บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.5K
3 นาที
23 มีนาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ Yayoi ยาโยอิ
 

เชื่อว่าผู้บริโภคชาวไทยน่าจะรู้จัก Yayoi ร้านอาหารญี่ปุ่นที่เสิร์ฟเมนูเซ็ตสุดคุ้มกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และประชาชนทั่วไป แต่เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าแบรนด์ Yayoi นั้นมีจุดเริ่มต้นอย่างไร ใครเป็นเจ้าของแบรนด์มาก่อน ใครเป็นผู้นำเข้ามาในไทย วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
 
1. กำเนิดขึ้นสาขาแรกกรุงโตเกียว
 
ยาโยอิ เชนร้านอาหารญี่ปุ่นถือกำเนิดขึ้นสาขาแรกที่โตเกียว โดยคุณ “ทามิจิโร ชิโออิ” ได้กลับจากการศึกษาการเป็นเชฟ จากฝรั่งเศส ต่อมาส่งไม้ให้คุณ “สุเอยูกิ ชิโออิ” หลานชาย ได้ดำเนินกิจการต่อ โดยคนญี่ปุ่นจะเรียกร้านอาหารนี้ว่า Yayoiken และป้ายหน้าร้านจะเขียนภาษาอังกฤษว่า Teishoku Yayoi ซึ่งในช่วงแรกๆ ของการดำเนินธุรกิจใช้ชื่อร้านว่า เมชิยะด้ง (Meshiyadon) โดยเน้นขายอาหารญี่ปุ่นแบบเป็นเซ็ต ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น Yayoiken และขยายสาขาไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น รวมถึงต่างประเทศในชื่อ Yayoi (ยาโยอิ) 
 
2. มีเครือข่ายธุรกิจอาหารข้าวกล่อง
 

ภาพจาก https://yayoirestaurants.com

ร้าน “ยาโยอิ” ยังมีเครือข่ายธุรกิจร้านอาหารข้าวกล่อง (เบ็นโตะ) ทั่วประเทศญี่ปุ่นกว่า 2,400 สาขา ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ชาวญี่ปุ่นรู้จักกันดีในชื่อว่า “Hotto Motto”
 
3. มีความหมายว่า “เดือนมีนาคม”
 
คำว่า “ยาโยอิ” (Yayoi) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “เดือนมีนาคม” ซึ่งเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาลในประเทศญี่ปุ่น จากฤดูหนาวก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
 
4. ไทยเป็นตลาดต่างประเทศแห่งแรก
 
“ยาโยอิ” หนึ่งในเชนร้านอาหารขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น โดย “เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป” เป็นผู้ซื้อ License มาจากพันธมิตรในญี่ปุ่น คือ “บริษัทเพลนัส” (Plenus) เจ้าของแบรนด์ยาโยอิ 500 แห่งในญี่ปุ่น และเป็นผู้ที่นำร้านสุกี้เอ็มเคไปเปิดสาขาในญี่ปุ่น โดยการขยายสาขาออกไปสู่ตลาดต่างประเทศของ “ยาโยอิ” ไทยถือเป็นประเทศแรก 
 
5. มีจำนวนสาขามากกว่า 200 แห่ง
 

ภาพจาก https://yayoirestaurants.com

หลังจากเอ็มเค เรสโตรองต์ฯ ได้ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น “ยาโยอิ” และนำเข้ามาเปิดในประเทศไทย ได้ขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิในประเทศไทยมีทั้งหมดกว่า 200 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เจาะกลุ่มลูกค้าแนวกว้าง (Mass Customization) ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ จึงทำให้สามารถสร้างรายได้อันดับ 2 ของบริษัท ด้วยสัดส่วน 19% รองจากเอ็มเคที่มีสัดส่วนรายได้ 80% 
 
6. โทนสีร้านเริ่มแรก “สีเหลือง–น้ำตาล”
 
ที่ผ่านมา “ยาโยอิ” ต้องปรับตัวอยู่ตลอด เริ่มจากการทดลองตลาด ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ลองผิดลองถูกในหลายๆ อย่าง รวมถึงปรับเปลี่ยนรูปแบบร้าน ปรับเปลี่ยนโทนสี จากครั้งแรกเลือกใช้โทนสีเหลือง–น้ำตาล เพื่อให้ดูเป็นญี่ปุ่น แต่เมื่อไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยน เริ่มนำสีชมพูเข้ามาใส่มากขึ้นเพื่อจับกลุ่มวัยรุ่น ในช่วง 5-6 ปีแรกเน้นการขายเพียงอย่างเดียว ใช้หน้าร้านเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดลูกค้าเพียงอย่างเดียว ยังไม่มีการทำตลาดใดๆ
 
7. คู่แข่งของร้าน “ยาโยอิ” ในไทย
 
สำหรับคู่แข่งในประเทศไทยของ “ยาโยอิ” คือ โออิชิ, ฟูจิ และกลุ่ม CRG ฝั่งธุรกิจอาหารของเซ็นทรัลที่มีแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นอย่าง โอโตยะ, Pepper Lunch เองก็ประกาศว่าจะขยายสาขาเพิ่มในทุกๆ ปี
 
8. เดินกลยุทธ์ “สร้างความแตกต่าง”
 
สิ่งที่ทำให้ยาโยอิประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความต่างในตลาดร้านอาหารญี่ปุ่น เพราะในอดีตตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นถูกขับเคลื่อนด้วยรูปแบบ “บุฟเฟ่ต์” เป็นหลัก รองลงมาก็คือการเสิร์ฟความอร่อยแบบ A La Carte โดยมี “ฟูจิ” ครอบครองตลาดนี้อยู่ แต่ยาโยอิเลือกใช้ช่องว่างตรงนี้ด้วยการเน้นเสิร์ฟเมนูอาหารญี่ปุ่นแบบเป็นเซต ในราคาขายเชิง Mass เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้าง โดยเมนูอาหารของยาโยอิเริ่มต้นที่ 99-400 กว่าบาท/เซต 
 
ที่สำคัญ “ยาโยอิ” ไม่ได้ใช้ราคา Mass เป็นไม้ตายอย่างเดียว แต่ที่ผ่านมายังเน้นเพิ่มความถี่ออกเมนูอาหารใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นยอดขายของตัวเอง โดยเวลานี้จะมีเมนูพิเศษทุกๆ 2 เดือนมาวางขายหน้าร้าน
 
9. ทำตลาดต่อเนื่องเข้าถึงกลุ่ม “วัยรุ่น”
 
นอกจากราคาขายและรสชาติที่ถูกโฆษณามาอย่างต่อเนื่องแล้ว วิธีการสื่อสารการตลาด “ยาโยอิ” ยังรู้ว่าลูกค้าของตัวเองเป็นใคร แล้วก็หาวิธีพูดคุยกับลูกค้าได้ตรงจุด แม้ลูกค้าจะมีความหลากหลาย แต่ “ยาโยอิ” มองว่าลูกค้ากลุ่มใหญ่สุด คือ “วัยรุ่น” ทำให้แคมเปญและโปรโมชั่น รวมไปถึงหนังโฆษณาจนถึงสื่อออนไลน์จะมี Content ที่เอาใจกลุ่มนี้เป็นพิเศษ
 
จึงไม่แปลกที่ในช่วงเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ยาโยอิ ต้องทุ่มงบการตลาดมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของแบรนด์ เพื่อในการจ้างศิลปิน BNK48 มาเป็น Presenter  ผ่านแคมเปญ “ยาโยอิลุ้นฟิน กินฟรี  กินทั้งปี”
 
10. เป้าระยะยาวขยายสาขา 500 แห่งในปี 2023
 

ภาพจาก https://citly.me/dAB9J

หากย้อนกลับไป คุณสมชาย หาญจิตต์เกษม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (พัฒนา, การตลาด และธุรกิจอาหารญี่ปุ่น) บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เคยให้สัมภาษณ์ในตอนใช้ศิลปิน BNK 48 เป็น Presenter ว่า ภายในปี 2561 จะขยายสาขายาโยอิเพิ่ม 30 สาขา ซึ่งมากกว่า MK สุกี้ ที่จะเปิดสาขาใหม่เพียงแค่ 18 สาขา เพราะเพราะ MK ดำเนินธุรกิจมา 32 ปี มี 435 สาขา ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ ในขณะที่ยาโยอินั้นมี 171 สาขาในตอนนั้น

อีกทั้งยังเป็นเมนูอาหารญี่ปุ่นที่ราคาขายเข้าถึงง่าย และใช้พื้นที่ต่อ 1 สาขาน้อยกว่า MK ทำให้การหาพื้นที่ในการเปิดสาขาใหม่ๆ ง่ายโดยวางเป้าหมายระยะยาว เปิดร้านยาโยอิ 500 สาขาภายในปี 2023 และจะต้องมียอดขายแตะ 5,000 ล้านบาท
 
ทั้งหมดเป็น 10 เรื่องจริงของ “ยาโยอิ” ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ครองใจลูกค้าทุกเพศทุกวัยในเมืองไทย แม้จะเป็นร้านอาหารในเครือ MK แต่ทำการตลาดต่างกัน เติบโตไปด้วยกัน เช่นเดียวกันกับ “ห้างเดอะมอลล์” เน้นกลุ่มชาวบ้าน แต่ถ้าไปจับกลุ่มระดับสูง ก็จะเป็น “เอ็มโพเรียม” และ “สยามพารากอน”  โดยสินค้าและราคาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล 
 
MK เป็นแบรนด์ร้านอาหาร “สุกี้” ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน อาจกล่าวได้ว่าแทบทุกเทศกาลสำคัญหรือวันสำคัญของครอบครัวจะต้องมีคนเข้าไปรับประทานกันอย่างหนาแน่น ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยรับประทานสุกี้แบรนด์ดัง MK อย่างแน่นอน โดยจุดเด่นของ MK คือ การสร้างประสบการณ์ดีๆ ทั้งด้านการบริการและคุณภาพ..
40months ago   2,629  7 นาที
นมไทย-เดนมาร์ค หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า นมวัวแดง จำหน่ายโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์ค ตั้งแต่ปี 2504 จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จนมาถึงวันนี้ นมไทย-เดนมาร์ค นอกจากเป็นนมกล่องที่เรา..
40months ago   2,467  8 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด