% รวมค่าขนส่งสินค้าและคิดจากราคาการใช้ส่วนลดต่างๆ รวมถึง Shopee Coin
 
4.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet
 
เมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าผ่านช่องทาง AirPay Wallet โดยหักเงินจาก Wallet Balance ไม่ว่าจะสั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม Shopee จะหักค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจากผู้ขายทุกราย โดยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet คิดเป็น 2% ของยอดทั้งหมดที่ผู้ซื้อต้องชำระ ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมที่ถูกหักจะรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่างๆ รวมถึง Shopee Coin
 
5.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต
 
ภาพจาก https://bit.ly/3FuZClS

Shopee คิดค่าธรรมเนียม โดยเก็บกับผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม โดยคิดค่าธรรมเนียม 2% ของยอดขายที่ผู้ซื้อชำระเข้ามาด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งคิดจากราคาหลังจากที่มีการใช้ส่วนลดหรือ Shopee Coin

6.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ

Shopee คิดค่าธรรมเนียม โดยเก็บกับผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ ไม่ว่าจะผ่อนชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม โดยคิดค่าธรรมเนียม 5% ของยอดขายที่ผู้ซื้อชำระเข้ามาด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ (2% มาจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ส่วนอีก 3% มาจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ในกรณีที่มีการผ่อนชำระ) เช่นเดียวกันกับทุกกรณี โดยคิดจากราคาหลังจากที่มีการใช้ส่วนลดหรือ Shopee Coin

7.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater
 
ภาพจาก https://bit.ly/3pkNr5c

Shopee คิดค่าธรรมเนียม โดยเก็บกับผู้ขายเมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่าน SpayLater ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม โดยคิดค่าธรรมเนียม 2% ของยอดขายที่ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าผ่าน SpayLater ซึ่งคิดจากราคาหลังจากที่มีการใช้ส่วนลดหรือ Shopee Coin
 
ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่เรียกเก็บโดยถูกหักออกจากเงินค่าซื้อผลิตภัณฑ์ ของผู้ขาย หลังจากมีการสั่งซื้อเสร็จสิ้นสมบูรณ์ Shopee จะหักค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ที่ผู้ซื้อได้ชำระไว้ ออกจากเงินค่าซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้ขายทันที 
 
นอกจากนี้ทาง Shopee อาจไม่เก็บค่าธรรมเนียม ในกรณีที่มีการยกเลิกคำสั่งซื้อจากผู้ขายหรือผู้ซื้อ และมีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์หรือคืนเงิน อย่างไรก็ตามต้องเป็นการยกเลิกคำสั่งซื้อภายในระยะเวลาที่ Shopee กำหนด
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ชเติบโตมาก มีปัจจัยบวกจากกระแสการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้การขายสินค้าออนไลน์เติบโตแบบฉุดไม่อยู่ มูลค่าการตลาดสูงกว่า294,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 81% เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติในปี 2562 โดยแพลตฟอร์มอย่าง Lazada ได้รับความนิยมสูงมาก ..
31months ago   2,222  5 นาที
หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ดึงดูดลูกค้าได้มากที่สุดในยุคนี้ต้องยกให้ Flash Sale ในบางเว็บไซต์อาจใช้คำว่า ‘Daily Deal’ หรือส่วนลดประจำวันแทนคำว่า Flash Sale อย่างไรก็ตาม จากสถิติของการจัดแคมเปญดังกล่าวนี้ พบว่า จำนวนการคลิกเข้าไปที่ร้านค้าสูงขึ้น 74% ในขณะที่จำนวนการสั่งซื้อสินค้าเ..
31months ago   1,508  5 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด