บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.6K
3 นาที
22 มีนาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ Mk สุกี้ 
 

MK เป็นแบรนด์ร้านอาหาร “สุกี้” ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน อาจกล่าวได้ว่าแทบทุกเทศกาลสำคัญหรือวันสำคัญของครอบครัวจะต้องมีคนเข้าไปรับประทานกันอย่างหนาแน่น ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยรับประทานสุกี้แบรนด์ดัง MK อย่างแน่นอน โดยจุดเด่นของ MK คือ การสร้างประสบการณ์ดีๆ ทั้งด้านการบริการและคุณภาพของอาหารมาโดยตลอด จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่แม้จะมีชาบู-สุกี้ร้านอื่นๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ MK สุกี้ก็ยังยืนความเป็นที่หนึ่ง
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอเรื่องราวของ “MK” ที่หลายๆ คนอาจไม่รู้จักมาก่อน 
 
1.เจ้าของคนแรกเป็นชาวฮ่องกง 


ภาพจาก https://www.mkrestaurant.com/

เจ้าของเดิมของ MK สุกี้ คือ นักธุรกิจชาวฮ่องกง ชื่อว่า “มาคอง คิงยี (Makong King Yee)” ที่ต้องย้ายครอบครัวไปอยู่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงขายกิจการต่อให้ “คุณป้าทองคำ เมฆโต” นับแต่นั้นเป็นต้นมาถือเป็นจุดเริ่มต้นของ MK ที่มีเจ้าของเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ จึงเริ่มต้นขึ้นในปี 2505 ในห้องแถว 1 คูหาที่สยามสแควร์ซอย 3
 
2.จุดดึงดูดลูกค้า ไม่ได้ขายแค่สุกี้

หลังจากนั้น MK ภายใต้การดูแลของคุณป้าทองคำ ร้านอาหาร MK ก็รุ่งเรืองมากขึ้นเรื่อยๆ และมีลูกค้าประจำแวะเวียนมาบ่อยๆ จนต้องขยายร้านเป็นสองคูหาเพราะถูกใจในฝีมือการทำอาหาร และใจรักการบริการของป้าทองคำ โดยอาหารที่ขึ้นชื่อในตอนนั้น อาทิ ข้าวมันไก่, เนื้อตุ๋น, ผัดไทย, ผัดขี้เมา, เนื้อย่างเกาหลี (เตาถ่าน), ยำ ทำให้ร้านสุกี้มีลูกค้าจำนวนมาก 
 
3.สาขาแรกเปิดในเซ็นทรัล ลาดพร้าว 
 

ภาพจาก https://www.mkrestaurant.com/

จุดเปลี่ยนสำคัญของ MK เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เมื่อปี พ.ศ. 2527 ลูกค้าประจำของร้านคนหนึ่ง คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งห้างเซ็นทรัล และประธานบริษัทในยุคนั้น ได้เชิญชวนให้คุณทองคำไปเปิด “ร้านอาหารไทย” ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ซึ่งเธอก็ตอบตกลง และใช้ชื่อร้านว่า “กรีน MK”
 
กระทั่งปี 2529 คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ก็ชวนคุป้าทองคำอีกครั้งให้ไปเปิดร้านสุกี้ MK สาขาแรกที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว บนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ปรากฏว่าขายดีมากมีลูกค้าเข้ามากินอยู่ตลอดวัน โดยในช่วงนั้นได้มีลูกสาว ลูกชาย และ ลูกเขย ของป้าทองคำเข้ามาช่วยบริหารจัดการร้าน จนกระทั่งร้านขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง 
 
4.เปิดสาขาแรกต่างประเทศที่ญี่ปุ่น 

ปี 2537 ร้าน MK เปิดสาขาแรกในต่างประเทศที่ประเทศญี่ปุ่น, ปี 2549 ได้เข้าทำสัญญาแฟรนไชส์เพื่อรับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น “ยาโยอิ (Yayoi)” ในไทย จากบริษัท Plenus Co.,Ltd. และในปี 2555 ได้เข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อรับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น “มิยาซากิ” จากบริษัท Gozouroppu Co.,Ltd. และปี 2556 MK ฉลองครบ 400 สาขา และขยายสาขาไปยังประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมี “ฤทธิ์ ธีระโกเมน” ลูกเขยป้าทองคำ เป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 

5.เปิดสาขาครบ 600 แห่งในปี 2560

ร้าน MK ขยายสาขาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคม 2560 ร้าน MK มีสาขามากกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ ญี่ปุ่นอีก 32 แห่ง เวียดนาม 5 แห่ง ลาว 2 แห่ง สิงคโปร์ 7 แห่ง และกำลังขยายไปยัง เมียนมาร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยนอกจากสาขาแบบทั่วไปแล้ว MK ยังเปิดให้บริการร้านสุกียากี้คุณภาพสูง บุฟเฟ่ต์ ในชื่อ “MK Gold Restaurants” ในปี 2543 และ ร้านสุกี้ยากี้เพื่อสุขภาพ ในชื่อ MK Live ในเดือนมีนาคม 2560
 
6.มีธุรกิจร้านอาหารในเครือกว่า 10 แบรนด์ 
 
ภาพจาก https://www.mkrestaurant.com/

ปัจจุบัน MK มีร้านอาหารแบรนด์ต่างๆ ในความดูแลมากกว่า 10 แบรนด์ อาทิ MK มีทั้งหมด 463 สาขาทั่วประเทศไทย, ญี่ปุ่น 34 สาขา, เวียดนาม 9 สาขา, ลาว 2 สาขา, ร้านอาหาร Yayoi ในไทยมี 198 สาขา และสิงคโปร์ 10 สาขา, ร้านอาหาร Miyazaki ในไทยมี 23 สาขา และลาว 1 สาขา, ร้านอาหาร Hakata 6 สาขา, Na Siam 1 สาขา, Le Siam3 สาขา, Le Petit 3 สาขา, Bizzy Box 8 สาขา, Harvest 1 สาขาในไทย และ MK Gold, MK Live ล่าสุดได้เข้าซื้อกิจการของแหลมเจริญซีฟู้ด ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 26 สาขาทั่วประเทศ
 
7.MK และยาโยอิ แบรนด์หลักสร้างการเติบโต 

หลังเกิดโควิด-19 นโยบายของ MK คือ ขยายสาขาของแบรนด์ที่มีความแน่นอน ได้แก่ MK และยาโยอิ ซึ่งเป็นหัวหอกในการสร้างการเติบโต โดยหลักๆ จะเน้นเข้าไปเปิดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้อย ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เช่น ศูนย์การค้า หรือตามแหล่งชุมชนหนาแน่น เป็นต้น ควบคู่กับทำแคมเปญพิเศษทางการตลาด ร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ โดยเมื่อช่วงต้นปี 2563 ได้ร่วมมือกับแบรนด์ชานมไข่มุกเสือพ่นไฟ นำ 2 เมนู คือ นมสดพี่เสือพ่นไฟ และชานมพี่เสือพ่นไฟ เข้ามาจำหน่ายในร้าน MKทุกสาขาทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 2 เดือน และต่อไปก็จะมีแคมเปญใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
8.ขายแฟรนไชส์ “เอ็มเค สุกี้-ยาโยอิ-มิยาซากิ” ในต่างประเทศ 

ปัจจุบันบริษัทฯ ใช้ 3 แบรนด์หลัก ได้แก่ เอ็มเค สุกี้ ยาโยอิ และมิยาซากิ เป็นหัวหอกในการทำตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เวียดนาม และลาว มีทั้งในรูปแบบของการไปลงทุนเอง และขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุน หรือผู้ประกอบการที่สนใจ
 
9. ก่อนโควิด MK มีรายได้ 16,126 ล้านบาท 
 

ภาพจาก https://www.mkrestaurant.com/

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีผลประกอบการย้อนหลัง ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ดังนี้
  • ปี 2559 รายได้รวม 14,059,330,003 บาท กำไร 2,071,849,090 บาท 
  • ปี 2560 รายได้รวม 14,908,591,508 บาท กำไร 2,319,393,352 บาท 
  • ปี 2561 รายได้รวม 15,635,032,857 บาท กำไร 2,497,006,621 บาท
  • ปี 2562 รายได้รวม 16,126,891,795 บาท กำไร 2,565,599,701 บาท 
โดยสัดส่วนรายได้ในปี 2562 แบ่งเป็น 76.0% มาจากร้านสุกี้ MK Restaurants, MK Gold และ MK Live, 18.6% มาจากร้านอาหารญี่ปุ่น Yayoi, 2.8% มาจากร้านอาหารอื่นๆ เช่น Miyazaki, Hakata, Le Siam, Na Siam, 2.6% มาจากรายได้อื่นๆ
 
อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดการระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารที่มีหน้าร้าน เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปด้วย หันมาใช้บริการเดลิเวอรี่หรือสั่งกลับไปทานบ้าน ร้านอาหาร MK ก็ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ไม่ต่างจากธุรกิจอื่น ต้องมีการปิดทุกสาขา จากคำสั่งล็อกดาวน์ ทำให้รายได้หายไป ขณะที่รายจ่ายยังอยู่เท่าเดิม เพราะ MK มีนโยบายชัดเจนไม่ลดจำนวนพนักงาน
 
ช่วงโควิด 19 MK อาศัยรายได้จากหน้าร้าน กับ รายได้จากดิลิเวอรี่มาหล่อเลี้ยงค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ พนักงาน และค่าเช่าที่ ซึ่ง MK ได้มีการเจรจาขอลดค่าเช่ากับทางห้าง พร้อมทำประโยชน์เพื่อสังคม ด้วยการนำข้าวกล่องไปบริจาคให้โรงพยาบาล สนับสนุนเรื่องเครื่องมือแพทย์ 
 
โดยในปี 2563 ผลประกอบการของ MK ยังเป็นบวก มีกำไรอยู่ประมาณเกือบ 900 ล้านบาท ซึ่งถือว่าลดลงไปจากปีก่อนเกิดโควิด-19 โดยในปี 2562 ทำกำไรได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท 

10. Transform ธุรกิจสู่อีคอมเมิร์ซและโลจิสติกส์  

เป้าหมายของคุณฤทธิ์ที่ให้สัมภาษณ์ MarketThink คือ อยากเห็น MK ในอีก 5 ปีข้างหน้าว่า MK จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมร้านอาหาร ที่นำส่งคุณภาพที่ดีในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ผลิตภัณฑ์ หรือ ธุรกิจขนส่ง โดยบริษัทฯ ได้ Co-Brand ร่วมกับ M-SENKO ซึ่งเป็นบริษัทที่ MK ไปร่วมทุนกับ Senko ซึ่งเป็นบริษัทด้านโลจิสติกส์เบอร์ 2 ของญี่ปุ่น ซึ่งมี Know-How เรื่องการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ทั้งทางเรือ ทางอากาศ ทางรถไฟ ขณะที่ MK มีหน่วยธุรกิจในการจัดส่งอาหารของตัวเองทางรถยนต์อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีขนส่งทางเรือ อากาศ รถไฟ ที่สามารถขนส่งไปต่างประเทศได้
 
ทั้งหมดคือ 10 เรื่องจริงที่หลายๆ คนอาจไม่รู้เกี่ยวกับ “MK สุกี้” ที่อยู่เคียงคู่กับคนไทยมายาวนาน ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นแสมาแรงในโลกโซเชียล!!
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล 
เชื่อว่าผู้บริโภคชาวไทยน่าจะรู้จัก Yayoi ร้านอาหารญี่ปุ่นที่เสิร์ฟเมนูเซ็ตสุดคุ้มกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และประชาชนทั่วไป แต่เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าแบรนด์ Yayoi นั้นมีจุดเริ่มต้นอย่างไร ใครเป็นเจ้าของแบรนด์มาก่อน ใครเป็นผู้นำเข้ามาในไทย วันนี้ ..
40months ago   3,466  6 นาที
นมไทย-เดนมาร์ค หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า นมวัวแดง จำหน่ายโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์ค ตั้งแต่ปี 2504 จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จนมาถึงวันนี้ นมไทย-เดนมาร์ค นอกจากเป็นนมกล่องที่เรา..
40months ago   2,467  8 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด